ข้อกำหนดทั่วไปการทำงานนั่งร้านค้ำยันโดยวิศวกร- เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี 2567          คลิกที่นี่

บทความ

ข้อกำหนดทั่วไปการทำงานนั่งร้านค้ำยันโดยวิศวกร



ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกร




โดยที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้านและค้ำยัน พ.ศ. ๒๕๖๔ กำหนดให้ นายจ้างต้องจัดให้มีการคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกร ทั้งนี ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๘ แห่งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับนั่งร้าน และค้ำยัน พ.ศ. ๒๕๖๔ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี ให้ใช้บังคับตั งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ในประกาศนี
“จุดคราก” (yield point) หมายความว่า จุดที่หน่วยแรงดึงที่วัสดุเริ่มยืดโดยไม่ต้องเพิ่มแรงดึงขึ้นอีก
“น้ำหนักบรรทุกใช้งาน” (working load) หมายความว่า ผลรวมของน้ำหนักบรรทุกทั้งหมด ที่กระทำต่อโครงสร้าง
“น้ำหนักบรรทุกคงที่” (dead load) หมายความว่า น้ำหนักของนั่งร้านที่พิจารณาน้ำหนักรวม ของอุปกรณ์ทั้งหมดของนั่งร้านร่วมด้วย
“น้ำหนักบรรทุกจร” (live load) หมายความว่า น้ำหนักบรรทุกที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง ขนาดและตำแหน่ง เช่น น้ำหนักบรรทุกของผู้ปฏิบัติงาน วัสดุ หรือรถเข็นซีเมนต์ 

หมวด ๑ ข้อกำหนดทั่วไป

ข้อ ๓ นั่งร้านที่มีความสูงตั้งแต่ ๔ เมตรขึ้นไป หรือนั่งร้านเสาเรียงเดี่ยวสำหรับงานทาสี ที่มีความสูงเกิน ๗.๒๐ เมตร และไม่มีรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนด นายจ้างต้องจัดให้มีการคำ นวณออกแบบโดยวิศวกร ตามประกาศนี้ 

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการค านวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกร


ข้อ ๔ เมื่อนายจ้างนำนั่งร้านมาใช้สำหรับการทำงาน อย่างน้อยต้องมีรายการข้อมูลการใช้งาน ดังต่อไปนี้
(๑) ข้อมูล และสถานที่หรือหน่วยงานที่นำไปใช้งาน
(๒) วัตถุประสงค์ หรือลักษณะของการทำงาน
(๓) ความสูงที่ต้องการใช้งานนั่งร้าน
(๔) วันที่เริ่มและสิ้นสุดสำหรับใช้งานนั่งร้าน
(๕) ชนิด หรือประเภทของนั่งร้าน
(๖) ชนิดของวัสดุใช้สร้าง
(๗) จำนวนผู้ปฏิบัติงานสูงสุด
(๘) ขนาดและน้ำหนักของวัสดุอุปกรณ์ที่จะนำขึ้นไปใช้บนนั่งร้าน
(๙) วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้กับลักษณะงาน หรือการใช้งานที่เหมาะสมกับประเภทของนั่งร้าน
(๑๐) ระบุโอกาสได้รับผลกระทบและข้อควรระวังเมื่อมีการใช้นั่งร้าน

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการค านวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกร


ข้อ ๕ นั่งร้านที่นายจ้างให้ลูกจ้างใช้สำหรับทำงานที่มีความสูงตั้งแต่ ๔ เมตรขึ้นไป หรือ นั่งร้านเสาเรียงเดี่ยวสำหรับงานทาสีที่สูงเกิน ๗.๒๐ เมตร อย่างน้อยต้องมีรายละเอียดข้อมูล ประกอบการคำนวณและออกแบบ ดังต่อไปนี
(๑) ชนิด หรือประเภทของนั่งร้าน
(๒) ข้อมูลของผู้สร้าง ผู้ผลิต หรือผู้คำนวณออกแบบ
(๓) ชนิด และกำลังของวัสดุที่ใช้สร้างนั่งร้าน
(๔) น้ำหนักบรรทุกใช้งาน ซึ่งอย่างน้อยต้องมีน้ำหนักบรรทุกคงที่และน้ำหนักบรรทุกจร
(๕) น้ำหนักบรรทุกจากสภาพแวดล้อม (ถ้ามี) เช่น แรงลม แรงดันใต้ดิน กระแสนำ
(๖) น้ำหนักบรรทุกใช้งานสูงสุดเพื่อการออกแบบ
(๗) น้ำหนักบรรทุกสูงสุดสำหรับใช้งานจริง
(๘) ความสามารถใช้สำหรับการทำงานสูงสุดของนั่งร้านที่ออกแบบ
ทั้งนี้ ต้องจัดทำแบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลน รวมถึงกำหนดทางขึ้น - ลง และเข้า - ออก ของผู้ปฏิบัติงาน ระบุวัสดุและอุปกรณ์สำหรับการยึดหรือติดโครงสร้างและส่วนประกอบ ของนั่งร้าน หรืออาจจัดทำลำดับขั้นตอนสำหรับการสร้าง ประกอบ ติดตั้ง ตรวจสอบ ใช้ เคลื่อนย้าย และการรื้อถอนนั่งร้านประเภทนั้น ๆ 
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกร

ข้อ ๖ นายจ้างที่มีการใช้นั่งร้านต้องดำเนินการจัดให้มีรายการข้อมูลการใช้ตามข้อ ๔ รายละเอียดข้อมูลประกอบการออกแบบตามข้อ ๕ โดยติดไว้บริเวณที่มีการใช้นั่งร้านอย่างน้อยต้องมีรายการข้อมูลการใช้งานและรายละเอียดข้อมูลประกอบการออกแบบตามแนบท้ายประกาศเพื่อเป็นหลักฐานให้พนักงานตรวจความปลอดภัยสามารถตรวจสอบได้
ข้อ ๗ นายจ้างต้องจัดให้มีป้ายน้ำหนักบรรทุกใช้งานสูงสุด และจำนวนผู้ปฏิบัติงานสูงสุดแต่ละชั้นของนั่งร้าน พร้อมติดหมายเลขแต่ละชั้นของนั่งร้านให้เห็นอย่างชัดเจน

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกร

ข้อ ๘ นายจ้างต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันมิให้ผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เข้าไปใกล้หรือใช้นั่งร้าน พร้อมทั้งจัดทำป้าย หรือสัญลักษณ์ให้เห็นอย่างชัดเจน เพื่อความปลอดภัย กรณีดังต่อไปนี้
(๑) มีการทดสอบ หรือตรวจสอบนั่งร้าน
(๒)  อนุญาตให้ใช้นั่งร้านสำหรับทำงานได้

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกร

ข้อ ๙ นายจ้างต้องดำเนินการสร้าง ติดตั้ง หรือวางฐานนั่งร้านบนพื้นที่ที่มั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกร

ข้อ ๑๐ กรณีนายจ้างสร้างนั่งร้านที่มีขอบพื้นนั่งร้านด้านในห่างจากแนวผนังของอาคารมากกว่า ๔๕ เซนติเมตร ต้องจัดทำราวกันตก  หรือสิ่งกั้นอื่นในด้านที่ติดกับแนวผนังของอาคารให้มีความมั่นคงแข็งแรงเพื่อเกิดความปลอดภัยต่อลูกจ้างที่ปฏิบัติงาน ยกเว้นนั่งร้านเสาเรียงเดี่ยวสำหรับงานทาสี
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกร

ข้อ ๑๑ กรณีนายจ้างสร้างนั่งร้านหรือช่องทางเดิน ให้นายจ้างปิดคลุมเหนือช่องที่กำหนดให้เป็นทางเดินด้วยแผงไม้ หรือวัสดุอื่นที่มีความมั่นคงแข็งแรงเพียงพอเพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายปัญหาสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยของผู้ใช้ทางเดินนั้น

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกร

ข้อ ๑๒ กรณีนายจ้างสร้างนั่งร้านหลายชั้น และมีการปฏิบัติงานบนนั่งร้านหลายชั้นพร้อมกันให้นายจ้างจัดให้มีผ้าใบหรือวัสดุอื่นที่คล้ายกันที่เหมาะสม เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นแก่ผู้ที่ทำงานอยู่ชั้นล่างได้

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกร

ข้อ ๑๓ กรณีนายจ้างสร้างนั่งร้านให้พิจารณาถึงแรงสั่นสะเทือน แรงลม และน้ำหนักของผ้าใบ แผ่นไม้ หรือสิ่งปิดกั้นอื่นที่อาจมีผลต่อความมั่นคงแข็งแรงของนั่งร้านด้วย
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกร

ข้อ ๑๔ กรณีนายจ้างสร้างนั่งร้านแต่ละชั้นสูงเกิน ๒ เมตร ต้องได้รับการออกแบบโดยวิศวกร
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกร

ข้อ ๑๕ กรณีนายจ้างสร้างนั่งร้านใกล้หอลิฟต์ ต้องให้มีระยะห่างพอที่ตัวลิฟต์ไม่กระแทกนั่งร้านในขณะขึ้นลง
ข้อ ๑๖ นายจ้างต้องมิให้มีการยึดโยงนั่งร้านกับหอลิฟต์ หรือยึดโยงกับโครงสร้างของเครื่องจักรที่ติดตั้ง เพื่อใช้ในการก่อสร้าง
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกร

ข้อ ๑๗ กรณีนายจ้างสร้างนั่งร้านแบบห้อยแขวน ต้องจัดให้มีการใช้เชือก ลวดสลิง หรือวัสดุอื่นใดต้องเหมาะสมกับร่องรอก หรือประเภทของรอก ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามที่ผู้ผลิตหรือวิศวกรกำหนด
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกร

ข้อ ๑๘ นายจ้างต้องติดตั้งนั่งร้านให้อยู่ในแนวระดับ และมีอุปกรณ์ หรือวิธีการอื่นใดสำหรับการตรวจเช็คระดับ
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกร

ข้อ ๑๙ นายจ้างซึ่งให้ลูกจ้างทำงานบนนั่งร้าน หรือทำงานประกอบ ติดตั้ง ตรวจสอบทดสอบ และเคลื่อนย้ายนั่งร้าน ต้องจัดและควบคุมดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่เข็มขัดนิรภัย และเชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิตพร้อมอุปกรณ์ หรืออุปกรณ์อื่นใดที่เหมาะสมกับลักษณะงาน ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่อันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชันจากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคำนวณออกแบบและควบคุมการใช้นั่งร้านโดยวิศวกร





อบรม เทคนิคการออกแบบนั่งร้าน เซฟตี้อินไทย
อบรม เทคนิคการออกแบบนั่งร้าน จองอบรมตอนนี้

Comments


businessman

โปรโมชัน
อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย

อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย ในราคาสุดคุ้ม! โปรโมชั่นลดสูงสุด 30% เฉพาะเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2567

บทความล่าสุด
อัปเดตวิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

อัปเดต! วิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

ประกาศจากกรมสวัสดิการล่าสุด

ประกาศจาก กสร. เรื่องการเทียบเท่าวุฒิไม่ต่ำกว่า ป.ตรี อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

บทความยอดนิยม
อุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงาน,อันตรายจากการทํางาน มีอะไรบ้าง,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก รถโฟล์คลิฟท์ forklift 2564

นายจ้างต้องรู้! กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก 2564

แบ่งปัน
ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai