พระราชกฤษฎีกา กำหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 - เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี สำหรับสมาชิก          คลิกที่นี่

บทความ

พระราชกฤษฎีกา กำหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565



พระราชกฤษฎีกา

กำหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีควบคุม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๕

เป็นปีที่ ๗ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการก าหนดสาขาวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. ๒๕๕๑

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้มาตรา๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า

“พระราชกฤษฎีกาก าหนดสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีควบคุม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๕ ” 

มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด หนึ่งร้อยแปดสิบ วัน

นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 

มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓ แห่งพระราชกฤษฎีกาก าหนดสาขาวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม พ.ศ. ๒๕๖๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๓ ให้วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาดังต่อไปนี้ เป็นวิชาชีพวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีควบคุม (๑) สาขาธรณีวิทยา (๒) สาขานิติวิทยาศาสตร์ (๓) สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม (๔) สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ”

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่การดำเนินการด้านนิติวิทยาศาสตร์ มีความสำคัญต่อการสืบสวน สอบสวนและพิจารณาตัดสินคดีเพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา และสังคมและโดยที่การด าเนินการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมีบทบาทสำคัญต่อการให้ ความคุ้มครองแก่สุขภาพและความปลอดภัยของคนทำงาน การรักษาและส่งเสริมสภาพการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน ตลอดจนสร้างความปลอดภัยในการทำงานและในสถานประกอบกิจการ สมควรกำหนดให้วิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขานิติวิทยาศาสตร์ และสาขาอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย เป็นสาขาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม จึงจ าเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ 


สรุปพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้

หลังจากกฎหมายมีผลใช้บังคับ (พ้น 180 วันนับแต่ประกาศในราชกิจจา) ใครจะไปประกอบอาชีพด้านนี้ในภาคเอกชนจะต้องมีใบอนุญาต จากสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์ฯ 

หากใครฝ่าฝืน ก็อาจได้รับโทษจำคุก

ไม่เกิน 3 ปีปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้ง 2  หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม ม.41 และ 64 

ก่อนกฎหมายจะมีผล สภาวิชาชีพฯก็ต้องไปออกข้อบังคับกำหนดต่างๆ เกี่ยวกับการออกใบอนุญาต เงื่อนไขต่างๆ รวมค่าธรรมเนียม ให้คนที่จะเข้าสู่อาชีพนี้ รวมทั้งคนที่ประกอบอาชีพอยู่ก่อนกฎหมาย ก็น่าจะมีเงื่อนไขให้ดำเนินการเช่นเดียวกัน ลองติดตามดูนะครับ




อบรม จป. หัวหน้างาน ชลบุรี
เปิดแล้ว!!อบรมจป.หัวหน้างาน,จป.บริหาร จองอบรมตอนนี้

Comments


businessman

ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai