บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับปั้นจั่น- เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี 2567          คลิกที่นี่

บทความ

บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับปั้นจั่น



บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับเครน-ปั้นจั่น 2566

บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับปั้นจั่น

   บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับเครน-ปั้นจั่น สามารถทำได้อย่างไร ก่อนอื่น เซฟตี้อินไทย จะขออธิบายให้ท่านได้ทราบก่อนว่า เครน-ปั่นจั่นและผู้บังคับปั่นจั่น คืออะไร เครน-ปั่นจั่นและผู้บังคับปั่นจั่น คือ “ปั้นจั่น” หมายความว่า เครื่องจักรที่ใช้ยกสิ่งของขึ้นลงตามแนวดิ่ง และเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้นในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบ “ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่” หมายความว่า ปั้นจั่นที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม และเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดตั้งอยู่บนหอสูง ขาตั้ง หรือบนล้อเลื่อน “ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่” หมายความว่า ปั้นจั่นที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม และเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดตั้งอยู่บนยานพาหนะที่ขับเคลื่อนได้ “ผู้บังคับปั้นจั่น” หมายความว่า บุคคลซึ่งทำหน้าที่บังคับการทำงานของปั้นจั่นให้ทำงานตามความต้องการ อ้างอิงตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564 อ่านสรุปกฎกระทรวง คลิก!!


ข้อห้ามปฏิบัติในการยกวัสดุ

 บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับเครน-ปั้นจั่น ข้อห้าม


1. ห้ามปฏิบัติงานเมื่อทัศนวิสัยไม่ดี

2. ห้ามยกน้ำหนักเกินพิกัด

3. ห้ามใช้ลากวัสดุ

4. ห้ามมีพนักงานโดยสารไปกับวัสดุที่ยกกำลัง

5. ห้ามปล่อยวัสดุลงในแนวดิ่งกะทันหัน

6. ห้ามปรับแต่งขณะปฏิบัติงาน


 บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับเครน-ปั้นจั่น ข้อห้าม


7. ห้ามบุคคลอื่นอยู่ในรัศมีการยกวัสดุของปั้นจั่น

8. ห้ามยก-วาง วัสดุอย่างรวดเร็ว

9. ห้ามยกวัสดุที่เกาะยึดไม่มั่นคง เอียงไม่สมดุล

10. ขณะเคลื่อนที่วัสดุห้ามแกว่ง

11. ห้ามใช้อุปกรณ์ที่ชำรุด


ข้อควรปฏิบัติในการยกวัสดุ

 บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับเครน-ปั้นจั่น ข้อควร


1. ยกวัสดุขึ้นจากพื้นประมาณ 4 นิ้ว ค้างไว้สักพัก

2. งานยกทุกชนิด ต้องได้รับอนุญาตจากหัวหน้าควบคุม

3. ยกวัสดุหลายชิ้นในคราวเดียวกัน ต้องรวบรวมเป็นก้อนเดียวกัน

4. สลิงที่ใช้ยกวัสดุต้องมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 5 เท่า

5. มีอุปกรณ์ป้องกันสลิงเสียหายตรงมุมคมของวัสดุ

6. ใช้เชือกต๋ง (Guy Rope)ผูกประคองชิ้นงาน


 บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับเครน-ปั้นจั่น ข้อควร


7. จุดเกาะวัสดุต้องอยู่ในตำแหน่งสมดุล

8. ใช้ปั้นจั่นให้ถูกขนาดและน้ำหนักของวัสดุ

9. การเคลื่อนย้าย จะต้องเคลื่อนที่อย่างช้า ๆ ราบเรียบ สม่ำเสมอ

10. สลิงต้องเหลืออยู่ในรอกอย่างน้อย 2 รอบ

11. ขณะใช้งานพบสิ่งผิดปกติต้องรีบรายงานผู้บังคับบัญชาทันที

12. สลิงที่ใช้ผูกยึดชิ้นส่วนต้องมีมุมยกน้อยที่สุดหรือไม่ทำมุมกันเลย

อบรมเครน-ปั้นจั่น หลักสูตรตามที่กฎหมายกำหนด crane
อบรมเครน-ปั้นจั่น หลักสูตรตามที่กฎหมายกำหนด จองอบรมตอนนี้

Comments


businessman

โปรโมชัน
อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย

อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย ในราคาสุดคุ้ม! โปรโมชั่นลดสูงสุด 30% เฉพาะเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2567

บทความล่าสุด
อัปเดตวิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

อัปเดต! วิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

ประกาศจากกรมสวัสดิการล่าสุด

ประกาศจาก กสร. เรื่องการเทียบเท่าวุฒิไม่ต่ำกว่า ป.ตรี อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

บทความยอดนิยม
อุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงาน,อันตรายจากการทํางาน มีอะไรบ้าง,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก รถโฟล์คลิฟท์ forklift 2564

นายจ้างต้องรู้! กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก 2564

แบ่งปัน
ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai