ผู้เผ้าระวังไฟ- เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี 2567          คลิกที่นี่

บทความ

ผู้เผ้าระวังไฟ




ผู้เฝ้าระวังไฟ Fire watch man

ผู้เผ้าระวังไฟ fire watch man


          ผู้เฝ้าระวังไฟ หรือ Fire Watch Man นับมีความสำคัญและจำเป็นในกิจกรรมการดำเนินการในด้านต่างๆ เช่น กิจกรรมงานที่ทำให้เกิดประกายไฟ และเสี่ยงในการเกิดอัคคีภัยในกิจกรรมดังกล่าว และกิจกรรมต่างๆ ในกลุ่มงาน Oil and Gas และทั่วไป ซึ่งผู้เฝ้าระวังไฟ ก็ถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมาก ที่จะช่วยป้องกันอุบัติที่จะเกิดขึ้นจากกิจกรรมดังกล่าว ในด้านความรับผิดชอบดังกล่าวเช่น การตรวจวัดแก็สบริเวณทำงานและขณะทำงาน หรือการเฝ้าระวังลูกไฟ ขณะมีการเชื่อมและเจียร แม้กระทั้งเมื่อเกิดเหตุ ผู้เฝ้าระวังไฟก็จะสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ช่วยป้องกันและลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

ผู้เฝ้าระวังไฟคืออะไร
          ผู้เฝ้าระวังไฟ คือ ผู้ตรวจสอบสถานที่ทํางานที่ก่อให้เกิดประกายไฟ เพื่อให้แน่ใจว่าสภาพการทํางานจะไม่เปลี่นแปลงปลอดภัยหากไกลจากวัสดุที่ติดไฟได้ในพื้นที่นั้นๆ กรณีที่วัสดุที่ติดไฟประเภทต่างๆบริเวณเหล่านั้นไม่สามารถเคลื่อนย้ายออกได้ ผู้เฝ้าระวังไฟจะต้องมีการป้องกันหรือปกคลุมด้วยวิธีการหรือเทคนิคต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ผู้เฝ้าระวังยังต้องมีการฝึกอบรมหลักสูตรผู้เฝ้าระวังไฟ  เป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายหน้าที่เพื่อลดความเสี่ยงจากอัคคีภัยและความเสียหายที่อาจเกิดจากงานที่ทำให้เกิดความร้อนหรือประกายไฟ หากมีเพลิงไหม้เกิดขึ้นพวกเขาจะดําเนินการตามเทคนิคที่ได้ฝึกอบรมมาอย่างเหมาะสมเพื่อปกป้องคนงานและทรัพย์สินทั้งหมดของนายจ้างหรือลูกค้า

          ปัจจุบันการทำงานในลักษณะเหล่านี้หากกิจการเป็นผู้รับเหมาก่อนที่จะเข้าไปประมูลงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่ทาง จป. ของโรงงานนั้นๆให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยเช่น ปตท. SCG กลุ่มคนที่ทำงานเกี่ยวกับความร้อนและประกายไฟจะต้องผ่านการอบรม ผู้เฝ้าระวังไฟก่อน ถึงจะสามารถทำงานได้เพื่อให้แน่ใจว่าผู้รับเหมาทุกคนที่เข้าไปในโรงงานของลูกค้าจะเกิดความปลอดภัยตลอดการปฏิบัติงาน

ผู้เฝ้าระวังมีความจําเป็นเมื่อมีการเชื่อม ตัด เจียร เจาะ ขุด หรืองานที่ทำให้เกิดความร้อนและประกายไฟ ที่ปฏิบัติงานในสถานที่ที่อาจเกิดไฟไหม้ตั้งแต่เล็กน้อยเป็นต้นไป หรือ มีสภาพใด ๆ ต่อไปนี้ 
     – วัสดุที่ติดไฟได้ง่าย ในการก่อสร้างหรือสิ่งปลูกสร้างใกล้กับจุดปฏิบัติงานที่ใกล้กว่า 35 ฟุต (11 เมตร)
     – สารที่ติดไฟได้ ไกลมากกว่า 35 ฟุต (11 เมตร) แต่จะติดไฟได้ง่ายโดยประกายไฟ
     – ผนังหรือพื้นช่องเปดภายในรัศมี 35 ฟุต (10.7 เมตร) ที่มีวัสดุที่ติดไฟได้ในพื้นที่ใกล้เคียงรวมทั้งช่องว่างที่ซ่อนอยู่ในผนังหรือพื้น
     – วัสดุที่ติดไฟได้อยู่ติดกับด้านตรงข้ามของฉากกั้นโลหะ ผนัง เพดานหรือหลังคา และมีแนวโน้มที่จะถูกจุดประกายด้วยการนําหรือรังสี

หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้เฝ้าระวังไฟ มีดังนี้
     – ได้รับการอบรมเพื่อให้เข้าใจอันตรายที่แท้จริงของสถานที่ทํางานและงาน Hot Work 
     – มั่นใจว่ารักษาสภาพการที่ปลอดภัยในระหว่างที่ดําเนินงาน Hot Work
     – ได้รับอนุญาตให้หยุดการทํางานถ้ามีสภาพที่ไม่ปลอดภัย
     – มีอุปกรณ์ดับเพลิงที่พร้อมใช้งานได้และได้รับการอบรมการใช้งานอุปกรณ์นั้น ๆ
     – ทําความคุ้นเคยกับสถานที่และวิธีปฏิบัติเมื่อได้ยินเสียงสัญญาณเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้
     – คอยเฝ้าระวังการเกิดเพลิงไหม้ในพื้นที่ทั้งหมดของงาน Hot Work
     – พยายามดับเพลิงภายใต้ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ดับเพลิงนั้น ๆ
     – มีวิธีการสื่อสารกับแต่ละส่วนงานและการติดต่อผู้รับผิดชอบในกรณีเหตุฉุกเฉิน
     – กดสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ทันที ถ้าเพลิงลุกไหม้จนเกินความสามารถของอุปกรณ์ดับเพลิง
     – ต้องมีวิธีการในการอพยพออกจากอาคาร (เช่นแตรหรือดึงเพื่อเปิดใช้งานสัญญาณเตือนไฟไหม้อาคาร)
     – ปฏิบัติหน้าที่อื่นเท่าที่จําเป็น แต่ต้องไม่ละทิ้งในขณะที่ทําหน้าที่เฝ้าระวัง
ผู้เฝ้าระวังไฟ Fire Watch Man
อบรมผู้เฝ้าระวังไฟ Fire Watch Man กับราคาสุดคุ้มจาก 1900.- ลดเหลือเพียง 1700.- เท่านั้น!!! จองอบรมตอนนี้

Comments


businessman

โปรโมชัน
อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย

อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย ในราคาสุดคุ้ม! โปรโมชั่นลดสูงสุด 30% เฉพาะเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2567

บทความล่าสุด
อัปเดตวิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

อัปเดต! วิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

ประกาศจากกรมสวัสดิการล่าสุด

ประกาศจาก กสร. เรื่องการเทียบเท่าวุฒิไม่ต่ำกว่า ป.ตรี อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

บทความยอดนิยม
อุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงาน,อันตรายจากการทํางาน มีอะไรบ้าง,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก รถโฟล์คลิฟท์ forklift 2564

นายจ้างต้องรู้! กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก 2564

แบ่งปัน
ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai