การตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในอาคารเบื้องต้น- เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี 2567          คลิกที่นี่

บทความ

การตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในอาคารเบื้องต้น



การตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในอาคารเบื้องต้น

          เพื่อความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า เราควรมีการตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้า ให้มีสภาพพร้อมใช้งาน โดยเราสามารถใช้หลักการทางซ่อมบำรุง มาเป็นหลักปฏิบัติ โดยกำหนดหัวข้อ บันทึกผล วิเคราะห์ผล แล้วนำมาจัดแผนซ่อมบำรุง เป็นประวัติในการซ่อมบำรุง โดยมีการตรวจสอบสามารถแบ่งออกได้ เป็นการตรวจสอบด้วยประสาทสัมผัสและตรวจสอบด้วยเครื่องมือตรวจวัดทางไฟฟ้า
          1. การตรวจสอบด้วยประสาทสัมผัส เราสามารถตรวจสภาพการทำงาน โดยการดูสภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้า กลิ่น หรือแม้กระทั่งการสัมผัส เช่น สภาพของขั้วไฟฟ้าที่อยู่ในวงจร สภาพของคันโยกเบรกเกอร์ โดยวิธีการนี้ อาจมีการกำหนดมาตรฐานขึ้นมา เช่น กำหนดเป็นภาพของเบรกเกอร์ ในสภาวะการทำงานปกติ เพื่อใช้เปรียบเทียบในการตรวจสอบ เป็นต้น
         
2. ตรวจสอบด้วยเครื่องมือทดสอบ การตรวจสอบมักมีมาตรฐานเพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าอุปกรณ์นั้น สามารถใช้งานต่อได้หรือไม่ ในการตรวจสอบมักนิยมใช้ มัลติมิเตอร์ ในการตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยวัดความต้านทานของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น หลอดไฟฟ้า บาลาสตร์ หรือในแผงวงจรไฟฟ้าเป็นต้น
          นอกจากมัลติมิเตอร์ แล้วยังมีอุปกรณ์ตรวจอื่นที่สามารถ ใช้ตรวจสอบสภาพในการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า คือ Test Lamp หรือไขควงเช็คไฟ เป็นการเช็ควงจรในอุปปกรณ์ไฟฟ้า โดย Test Lamp จะมีให้เลือกใช้หลายพิกัด 80-380VAC , 100-500VAC, 50-500VACขึ้นอยู่กับว่าจะไปเช็คไฟ เช่น ถ้าเช็คไฟบ้าน 1 เฟสใช้ 80 -380 VAC หากใช้เช็คอุปกรณ์ไฟฟ้า ในโรงงานใหญ่ อาจต้องใช้ 100-500 VAC ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่ตรวจสอบด้วย
วิธีการใช้ Test Lamp หรือไขควงวัดไฟ
1. ใช้มือข้างที่ถนัด จับที่ด้ามไขควง
2. ใช้นิ้วที่ถนัดกดที่ด้ามไขควง
3. นำปลายด้านไขควงที่เป็นโลหะจี้ที่จุดที่คิดว่ามีกระแสไหลผ่าน
4. หากมีกระแสไหลผ่านด้ามจะสว่าง หากไม่มีกระแสไหลผ่านไฟที่ด้ามไม่ติด


การตรวจเช็คสภาพของสายไฟ
          สายไฟนับเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่มีความสำคัญในระบบไฟฟ้า การเลือกสายไฟให้เหมาะสมกับงานตลอดถึงการติดตั้งย่อมมีผลต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าและความปลอดภัยของผู้ใช้งาน อุปกรณ์ไฟฟ้า ในการพิจารณาการตรวจสอบสภาพของสายไฟที่ท่านใช้งานอยู่มาให้พิจารณาดังนี้
ความเป็นฉนวนของสายไฟฟ้า
เหตุที่ทำให้สายไฟเสื่อมสภาพอาจมีหลายสาเหตุสามารถสรุปได้ดังนี้

          1. อุณหภูมิทั้งสภาวะแวดล้อมในการใช้งานและที่เกิดจากการใช้งานในสายไฟฟ้าเอง หากเดินสายไฟผ่านจุดหรือบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงควรเลือกใช้สายให้เหมาะสม

          2. ฉนวนที่ห่อหุ้มบริเวณรอยต่อไม่ดีเลือกใช้ฉนวนที่เหมาะสมได้มาตรฐานเช่นบริเวณที่มีความร้อน อาจใช้เทปพันสายไฟที่สามารถทนความร้อนสูง

          3. กระแสไหลผ่านมากเกินไป
          - สายขนาดเล็กเกินไป
          - ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมแต่ขนาดสายเท่าเดิม
          - ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไม่เหมาะสม
          - ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบระบบไฟฟ้าของเจ้าของอาคารสถานที่
          4. สายไฟฟ้าถูกกดทับความเสียหายของฉนวนที่เกิดจากการกดทับย่อมทำให้ลดอายุการใช้งานของสายไฟลดลง
          - การสั่นสะเทือน
          - รอยต่อหลวม
          - ขาดการตรวจสอบและดูแลรักษา

การตรวจสอบความเป็นฉนวนของสายไฟฟ้า
          1. เมื่อเป็นวงจรควบคุมการเปิด-ปิด หลอดไฟฟ้า ให้ใช้เมกเกอร์ทดสอบ
          - ค่าความต้านทานเท่ากับศูนย์หรือน้อยกว่า 0.5 เมกะโอร์ม ฉนวนเสื่อมคุณภาพ
          - ค่าความต้านทานมากกว่า 0.5 เมกะโอห์ม ฉนวนยังไม่เสื่อมคุณภาพใส่หลอดเข้ากับจุด 1,2จากนั้นตรวจสอบฉนวนระหว่างสายไฟฟ้ากับดิน ถ้าค่าความต้านทาน ≥0.5 เมกโอห์ม ฉนวนเสื่อมคุณภาพ ควรทำการเปลี่ยนสายไฟ
          2. วิธีการทดสอบฉนวนของสายไฟฟ้าเมื่อเดินสายไฟฟ้าในท่อร้อยสาย
          - ใช้เมกเกอร์หรือ Insulation  tester meter ใน Multi meter มีฟังก์ชันนี้อยู่  ทดสอบที่ขั้วใดๆ
          - ทดสอบระหว่างสายไฟฟ้ากับดิน

การบำรุงรักษาฉนวนของสายไฟฟ้า
          - หมั่นตรวจสอบและทำความสะอาด
          - ตรวจสอบกระแส
          - ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันวงจรขนาดที่เหมาะสม
          - อย่าให้สายไฟฟ้าถูกแสงแดด
          - ระวังอย่าให้สายไฟฟ้าถูกกดทับด้วยสิ่งของ
การตรวจสอบเซอร์กิตเบรกเกอร์
          จุดที่ควรทำการตรวจเช็คในเซอร์กิตเบรกเกอร์ คือส่วนที่สามารถเคลื่อนไหวได้คันโยกจึงเป็นจุดตรวจสอบอันดับแรกๆ ทางกลของเซอร์กิตเบรกเกอร์ นอกจากนี้ยังมีการตรวจสอบหน้า Contact และความเป็นฉนวนระหว่างขั้วสามารถแบ่ง ได้ดังนี้
          1. การตรวจสอบเชิงกล
          จับคันโยกดันไปตำแหน่ง NO หาก ไม่ล็อคแสดงว่าเซอร์กิตเบรกเกอร์ชำรุด ตรวจสอบ ปุ่ม Reset โดยใช้อุปกรณ์ที่เป็นแท่งกดโดยที่สภาวะปกติ เมื่อทำการกดปุ่ม Reset แล้วจะทำคันโยกเด้งกลับหาก ไม่เด้งแสดงว่ามีหารชำรุด
          2. การตรวจสอบหน้าสัมผัสและความเป็นฉนวน
          ใช้มัลติมิเตอร์วัดค่าความต้านทาน โดยมีข้อปฏิบัติดังนี้
          - จับคันโยกดันไปตำแหน่ง ON โดยใช้ ย่านในการวัด Rx1 หรือ RX10 ตรวจสอบที่ขั้ว 1-2 3-4 5-6 ถ้าเซอร์กิตเบรกเกอร์ ปกติ เข็มที่ใช้วัดค่าความต้านทานจะกระดิกหากเข็มไม่กระดิกแสดงว่าหน้าสัมผัสไม่สนิท การใช้มัลติมิเตอร์วัดค่าความต้านทานตรวจสอบหน้าสัมผัส
          - ทดสอบความเป็นฉนวน ดันคันโยกไปที่ตำแหน่ง ON แล้วใช้มัลติมิเตอร์ วัดตำแน่ง 1-3 ,3-5,2-4,4-6 โดยมีหลัการสังเกตความปกติเช่นเดียวกันกับการตวรจสอบหน้าสัมผัสการใช้มัลติมิเตอร์ตรวจสอบความเป็นฉนวน



Comments


businessman

โปรโมชัน
อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย

อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย ในราคาสุดคุ้ม! โปรโมชั่นลดสูงสุด 30% เฉพาะเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2567

บทความล่าสุด
อัปเดตวิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

อัปเดต! วิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

ประกาศจากกรมสวัสดิการล่าสุด

ประกาศจาก กสร. เรื่องการเทียบเท่าวุฒิไม่ต่ำกว่า ป.ตรี อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

บทความยอดนิยม
อุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงาน,อันตรายจากการทํางาน มีอะไรบ้าง,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก รถโฟล์คลิฟท์ forklift 2564

นายจ้างต้องรู้! กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก 2564

แบ่งปัน
ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai