กฎกระทรวงการจัดให้มีจป.ในสถานประกอบกิจการ หน่วยงาน หรือคณะบุคคล 2565- เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี 2567          คลิกที่นี่

บทความ

กฎกระทรวงการจัดให้มีจป.ในสถานประกอบกิจการ หน่วยงาน หรือคณะบุคคล 2565



ประกาศกฎกระทรวง

เรื่อง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานบุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคล เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565



อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนี่ง และมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔ รัฐนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฏกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙
ข้อ ๓ ในกฎกระทรวงนี้
"กรรมการความปลอดภัย "หมายความว่า กรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
"คณะกรรมการความปลอดภัย " หมายความว่า คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
"ผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร" หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บริหารซึ่งมีหน้าที่และอำนาจทำการแทนนายจ้างในการจ้าง การเลิกจ้าง การให้บำเหน็จ การลงโทษ หรือการวินิจฉัยข้อร้องทุกข์และได้รับมอบหมายเป็หนังสือให้ป็นผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้
"หน่วยงานความปลอดภัย " หมายความว่า หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

หมวด ๑

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน 



ข้อ ๔ นายจ้างของสถานประกอบกิจการประเภทที่ระบุในบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้ ต้องจัด ให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน เว้นแต่เป็นสถานประกอบกิจการประเภทที่มีจำนวนลูกจ้าง ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานในสถานประกอบกิจการที่นายจ้างต้องจัดให้มี ตามวรรคหนึ่ง จะเป็นประเภทใดหรือระดับใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในหมวดนี้


ข้อ ๕ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานมีสองประเภท ดังต่อไปนี้
(๑) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง
(๒) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ

ส่วนที่ 1 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง


ข้อ ๖ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่งมีสองระดับ ดังต่อไปนี้
(๑) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
(๒) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร


ข้อ ๗ นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามบัญชี ๑ และบัญชี ๒ ที่มีลูกจ้างจำนวนสองคนขึ้นไป และสถานประกอบกิจการตามบัญชี ๓ ที่มีลูกจ้างจำนวนยี่สิบคนขึ้นไป ต้องจัดให้ลูกจ้างระดับหัวหน้างานซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ ๘ ทุกคน เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานของสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่มีลูกจ้างครบจำนวนดังกล่าว ในกรณีที่ลูกจ้างระดับหัวหน้างานไม่มีคุณสมบัติตามข้อ ๘ ให้นายจ้างดำเนินการให้ลูกจ้างนั้นเข้ารับการฝึกอบรมตามข้อ ๘ (๑) เพื่อแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ทั้งนี้ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่นายจ้างแต่งตั้งให้เป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างาน

ข้อ ๘ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานต้องเป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างาน และมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน
(๒) เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙
(๓) มีคุณสมบัติตามข้อ ๑๕ ข้อ ๑๘ หรือข้อ ๒๑ แล้วแต่กรณี

ข้อ ๙ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำกับดูแลลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบให้ปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
(๒) วิเคราะห์งานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อค้นหาความเสี่ยงหรืออันตรายเบื้องต้นจาก การทำงาน โดยอาจร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิค ขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ
(๓) จัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ โดยร่วมดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ เพื่อเสนอคณะกรรมการความปลอดภัยหรือนายจ้าง แล้วแต่กรณี และทบทวนคู่มือดังกล่าวตามที่นายจ้างกำหนด โดยนายจ้างต้องกำหนดให้มีการทบทวนอย่างน้อยทุกหกเดือน
(๔) สอนวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องแก่ลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน
(๕) ตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนลงมือปฏิบัติงานประจำวัน
(๖) กำกับดูแลการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลของลูกจ้างในหน่วยงานที่รับผิดชอบ
(๗) รายงานการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างต่อนายจ้าง และแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ สำหรับสถานประกอบกิจการที่มีหน่วยงานความปลอดภัย ให้แจ้งต่อหน่วยงานความปลอดภัยทันทีที่เกิดเหตุ
(๘) ตรวจสอบหาสาเหตุการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานของลูกจ้างร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง หรือระดับวิชาชีพ และรายงานผลการตรวจสอบ รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการแก้ไข ปัญหาต่อนายจ้าง เพื่อป้องกันการเกิดเหตุโดยไม่ชักช้า
(๙) ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน
(๑๐) ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างหรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารมอบหมาย

ข้อ ๑๐ นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามบัญชี ๑ และบัญชี ๒ ที่มีลูกจ้างจำนวนสองคนขึ้นไป และสถานประกอบกิจการตามบัญชี ๓ ที่มีลูกจ้างจำนวนยี่สิบคนขึ้นไป ต้องจัดให้ลูกจ้างระดับผู้บริหารซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ ๑๑ ทุกคน เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารของสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่มีลูกจ้างครบจำนวนดังกล่าว
ในกรณีที่ลูกจ้างระดับผู้บริหารไม่มีคุณสมบัติตามข้อ ๑๑ ให้นายจ้างดำเนินการให้ลูกจ้างนั้นเข้ารับการฝึกอบรมตามข้อ ๑๑ (๑) เพื่อแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร ทั้งนี้ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่นายจ้างแต่งตั้งให้เป็นลูกจ้างระดับผู้บริหาร
ในกรณีที่ไม่มีลูกจ้างระดับผู้บริหาร ให้นายจ้างเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร

ข้อ ๑๑ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารต้องเป็นลูกจ้างระดับผู้บริหาร และมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร
(๒) เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549
(๓) มีคุณสมบัติตามข้อ ๒๑

ข้อ ๑๒ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำกับดูแลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานทุกระดับซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของตน
(๒) เสนอแผนงานหรือโครงการด้านความปลอดภัยในการทำงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อนายจ้าง
(๓) ส่งเสริม สนับสนุน และติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานให้เป็นไปตามแผนงานหรือโครงการ เพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการ
(๔) กำกับดูแลและติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้างตามที่ได้รับรายงานหรือตามข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน คณะกรรมการความปลอดภัย หรือหน่วยงานความปลอดภัย


ส่วนที่ ๒
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ



ข้อ ๑๓ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะของสถานประกอบกิจการมีสามระดับ ดังต่อไปนี้
(๑) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค
(๒) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง
(๓) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ




เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน จป คอมพิวเตอร์ อบรมจปออนไลน์
อบรมจป.-คปอ.ออนไลน์ สมาชิกจ่ายเพียง 1000.- จองอบรมตอนนี้

Comments


businessman

โปรโมชัน
อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย

อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย ในราคาสุดคุ้ม! โปรโมชั่นลดสูงสุด 30% เฉพาะเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2567

บทความล่าสุด
อัปเดตวิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

อัปเดต! วิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

ประกาศจากกรมสวัสดิการล่าสุด

ประกาศจาก กสร. เรื่องการเทียบเท่าวุฒิไม่ต่ำกว่า ป.ตรี อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

บทความยอดนิยม
อุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงาน,อันตรายจากการทํางาน มีอะไรบ้าง,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก รถโฟล์คลิฟท์ forklift 2564

นายจ้างต้องรู้! กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก 2564

แบ่งปัน
ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai