คู่มือความปลอดภัยในที่อับอากาศ2565- เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี 2567          คลิกที่นี่

บทความ

คู่มือความปลอดภัยในที่อับอากาศ2565



คู่มือ ความปลอดภัย ในที่อับอากาศ 2565

เพื่อป้องกัน อันตราย จากการทำงาน ในที่ อับกาศ


ความปลอดภัย ในที่อับอากาศ

การทำงานในที่อับอากาศอย่างปลอดภัย

           การทำงานในที่อับอากาศอย่างปลอดภัย สามารถทำได้อย่างไร ก่อนอื่น เซฟตี้อินไทย จะขออธิบายให้ท่านได้ทราบก่อนว่า ที่อับอากาศ คืออะไร ที่อับอากาศ คือ "ที่อับอากาศ (Confined Space) หมายความว่า ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัดหรือไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับเป็นสถานที่ทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ และ มีสภาพอันตราย หรือ มีบรรยากาศอันตราย เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตา ภาชนะ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน" อ้างอิงจากกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ ที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 (สรุปกฎกระทรวงเกี่ยวกับที่อับอากาศ)

1ต 2ป 3อ เพื่อป้องกัน อันตราย จากการทำงาน ในที่อับอากาศ 


ความปลอดภัย ในที่อับอากาศ

1ต คือ 1 ตรวจสอบ

           ตรวจสอบ ประเมิน สภาพอันตราย ตรวจวัด สภาพอากาศ (ก๊าซพิษ ก๊าซไวไฟ ปริมาณออกซิเจน) ก่อนอนุญาตให้ ลูกจ้างเข้าไปทำงานใน ที่อับอากาศ และ ระหว่างการทำงานเป็นระยะ
           หากพบสภาพที่เป็น อันตราย ในที่อับอากาศ นำลูกจ้าง ออกจาก ที่อับอากาศ ดำเนินการ เพื่อลด สภาพ อันตราย

ความปลอดภัย ในที่อับอากาศ

2ป คือ 1 ป้ายเตือน

          จัดทำป้ายเตือน "ที่อับอากาศ อันตราย ห้ามเข้า" ติดไว้หน้าทาง เข้า-ออก ที่อับอากาศ

2ปิดกั้น

          จัดให้มีสิ่ง ปิดกั้น เพื่อ ป้องกัน การเข้าไป /ตกลงไปใน ที่อับอากาศ / ป้องกันสิ่งที่ เป็นอันตราย เช่น สารเคมี พลังงาน เข้าสู่ที่อับอากาศ ขณะลูกจ้างปฏิบัติงาน

ความปลอดภัย ในที่อับอากาศ

3อ คือ 1 อนุญาต

          มีระบบ การอนุญาต ให้ลูกจ้างทำงานใน ที่อับอากาศ ทุกครั้ง
ระบุรายละเอียดดังนี้
  • สถานที่
  • วัน เวลา ทำงาน
  • ลักษณะงาน
  • ชื่อลูกจ้างที่ทำงาน
  • ผู้ควบคุมงาน
  • ผู้ช่วยเหลือ
  • ผลการประเมินสภาพและบรรยากาศอันตราย
  • มาตรการความปลอดภัย
  • ผลตรวจสุขภาพ
  • ลงลายมือ ชื่อผู้ขออนุญาต และผู้อนุญาต

2 อุปกรณ์

         อุปกรณ์ คุ้มครอง ความปลอดภัย ส่วนบุคคล อุปกรณ์ ช่วยเหลือ และช่วยชีวิต อุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์ ไฟฟ้า ที่เหมาะสมกับการใช้งานใน ที่อับอากาศ
นายจ้างต้องจัด อุปกรณ์ ให้ครบถ้วน เหมาะสมกับลักษณะงาน 
ควบคุมให้ลูกจ้าง / ผู้ช่วยเหลือ สวมใส่ PPE ก่อนทำงาน
ความปลอดภัย ในที่อับอากาศ

3 อบรม

        ผู้ที่ทำงานใน ที่อับอากาศ / ผู้ที่เกี่ยวข้อง (ผู้มีหน้าที่อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ) ต้องได้รับการ อบรมความปลอดภัยฯใน ที่อับอากาศ (อบรมในที่อับอากาศ) ตามกฎหมาย
        โดยทาง เซฟตี้อินไทย ได้มีการจัดอบรม การทำงานใน ที่อับอากาศ ตามกฎหมาย โดย วิทยากร ที่มีความสามารถ มีความชำนาญ เมื่อท่านมา อบรม กับเราท่านจะได้รับ ใบประกาศวุฒิบัตร ผ่านนการอบรม


Comments


businessman

โปรโมชัน
อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย

อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย ในราคาสุดคุ้ม! โปรโมชั่นลดสูงสุด 30% เฉพาะเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2567

บทความล่าสุด
อัปเดตวิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

อัปเดต! วิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

ประกาศจากกรมสวัสดิการล่าสุด

ประกาศจาก กสร. เรื่องการเทียบเท่าวุฒิไม่ต่ำกว่า ป.ตรี อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

บทความยอดนิยม
อุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงาน,อันตรายจากการทํางาน มีอะไรบ้าง,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก รถโฟล์คลิฟท์ forklift 2564

นายจ้างต้องรู้! กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก 2564

แบ่งปัน
ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai