ความปลอดภัยในการทำงานในหน้าฝนที่ทุกคนต้องรู้- เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี 2567          คลิกที่นี่

บทความ

ความปลอดภัยในการทำงานในหน้าฝนที่ทุกคนต้องรู้



หน้าฝนเป็นช่วงเวลาที่มีสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว ซึ่งอาจมีผลต่อความปลอดภัยในสถานที่ทำงานได้ การปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญในช่วงหน้าฝนเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น




หน้าฝนเป็นช่วงเวลาที่มีสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว

1 โรคติดต่อ ช่วงหน้าฝนเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ง่าย เช่น ไข้หวัดใหญ่ ติดเชื้อ ท้องเสีย โรคผิวหนัง ไข้เลือดออก ควรดุแลสุขภาพตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ
2 ไฟฟ้าช็อต มือเปียกไม่ควรจับอุปกรณ์ไฟฟ้าหมั่นตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ไฟฟ้า สายไฟให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
3 สัตว์ร้าย หลีกเลี่ยงการเดินในที่รกเพราะมักเป็นที่อยู่ของสัตว์มีพิษเช่น งู ตะขาบ แม่งป่อง ฯลฯ
4 ฟ้าผ่า เมื่อฝนตกไม่ควรอยู่กลางแจ้งหรือใต้ต้นไม้เพราะอาจเสี่ยงฟ้าผ่าได้ 

 


การป้องกันการทำงานในช่วงหน้าฝน

อยู่ในที่ร่ม: เมื่อเกิดฝนฟ้าคะนองให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่ง หากเลี่ยงไม่ได้ต้องไม่อยู่ใกล้ที่สูงเช่น ต้นไม้สูง เสาโทรศัพท์ เสาไฟฟ้า ห้ามกางร่มที่มีปลายโลหะยอดแหลมปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง: ปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยที่กำหนดโดยองค์กรหรือสถานที่ทำงาน เช่น การปิดการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นหรือการตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
ทำความสะอาดและบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า: ตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อให้มีสภาพที่ดีและปลอดภัยตลอดเวลา รวมถึงการเช็คสายไฟที่อาจเสียหรือชำรุดในสภาวะฝนตก
การป้องกันสัตว์มีพิษช่วงหน้าฝน: การตัดหญ้าในบริเวณโดยรอบช่วยลดพื้นที่ที่สัตว์มีพิษสามารถอาศัยอยู่ที่จะลดพื้นที่ที่สัตว์มีพิษสามารถซ่อนตัวได้



4 ของต้องเตรียมสำหรับแรงงานเพื่อความปลอดภัยในฤดูฝน

          ช่วงฤดูฝน สิ่งที่ต้องระมัดระวังมากที่สุดสำหรับคนทำงานโดยเฉพาะแรงงาน ก็คืออุบัติเหตุที่มาพร้อมกับฝน ซึ่งอันตรายที่พบบ่อยที่สุด หนีไม่พ้นอันตรายที่เกิดจากการลื่นไถล อันตรายที่เกิดจากการมองเห็นทัศนวิสัยไม่ชัดเจน มีเศษฝุ่นละอองเข้าตา เมื่อเกิดลมแรงในระหว่างการทำงานก่อนที่ฝนจะตก และอันตรายที่เกิดจากสิ่งของหล่นจากที่สูง ซึ่งช่วงฤดูฝนจะเป็นช่วงที่เกิดอุบัติเหตุจากการทำงานมากกว่าช่วงเวลาอื่น อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้แรงงานสามารถป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้ โดยนอกจากจะต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษแล้ว ยังสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่จะช่วยลดอุบัติภัยได้อีกทางหนึ่ง
     
          แน่นอนที่สุดว่าอุบัติเหตุที่พบบ่อยคือ การลื่นไถลหรือลื่นล้ม ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานควรสวมใส่รองเท้านิรภัยหรือเลือกสวมใส่รองเท้าบู๊ทนิรภัย ในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังหรือเจิ่งนอง โดยพื้นรองเท้าควรมีคุณสมบัติป้องกันการลื่น ซึ่งผู้ใช้อาจจะเลือก “รองเท้านิรภัยแบบเสริมหัวเหล็ก” ที่ได้รับมาตรฐาน มอก. 523-2554 สามารถทนแรงกระแทกได้ถึง 200 จูล ซึ่งเทียบเท่ากับรถบรรทุกสี่ล้อเหยียบทับและกันแรงกระแทกจากวัตถุที่มีน้ำหนัก 20 กก. ตกใส่จากความสูง 100 ซม.หรือระดับหน้าอกโดยประมาณ
      
นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติงานควรเลือกสวมใส่ “แว่นครอบตานิรภัย” ที่เลนส์แว่นตาเคลือบสาร Anti Fog เพื่อลดการเกิดฝ้าที่เลนส์แว่นตาในขณะปฏิบัติงาน และยังสามารถป้องกันเศษวัสดุต่างๆ กระเด็นเข้าดวงตา เนื่องจากมีการปิดครอบคลุมทั้งดวงตา
      
          รวมถึงควรใส่ “ชุดกันฝน” เพื่อป้องกันร่างกายจากความเปียกชื้น โดยเลือกให้เหมาะสมกับขนาดของผู้ปฏิบัติงาน และที่สำคัญ ชุดกันฝนควรจะต้องมีแทบสะท้อนแสง เพื่อสามารถมองเห็นผู้สวมใส่ได้ชัดเจนแม้อยู่ในระยะไกล
     
          และควรเลือก “หมวกนิรภัย” ที่ได้รับมาตรฐาน มอก. 368-2554 เพื่อป้องกันศีรษะจากวัตถุที่อาจจะตกลงมากระแทก และที่สำคัญควรเลือกประเภทหมวกนิรภัยที่ไม่มีช่องระบายอากาศ เพื่อจะได้ไม่เป็นสื่อนำไฟฟ้า
     
          อุปกรณ์ทั้ง 4 ประเภทนี้ ไม่ว่าจะเป็นรองเท้านิรภัย แว่นครอบตา ชุดกันฝน และหมวกนิรภัย มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับการทำงานในช่วงฤดูฝน ซึ่งข้อควรระวังเพิ่มเติมก็คือ ผู้ใช้ต้องเลือกใช้อุปกรณ์เซฟตี้ให้เหมาะสมกับหน้างาน ต้องทำงานด้วยความระมัดระวังมากขึ้น และควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่เสี่ยงที่มีกระแสไฟ้ฟ้า เพราะอาจเกิดการรั่วไหลของไฟฟ้า



อันตรายและผลกระทบต่อสุขภาพคนงานที่ที่ทำงานในฤดูฝน

ฤดูฝนมักเป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและสภาพแวดล้อม ซึ่งอาจมีผลต่อสุขภาพของเรา


โรคที่มากับฤดูฝน

ไข้หวัดใหญ่
เกิดจากร่างกายได้รับเชื้อไวรัสกลุ่ม Influenza Virus

อาการ
 • ปวดศีรษะ
 • ไอแห้ง
 • มีน้ำมูก คัดจมูก
 • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
 •
 มีไข้สูง

วิธีการป้องกัน
 • หมั่นล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอ
 • หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด หรือใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
 • ควรฉีกวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี

โรคปอดอักเสบ หรือ ปอดบวม

 เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง จะทำให้ถุงลมปอดเต็มไปด้วยหนองหรือสารคัดหลั่ง ส่งผลให้การหายใจไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนลดลง
อาการ
  • มีไข้สูง ตัวร้อน หน้าแดง เหงื่อออก หนาวสั่น
  • ไอ มีเสมหะ
  • เจ็บหน้าอก หายใจเร็ว หายใจลำบาก หอบเหนื่อย
  • คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย
  • อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตัว ปวดตามข้อ
  • ผู้สูงอายุอาจมีอาการซึม รู้สึกสับสน
 • ในทารกหรือเด็กเล็กอาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด อาเจียน ซึม ไม่ดูดนมหรือน้ำ บางรายอาจมีอาการชักจากไข้

วิธีการป้องกัน
  • ไม่สูบบุหรี่ เนื่องจากสารจากควันบุหรี่จะไปทำลายกระบวนการป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตามธรรมชาติของปอด
  • หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรืออากาศที่หนาวเย็น
  • เมื่อเป็นหวัดหรือไข้หวัดใหญ่อย่าปล่อยทิ้งไว้ ควรรักษาให้หายขาดตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน
  • สร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • สำหรับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในกระแสเลือด


โรคฉี่หนู

เกิดจากเชื้อกลุ่ม Leptospira มักพบการระบาดในหน้าฝนหรือช่วงที่มีน้ำท่วมขัง สัตว์ที่แพร่เชื้อโรคนี้ ได้แก่ พวกสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู โดยที่ตัวมันไม่เป็นโรค สัตว์พวกนี้เก็บเชื้อไว้ที่ไต ดังนั้นเมื่อฉี่ออกมาจะมีเชื้อนี้ปนอยู่ด้วย จึงเป็นที่มาของคำว่า “โรคฉี่หนู”
อาการ
 • เยื่อบุตาบวมแดง
 • เจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง
 • มีเลือดออกบริเวณต่างๆ เฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง
 • มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง
 • อาการเหลือง
วิธีการป้องกัน
 • ควรสวมชุดป้องกัน เช่น รองเท้าบูท ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อผ้า
 • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นพาหะของโรค
 • หลีกเลี่ยงการสัมผัสปัสสาวะโค กระบือ หนู สุกร และไม่ใช้แหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อ
 • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทิ้งไว้ค้างคืนที่ไม่ปิดภาชนะ เป็นต้น
 • หลีกเลี่ยงการทำงานในน้ำหรือต้องลุยน้ำ ลุยโคลนเป็นเวลานานๆ
 • รีบอาบน้ำ ทำความสะอาดร่างกายโดยเร็วหากแช่หรือย่ำลงไปในแหล่งน้ำที่สงสัยว่าอาจปนเปื้อนเชื้อ


โรคตาแดง

เกิดจากการสัมผัสกับเชื้อโรคโดยตรง และการใช้สิ่งของร่วมกัน หรือจากการหายใจหรือไอจามรดกัน เชื้อโรคสามารถแพร่ระบาดได้ตามสถานที่ที่มีผู้คนอยู่ร่วมกันมากๆ เช่น รถไฟฟ้า รถโดยสารสาธารณะ โรงพยาบาล โรงเรียน และมักพบในกลุ่มเด็กมากกว่าผู้ใหญ่
อาการ
 • ตาแดง
 • ปวดเล็กน้อยในเบ้าตา
 • คันตา เคืองตา รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอมในดวงตา
 • น้ำตาไหล เปลือกตาบวม อาจพบตุ่มเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป
 • ในกรณีที่ติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย จะมีขี้ตามาก ทำให้ลืมตายากในช่วงตื่นนอน
วิธีการป้องกัน
 • หมั่นล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือขยี้ตา
 • ไม่ใช้ยาหยอดตาขวดเดียวกันกับดวงตาทั้งสองข้าง หยุดใช้คอนแทคเลนส์จนกว่าอาการจะหายสนิท
 • ไม่ใช้ผ้าเช็ดตัว ปลอกหมอน ผ้าห่ม ร่วมกับผู้ป่วยโรคตาแดง
 • พักเรียนหรือพักงานอย่างน้อย 1 สัปดาห์เพื่อไม่ให้โรคแพร่กระจายสู่ผู้อื่น
 • พักการใช้สายตา และพักผ่อนให้เพียงพอ
 • ไม่จำเป็นต้องปิดตา เว้นแต่กรณีที่กระจกตาอักเสบหรือเคืองตามากอาจปิดตาชั่วคราว หรือสวมแว่นกันแดดแทน


โรคไข้เลือดออก

ติดต่อจากคนสู่คนโดยมียุงลายเป็นพาหะที่สำคัญ ยุงตัวเมียจะกัดและดูดเลือดของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฟักตัวเพิ่มจำนวนในยุง และสามารถถ่ายทอดเชื้อให้คนที่ถูกกัดต่อไปได้
อาการ
  1. ระยะไข้(2-7 วัน) ผู้ป่วยจะมีไข้สูงเกือบตลอดเวลา เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มักมีหน้าแดง และอาจมีผื่นหรือจุดเลือดออกตามลำตัว แขน ขา
  2. ระยะช็อก ไข้เริ่มลดลง มีอาการซึม เหงื่อออก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเบาแต่เร็ว ปวดท้อง ปัสสาวะออกน้อย อาจมีเลือดออกง่าย ในรายที่รุนแรงจะมีความดันโลหิตต่ำ ช็อก และอาจทำให้เสียชีวิตได้ ระยะนี้เกิน48 ชั่วโมง ซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายไม่จำเป็นต้องเป็นรุนแรง และเข้าสู่ภาวะช็อกทุกราย ในผู้ป่วยไข้เลือดออกที่อาการไม่รุนแรง เมื่อไข้ลดก็จะมีอาการดีขึ้น รับประทานอาหารได้ เข้าสู่ระยะฟื้นตัว
  3. ระยะฟื้นตัว อาการต่างๆ จะเริ่มดีขึ้น ผู้ป่วยรู้สึกอยากรับประทานอาหาร ความดันโลหิตสูงขึ้น ชีพจรเต้นแรงขึ้นและช้าลง ปัสสาวะมากขึ้น บางรายมีผื่นแดงและมีจุดเลือดออกเล็กๆ ตามลำตัว
วิธีการป้องกัน
 • ป้องกันไม่ให้ยุงกัด กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในบ้าน รวมทั้งรอบๆ บริเวณบ้าน
 • ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำในภาชนะที่ขังน้ำทุก 7 วัน เช่น แจกัน
 • ปิดฝาโอ่งหรือภาชนะอื่นๆ ให้มิดชิด หรือใส่ทรายเคมี กำจัดลูกน้ำในภาชนะที่เก็บน้ำไว้ใช้ ใส่เกลือหรือน้ำส้มสายชูลงในจานรองขาตู้กับข้าวสัปดาห์ละครั้ง
 • ในผู้ที่เคยเป็นโรคไข้เลือดออกมาแล้ว หลังจากหายป่วยจากโรคเป็นเวลา 1  ปี ควรรับการฉีดวัคซีนไข้เหลือดออก เพราะผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคไข้เลือดออกมาแล้ว หากกลับมาเป็นซ้ำ ส่วนมากอาการจะรุนแรงมากยิ่งขึ้น


โรคมาลาเรีย

เกิดจากเชื้อโปรโตซัวที่เรียกว่า พลาสโมเดียม (Plasmodium) มียุงก้นปล่องเพศเมียเป็นพาหะ เชื้อที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย คือ พลาสโมเดียม ฟัลซิพารัม (Plasmodium Falciparum) และรองลงมา คือ พลาสโมเดียม ไวแว็กซ์ (P.Vivax)

อาการ
มีไข้สูง หนาวสั่น มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจทำให้เสียชีวิต เช่น เชื้อมาลาเรียขึ้นสมอง ระบบการแข็งตัวของเลือดบกพร่อง ไตวาย ตับโต ม้ามโต
วิธีการป้องกัน
 • หากจำเป็นต้องเข้าไปค้างแรมในป่า ควรปรึกษาแพทย์เพื่อกินยาป้องกันโรค และปฏิบัติตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
 • ใช้ยาจุดกันยุงเพื่อไล่ยุงเวลานอนในป่า เพื่อช่วยลดการถูกยุงกัดได้
 • ควรนอนในมุ้งเวลานอนในป่า
 • การทายากันยุง โดยเฉพาะชนิดที่ป้องกันได้นาน ๆ


การยศาสตร์กับการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย
จองอบรมวันนี้ สมาชิกรับส่วนลดในราคาพิเศษสุด!!! จองอบรมตอนนี้

Comments


businessman

โปรโมชัน
อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย

อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย ในราคาสุดคุ้ม! โปรโมชั่นลดสูงสุด 30% เฉพาะเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2567

บทความล่าสุด
อัปเดตวิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

อัปเดต! วิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

ประกาศจากกรมสวัสดิการล่าสุด

ประกาศจาก กสร. เรื่องการเทียบเท่าวุฒิไม่ต่ำกว่า ป.ตรี อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

บทความยอดนิยม
อุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงาน,อันตรายจากการทํางาน มีอะไรบ้าง,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก รถโฟล์คลิฟท์ forklift 2564

นายจ้างต้องรู้! กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก 2564

แบ่งปัน
ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai