คู่มือการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม- เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี 2567          คลิกที่นี่

บทความ

คู่มือการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม



คู่มือการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ฉบับปรับปรุง


          คู่มือฉบับนี้จะอธิบายถึงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลักดังต่อไปนี้


          1. ผู้บริหารแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนโดยการประกาศนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
          2. วางแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยทำความเข้าใจกับบริบทองค์กร ความต้องการ และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงการปฏิบัติตามพันธกรณีและวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม
          3. ปฏิบัติตามแผนการจัดการสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้
          4. ตรวจสอบผลการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอเพื่อปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องและ มั่นใจว่ามีการดำเนินการอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง
          5. การทบทวนการบริหารงาน โดยผู้บริหารต้องทำการทบทวนความเหมาะสมและ ผลการดำเนินงานของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม หาโอกาสปรับปรุง และ พัฒนาการดำเนินการให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง



          กระบวนการหลักของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ซึ่งรวมถึงมาตรฐานระบบการจัดการ สิ่งแวดล้อม ISO 14001) มีพื้นฐานมาจาก “Plan-Do-Check-Act” ซึ่งเป็นแนวความคิดเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ในที่นี้หมายถึงการพัฒนาปรับปรุง การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง


     
          ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมนั้นมีพื้นฐานมาจาก “Plan-Do-Check-Act” ซึ่งทำให้ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมมีการวางแผนควบคุม และตรวจติดตามประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบส่งผลให้ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและบรรลุเปู้าหมายที่องค์กร กำหนดไว้
          ในบทนี้จะอธิบายถึงหลักเกณฑ์และข้อกำหนดการรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งข้อกำหนดที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้มีแนวทางที่สอดคล้อง หรือเทียบเท่ากับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล ISO 14001 : 2015 โดยภาพรวมของการดำเนินระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม


          หลักเกณฑ์ในการรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมของกรมโรงงาน อุตสาหกรรมได้แบ่งออกเป็น 2 ขั้น ซึ่งสามารถสรุปใจความส าคัญของหลักเกณฑ์แต่ละข้อได้ ดังต่อไปนี้  
          หลักเกณฑ์การรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ขั้นที่ 1
          1. บริบทขององค์กร (Context of the organization)
          ทำความเข้าใจบริบทขององค์กร โดยวิเคราะห์ประเด็นภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ขององค์กร ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมถึงการกำหนดขอบเขตของระบบ การจัดการสิ่งแวดล้อม
          2. ความเป็นผู้นำและความมุ่งมั่น (Leadership and commitment) ผู้บริหารระดับสูงแสดงการเป็นผู้นำและความมุ่งมั่นในการรับผิดชอบที่จะดำเนินงานพัฒนา ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นอย่างเพียงพอ รวมถึงกำหนด หน้าที่ผู้รับผิดชอบและสนับสนุนบุคลากรที่เข้ามาร่วมในการจัดท าระบบการจัดการ สิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
          3. นโยบายสิ่งแวดล้อม (Environmental policy) ผู้บริหารระดับสูงต้องกำหนดและอนุมัตินโยบายด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Policy) เป็นลายลักษณ์อักษร และประกาศให้พนักงานทุกคนและผู้เกี่ยวข้องได้ทราบ เพื่อแสดงถึง เจตนารมณ์ ความตั้งใจในการพัฒนาประสิทธิภาพของการผลิตผลิตภัณฑ์และการบริการ โดยให้ความส าคัญต่อการปกปูองสิ่งแวดล้อม รวมถึงการปูองกันมลพิษและความมุ่งมั่นที่ เกี่ยวข้องในบริบทองค์กร ปฏิบัติตามกฎหมาย และด าเนินการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมเปิดเผยต่อผู้มีส่วนได้เสีย
          4. บทบาท ความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่ขององค์กร (Organizational roles, responsibilities and authorities) กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ บุคลากรของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมไว้ในโครงสร้างการบริหารงานขององค์กร มีการมอบหมายอำนาจหน้าที่กำหนดความรับผิดชอบ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและสื่อสารให้พนักงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ
          5. ปฏิบัติการเพื่อดำเนินการกับความเสี่ยงและโอกาส (Actions to address risks and opportunities) พิจารณาความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม พันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามบริบทองค์กรทั้งประเด็นภายในและภายนอก ความต้องการและคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย ดำเนินการจำแนกลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมรวมถึงสถานการณ์ฉุกเฉิน และพิจารณาผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งหมด จัดลำดับความสำคัญของปัญหาลงในทะเบียนลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงระบุวิธีการปฏิบัติควบคุม หรือแก้ไขปัญหาที่องค์กรดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน
          6. การปฏิบัติตามพันธกรณี(Compliance obligations) ดำเนินการค้นหา รวบรวมและจัดทำทะเบียนกฎหมาย และข้อกำหนดต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อม โดยครอบคลุมพันธกรณีทั้งหมด ทั้งข้อบังคับทางกฎหมายและไม่ไช่ข้อบังคับทางกฎหมาย แต่มีความสำคัญต่อธุรกิจ
          7. วัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental objectives) กำหนดวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อแสดงเจตนาและแนวทางที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย การลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญจากกิจกรรม การผลิต ผลิตภัณฑ์และการบริการ ตลอดวงจรวัฏจักรชีวิต รวมถึงสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น
          8. การวางแผนปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม (Planning actions to achieve environmental objectives) กำหนดแผนปฏิบัติการจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นลายลักษณ์อักษร และอนุมัติโดยผู้บริหาร ระดับสูง โดยแผนปฏิบัติการจัดการสิ่งแวดล้อมจะต้องประกอบด้วยวัตถุประสงค์เป้าหมาย ดัชนีชี้วัดประสิทธิผลที่กำหนดไว้ รายละเอียดของกิจกรรม ขั้นตอนหรือวิธีการบรรลุผล ระยะเวลาดำเนินงาน งบประมาณ ทรัพยากรที่จำเป็น และหน่วยงานที่รับผิดชอบ
          9. การสนับสนุนทรัพยากร ความสามารถ และความตระหนัก (Resources, competence and awareness support) จัดสรรงบประมาณและทรัพยากรที่จำเป็น สร้างจิตสำนึกและความสามารถของพนักงาน โดย มีการวิเคราะห์ความต้องการฝึกอบรม (Training Need) ของพนักงาน และจัดฝึกอบรม ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมให้พนักงานในระดับหัวหน้างาน
          10. การวางแผนและควบคุมการด าเนินงาน (Operational planning and control) การระบุกิจกรรมที่เป็นไปตามข้อกำหนดของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นต้องควบคุมการปฏิบัติงาน (Operational Control) โดยพิจารณาจากความเสี่ยงและโอกาส วัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พร้อมจัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงาน และสื่อสารให้พนักงานที่เกี่ยวข้องมีความเข้าใจและทำการควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไป ตามที่กำหนด
          11. การเตรียมพร้อมและการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency preparedness and response) การระบุเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากกิจกรรม กระบวนการผลิต หรือ ผลิตภัณฑ์หรือการบริการที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กร และจัดท าแผนการเตรียม ความพร้อมในการปูองกันและโต้ตอบสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมทั้งแผนบรรเทาและฟื้นฟู ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุนั้น
          12. การตรวจติดตาม การตรวจวัด การวิเคราะห์ และการประเมินผล (Monitoring, measurement, analysis and evaluation) มีแผนการเฝูาติดตามและการตรวจวัดผลกิจกรรมที่ก่อให้เกิดผลกระทบที่สำคัญต่อสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามพันธกรณีความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย กำหนดสิ่งที่ต้อง ตรวจติดตาม เกณฑ์ที่ใช้เปรียบเทียบ ความถี่ในการตรวจวัด และผู้รับผิดชอบ
          หลักเกณฑ์การรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ขั้นที่ 2
          1. บริบทขององค์กร (Context of the organization) มีการติดตาม ทบทวนวิธีการวิเคราะห์บริบทขององค์กร และผลกระทบที่ได้รับ เพื่อให้มี ความสอดคล้องกับการดำเนินงานขององค์กรในปัจจุบัน   
          2. ความเป็นผู้นำและความมุ่งมั่น (Leadership and commitment) ผู้บริหารระดับสูงให้ความมั่นใจในการส่งเสริมและปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม อย่างต่อเนื่อง ให้ความมั่นใจในการสนับสนุนบทบาทบุคลากรผู้รับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารงานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมได้มาซึ่งสมรรถนะสิ่งแวดล้อม
          3. นโยบายสิ่งแวดล้อม (Environmental policy) ทบทวนนโยบายสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์และบริบทขององค์กร รวมถึง การนำไปใช้เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการปฏิบัติตามพันธกรณี
          4. บทบาท ความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่ขององค์กร (Organizational roles, responsibilities and authorities) ทบทวนบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่ ของผู้รับผิดชอบต่อระบบ การจัดการสิ่งแวดล้อม และประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อม
          5. ปฏิบัติการเพื่อดำเนินการกับความเสี่ยงและโอกาส (Action to address risks and opportunities) มีการวิเคราะห์และทบทวนความเสี่ยงและโอกาส ลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นระยะๆ หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกิจกรรม หรือการดำเนินการใดๆ โดยกำหนดมาตรการและ ปรับเปลี่ยนการควบคุม เพื่อพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
          6. การปฏิบัติตามพันธกรณี (Compliance obligations) มีการทบทวนและปรับปรุงทะเบียนกฎหมาย ข้อกำหนด และกฎระเบียบอื่นๆ เมื่อมีการเพิ่มข้อกำหนดใหม่หรือเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เป็นปัจจุบัน และสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทำความเข้าใจ และปฏิบัติตาม
          7. วัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental objectives) ต้องมีการทบทวนอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถปฏิบัติและการบรรลุผลสำเร็จในการปฏิบัติตาม กฎหมาย ลดปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงการเพิ่มศักยภาพการผลิต
          8. การวางแผนปฏิบัติการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม (Planning actions to achieve environmental Objectives) มีการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการจัดการสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ใน ขั้นที่ 1 อย่างครบถ้วน และติดตามความคืบหน้า พร้อมกับทำการทบทวนเพื่อปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์และ เป้าหมายหรือดัชนีชี้วัดประสิทธิผลใหม่เพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
          9. การสนับสนุนทรัพยากร ความสามารถ และความตระหนัก (Resources, competence and awareness support) ตรวจสอบสมรรถนะสำหรับแต่ละตำแหน่งหน้าที่ตามระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมแล้วจัดทำแผนการฝึกอบรม และดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้เพื่อพัฒนาความรู้สร้างความสามารถ สร้างจิตสำนึก ความตระหนัก และทักษะการทำงานของพนักงาน รวมถึงการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านสิ่งแวดล้อม
          10. การสื่อสาร (Communication) ทำการสื่อสารประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกขององค์กร เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทราบและเข้าใจภาระหน้าที่ การปฏิบัติตามระเบียบ ข้อกำหนดของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทุกฝุายมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
          11. เอกสารสารสนเทศ (Documented information) จัดทำวิธีการควบคุมเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวกับระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม จัดทำทะเบียน เอกสาร บัญชีการแจกจ่ายเอกสารที่กำหนดชั้นความลับ และข้อมูลทั่วไป บันทึกประวัติและสถานการณ์การปรับปรุงแก้ไข ระบุระยะเวลาในการจัดเก็บและทำลายเอกสาร ทั้งนี้ ต้องปรับเปลี่ยนเอกสารให้เป็นปัจจุบันตลอดเวลา
          12. การวางแผนและควบคุมการดำเนินงาน (Operational planning and control) ทำการทบทวนขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานให้เป็นไปตามขอบเขตการควบคุมกิจกรรมหรือ สภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามแผนปฏิบัติการจัดการสิ่งแวดล้อมหรือผลกระทบที่ได้รับ จากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการที่มีอยู่ทั้งภายในและภายนอก
          13. การเตรียมพร้อมและการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency preparedness and response) ดำเนินการทดสอบ ประเมินผลการทดสอบความเข้าใจและปัญหาที่เกิดขึ้น และทำการ ปรับปรุงแผนปูองกันและโต้ตอบสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นระยะ หรือกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง ของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินขึ้น องค์กรจะต้อง ดำเนินการตามแผนโต้ตอบสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมทั้งแผนบรรเทาและฟื้นฟูผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
          14. การตรวจติดตาม การตรวจวัด การวิเคราะห์ และการประเมินผล (Monitoring measurement analysis and evaluation) ทำการตรวจติดตาม ตรวจวัด วิเคราะห์ และการประเมินผลแต่ละกิจกรรมที่ก่อให้เกิด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามพันธกรณีความต้องการและความคาดหวังของ ผู้มีส่วนได้เสีย และสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และ รายงานผลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ โดยจะต้องบันทึกและจัดเก็บผลการตรวจวัดไว้ เป็นหลักฐาน           
          15. การตรวจประเมินภายใน (Internal audit) จัดทำแผนและดำเนินการตรวจประเมินระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร (Internal audit) เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน ตามความต้องการของตนเองและตาม ข้อกำหนดของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมว่ามีการปฏิบัติและดูแลรักษาอย่างเหมาะสม รวมทั้งบันทึกผลการตรวจประเมิน และรายงานไปยังส่วนที่เกี่ยวข้องและผู้บริหารรับทราบ
          16. การทบทวนการบริหารงาน (Management review) ผู้บริหารทำการทบทวน ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงบริบท ขององค์กรทั้งประเด็นภายในและภายนอก ผู้มีส่วนได้เสีย ความเสี่ยงและโอกาส โดยเฉพาะพันธกรณีที่มีเพิ่มขึ้นหรือมีการเปลี่ยนแปลงไป พร้อมให้การสนับสนุนการดำเนินงาน ปรับปรุงและพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
          17. การปรับปรุง (Improvement) ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกับสิ่งที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ทบทวนประสิทธิผลของ การดำเนินการปรับปรุงแก้ไข รวมถึงมีผลการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบการจัดการ สิ่งแวดล้อม สามารถลดมลพิษ และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันได้
          สรุปได้ว่าองค์กรหรือโรงงานที่ดำเนินการพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมจะต้องดำเนินการ ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และข้อก าหนดการให้การรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ตามที่แสดงรายละเอียดไว้ข้างต้น ทั้งนี้ การดำเนินงานของโรงงาน อุตสาหกรรมจะแบ่งได้เป็น 2 ขั้น ดังนี้
          โรงงานที่ขอการรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ขั้นที่ 1
          จะต้องดำเนินงานให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์และข้อกำหนดการให้การรับรอง ขั้นที่ 1 จากนั้นโรงงานจะได้รับการตรวจประเมิน โดยคณะทำงานตรวจประเมินระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กรณีที่ โรงงานผ่านการพิจารณาการรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ขั้นที่ 1 จากคณะกรรมการ รับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม จะได้รับใบรับรองระบบการ จัดการสิ่งแวดล้อม และตราสัญลักษณ์การรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ขั้นที่ 1 จาก กรมโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งมีกำหนดอายุการรับรอง 2 ปี และโรงงานต้อง ดำเนินการต่อเพื่อให้ได้รับการรับรอง ขั้นที่ 2
          โรงงานที่ขอการรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ขั้นที่ 2
          จะต้องดำเนินงานให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์และข้อกำหนดการให้การรับรอง ขั้นที่ 2 จากนั้นโรงงานจะได้รับการตรวจประเมิน โดยคณะทำงานตรวจประเมินระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม กรณีที่ โรงงานผ่านการพิจารณาการรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ขั้นที่ 2 จากคณะกรรมการ รับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม จะได้รับใบรับรองระบบการ จัดการสิ่งแวดล้อม และตราสัญลักษณ์รับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ขั้นที่ 2 จาก กรมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งมีกำหนดอายุการรับรอง 3 ปี

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ได้แก่
          - แหล่งความช่วยเหลือหรือข้อมูลที่มีอยู่มากมายทั้งในหน่วยงานราชการและองค์กร เอกชน
          - ควรดำเนินการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างค่อยเป็นค่อยไปไม่ช้าเกินไป จนไม่ได้รับความสนใจหรือไม่ได้รับความร่วมมือจากพนักงาน หรือเร็วเกินไป จนกลายเป็นภาระขององค์กรและพนักงาน
          ควรจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับระบบบริหารจัดการที่มีอยู่เดิม ไม่ควรจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างจากระบบบริหารจัดการเดิม โดยสิ้นเชิง
          ควรจัดสรรงบประมาณหรือแหล่งเงินทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ สำหรับ การดำเนินงานเพื่อการลดการใช้ทรัพยากร ลดต้นทุน การปฏิบัติตามกฎหมาย กำหนด เพื่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในโรงงานตามแผนปฏิบัติการจัดการสิ่งแวดล้อม



          กระบวนการวางแผนการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งองค์กรควรให้ ความสำคัญก่อนที่จะเริ่มจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมนั้นควรพิจารณาถึง
          - สิ่งที่ต้องดำเนินการและลำดับความสำคัญก่อน-หลัง
          - แนวทางการดำเนินงาน
          - ผู้รับผิดชอบ




ข้อกำหนดและการประยุกต์ใช้ ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001:2015)
คอร์สที่มีผู้สมัครเรียนมากที่สุด!! จัดโปรโมชั่น ซื้อ 1 แถม 1 (จ่ายเพียง 3500.- เรียนได้ 2 ท่าน) จองอบรมตอนนี้

Comments


businessman

โปรโมชัน
อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย

อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย ในราคาสุดคุ้ม! โปรโมชั่นลดสูงสุด 30% เฉพาะเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2567

บทความล่าสุด
อัปเดตวิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

อัปเดต! วิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

ประกาศจากกรมสวัสดิการล่าสุด

ประกาศจาก กสร. เรื่องการเทียบเท่าวุฒิไม่ต่ำกว่า ป.ตรี อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

บทความยอดนิยม
อุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงาน,อันตรายจากการทํางาน มีอะไรบ้าง,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก รถโฟล์คลิฟท์ forklift 2564

นายจ้างต้องรู้! กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก 2564

แบ่งปัน
ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai