หลักสูตรอบรมตามที่กฎหมายกำหนด
พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 กำหนดให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรม ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานได้อย่างปลอดภัย
กระทรวงแรงงาน
ท่านสามารถค้นหาหลักสูตรอบรมที่ต้องการได้ หลักสูตรการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในปัจจุบันนั้นมีเป็นจำนวนมาก เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานได้อย่างปลอดภัย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตระหนักถึงการฝึกอบรมซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มีการออกเป็นกฎหมายกำหนดให้มีการจัดฝึกอบรมด้านความปลอดภัยฯ ในหลักสูตรต่างๆ ขึ้น ดังนี้
หลักสูตร |
ชื่อกฎหมาย |
รายละเอียดการอบรม |
---|---|---|
1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
ในการทำงาน - ระดับหัวหน้างาน - ระดับบริหาร - ระดับเทคนิค - ระดับเทคนิคขั้นสูง |
กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคล เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565 |
สำหรับลูกจ้างระดับหัวหน้างาน และลูกจ้าง ระดับบริหารทุกคนและสำหรับลูกจ้างที่ได้รับ การแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย เพื่อปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย ประจำสถานประกอบกิจการ |
2. หัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย | กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคล เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565 | สำหรับลูกจ้างที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็น หัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย |
3. คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม ในการทำงานของสถาน ประกอบกิจการ | กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคล เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565 | สำหรับคณะกรรมการฯ ที่ได้รับแต่งตั้ง หรือเลือกตั้งใหม่ โดยให้อบรมภายใน 60 วัน หลังจากได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกตั้ง |
4. ผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ |
กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562 หลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ 2564 |
สำหรับผู้ที่ต้องปฏิบัติงานในที่อับอากาศ โดยให้อบรมก่อนเข้าไปทำงานในที่อับอากาศ |
5. การป้องกันอันตรายทางรังสี ของผู้รับผิดชอบดำเนินการ ทางด้านเทคนิคในเรื่องรังสี | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน ในการบริหารและการจัดการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม ในการทำงานเกี่ยวกับรังสีชนิด ก่อไอออน พ.ศ. 2547 | สำหรับผู้รับผิดชอบดำเนินการทางด้าน เทคนิคในเรื่องรังสี |
6. อันตรายและวิธีการป้องกันอันตราย จากรังสีก่อนเข้ารับหน้าที่ สำหรับลูกจ้างที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสี |
กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน
ในการบริหารและการจัดการ
ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
เกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน
พ.ศ. 2547 และประกาศกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการอบรมความปลอดภัย ในการทำงานในการป้องกัน อันตรายจากรังสี |
สำหรับลูกจ้างที่จะปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสี โดยให้อบรมก่อนเริ่มงาน |
7. วิธีการใช้และการบำรุงรักษา อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ส่วนบุคคลสำหรับลูกจ้าง | กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐาน ในการบริหาร และการจัดการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549 | กรณีที่บริษัทฯจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย ส่วนบุคคลเพื่อป้องกันอันตรายจากความร้อน แสงสว่าง และเสียงดังให้แก่ลูกจ้าง |
8. ความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง เช่น การใช้เครื่องจักรรหัสสัญญาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับลูกจ้าง | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ.2564 | สำหรับลูกจ้างที่ต้องทำงานก่อสร้างโดยให้ อบรมเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสม |
9. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น สำหรับผู้ควบคุมงาน | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ.2564 | สำหรับผู้ควบคุมงาน ที่ควบคุมการทำงาน ของลูกจ้างที่เข้าไปทำงานในรูเจาะ รูขุด หลุม บ่อ คู หรือพื้นที่อื่นที่มีลักษณะเดียวกัน ซึ่งมีความลึกตั้งแต่ 2 เมตร ขึ้นไป |
10. การใช้เครื่องตอกเสาเข็มและการใช้ สัญญาณสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงาน ในการตอกเสาเข็ม | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ.2564 | สำหรับลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่บังคับเครื่องตอก เสาเข็ม |
11. ความปลอดภัยในการใช้เครื่องจักร และปั้นจั่นในงานก่อสร้าง | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ.2564 | สำหรับลูกจ้างที่ทำงานกับเครื่องจักร และปั้นจั่นในงานก่อสร้าง |
12. การใช้ลิฟต์ขนส่งวัสดุชั่วคราว และลิฟต์โดยสารชั่วคราวในงานก่อสร้าง | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ.2564 | สำหรับลูกจ้างที่ทำหน้าที่บังคับลิฟต์ |
13. วิธีทำงานในอุโมงค์และวิธีป้องกัน อันตรายแก่ลูกจ้าง | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ.2564 | สำหรับลูกจ้างก่อนเข้าทำงานในอุโมงค์ และอบรมทบทวนหรือเพิ่มเติมเป็นประจำ ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง |
14. ฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินกรณี เกิดภัยจากธรรมชาติ สำหรับงานก่อสร้างในน้ำ | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ.2564 | สำหรับลูกจ้างที่ทำงานก่อสร้างในน้ำ |
15. ขั้นตอนและวิธีการรื้อถอน ทำลายสิ่งก่อสร้าง | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ.2564 | สำหรับลูกจ้างที่ต้องทำการรื้อถอนทำลาย สิ่งก่อสร้าง โดยอบรมก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงาน |
16. การใช้อุปกรณ์ป้องกัน อันตรายส่วนบุคคลสำหรับ งานก่อสร้าง | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ.2564 | สำหรับลูกจ้าง ก่อนเริ่มใช้งานอุปกรณ์ PPE |
17. การทำงานเกี่ยวกับเครื่องปั๊มโลหะ เครื่องเชื่อมไฟฟ้า เครื่องเชื่อมก๊าซ รถยก หรือเครื่องจักรที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ได้โดยสภาพ | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ.2564 | สำหรับลูกจ้างที่ทำงานกับเครื่องจักร และเครื่องมือที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้โดยสภาพ เพื่อให้มีการชำนาญในการใช้เครื่องจักร |
18. ผู้ควบคุมหม้อน้ำ | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ.2564 | สำหรับผู้ซึ่งนายจ้างจัดให้มีหน้าที่ ควบคุมการทำงานและการใช้หม้อน้ำ |
19. ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือ ผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ.2564 | สำหรับลูกจ้างที่ปฏิบัติงานเป็น ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น |
20. ทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ.2564 | สำหรับลูกค้าที่อบรมเป็นผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และทำงานมาแล้ว 2 ปี หรือ โรงงานมีสถิติอุบัติเหตุสูงขึ้น หรือเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงเกี่ยวกับปั้นจั่น ในสถานที่ทำงานหรือเมื่อมีการนำปั้นจั่น ชนิดหรือลักษณะที่แตกต่างจากเดิมมาใช้งาน |
21. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงกา รอนุรักษ์การได้ยินความสำคัญ ของการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน อันตรายของเสียงดัง การควบคุมป้องกัน และการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ส่วนบุคคล | ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2561 | สำหรับลูกจ้างที่ทำงานในบริเวณที่มี ระดับเสียงดังที่ได้รับเฉลี่ยตลอดระยะ เวลาการทำงาน 8 ชม. ตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอ ขึ้นไป และลูกจ้างที่เกี่ยวข้องในสถาน ประกอบกิจการ |
22. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างระดับบริหาร | ประกาศกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรม ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน | สำหรับลูกจ้างระดับบริหารของสถาน ประกอบกิจการที่ไม่ได้อยู่ใน 14 ประเภท ตามที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน ในการบริหารและการจัดการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 กำหนด |
23. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างระดับหัวหน้างาน | ประกาศกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรม ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม ในการทำงาน | สำหรับลูกจ้างระดับหัวหน้างานของสถาน ประกอบกิจการที่ไม่ได้อยู่ใน 14 ประเภท ตามที่กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการ บริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ ทำงาน พ.ศ. 2549 กำหนด |
24. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้าง เข้าทำงานใหม่ | ประกาศกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรม ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม ในการทำงาน | สำหรับลูกจ้างใหม่ โดยให้อบรมก่อนเริ่มงาน และลูกจ้างทั่วไป |
25. ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สำหรับลูกจ้างเปลี่ยนงาน เปลี่ยน สถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลง เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ซึ่งมีปัจจัย เสี่ยงแตกต่างไปจากเดิม | ประกาศกรมสวัสดิการและ คุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงาน | สำหรับลูกจ้างที่เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยน สถานที่ทำงาน หรือโรงงานมีการ เปลี่ยนแปลงเครื่องจักร อุปกรณ์ที่ แตกต่างไปจากเดิม โดยให้อบรม ก่อนเริ่มงานนั้นๆ |
26. การดับเพลิงขั้นต้น | กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐาน ในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานเกี่ยวกับ การป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 | สำหรับลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ โดยต้องอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ40 ของจำนวนลูกจ้างในแต่ละหน่วยงาน |
27. ฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ | กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐาน ในการบริหาร จัดการ และ ดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกัน และระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 | สำหรับลูกจ้างทุกคนภายในสถานประกอบ กิจการ ฝึกซ้อมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง |
28. การป้องกันและระงับอัคคีภัย การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการ ดับเพลิง การปฐมพยาบาล และการช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน | กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐาน ในการบริหาร จัดการ และ ดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทำงานเกี่ยวกับการ ป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 | สำหรับผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและ ระงับอัคคีภัยภายในสถานประกอบกิจการ |
29. วิธีการแก้ไขปัญหา เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขณะขนถ่าย เคลื่อนย้าย หรือขนส่งสาร เคมีอันตราย | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน ในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม ในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมี อันตราย พ.ศ. 2556 | สำหรับลูกจ้างที่ทำการขนถ่าย เคลื่อนย้าย และขนส่งสารเคมีอันตราย อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง |
30. การควบคุมและระงับเหตุ อันตรายกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เกี่ยวกับสารเคมีอันตราย | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน ในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพ แวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ สารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556 | สำหรับลูกจ้างที่มีหน้าที่ควบคุมและระงับ เหตุอันตราย โดยอบรมและทบทวนอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง |
หลักสูตร |
ชื่อกฎหมาย |
รายละเอียดการอบรม |
---|---|---|
1. คนงานควบคุมก๊าซคนงาน ส่งก๊าซ หรือคนงานบรรจุก๊าซ |
กฎกระทรวงกำหนดมาตรการความ
ปลอดภัยเกี่ยวกับหม้อน้ำ หม้อต้มที่ใช้
ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน และภาชนะ
รับแรงดันในโรงงาน พ.ศ. 2549 กฎกระทรวงกำหนดให้มีคนงานซึ่งมี ความรู้เฉพาะเพื่อปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับ การใช้ เก็บ ส่ง และบรรจุก๊าซประจำ โรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นทะเบียน เป็นคนงานควบคุมก๊าซ คนงานส่งก๊าซ และคนงานบรรจุก๊าซประจำโรงงาน พ.ศ. 2551 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักสูตรคนงานควบคุม ส่ง และบรรจุก๊าซประจำโรงงาน พ.ศ. 2553 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นทะเบียน เป็นผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมและการออก หนังสือรับรองการฝึกอบรมหลักสูตร คนงานควบคุม ส่ง และบรรจุก๊าซประจำ โรงงาน พ.ศ. 2554 |
สำหรับคนงานควบคุมก๊าซ หรือผู้ซึ่ง
มีหน้าที่ควบคุมดูแลการใช้และการเก็บ
ก๊าซในภาชนะบรรจุก๊าซ หรือ คนงานส่งก๊าซ หรือผู้ซึ่งมีหน้าที่ ส่งหรือขนส่งก๊าซที่อยู่ในภาชนะบรรจุ ก๊าซ หรือ คนงานบรรจุก๊าซ หรือผู้ซึ่งมี หน้าที่บรรจุก๊าซลงในภาชนะบรรจุก๊าซ |
2. ผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน |
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับ
หม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลว
เป็นสื่อนำความร้อน พ.ศ. 2549 ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง หลักสูตรผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อ นำความร้อน |
สำหรับผู้ควบคุมประจำหม้อน้ำ และหม้อต้มฯ |
3. ความปลอดภัยในการทำงาน
สำหรับผู้ปฏิบัติงานในสถานที่เก็บ
รักษาสารเคมีและวัตถุอันตราย
ในหัวข้อ - การจำแนกประเภทสำหรับ จัดเก็บข้อมูลความปลอดภัย และวิธีการจัดเก็บ - วิธีการใช้อุปกรณ์เครื่อง ป้องกันส่วนบุคคล - วิธีปฏิบัติเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน และการซ้อมปฏิบัติงาน แผนฉุกเฉิน - วิธีดับเพลิงโดยใช้เครื่อง ดับเพลิง - การฝึกอบรมพนักงานขับรถยก - การจัดการเมื่อมีเหตุรั่วไหล |
ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง คู่มือการเก็บรักษาสารเคมี และวัตถุอันตราย พ.ศ. 2550 | สำหรับผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ เก็บรักษาสารเคมีและวัตถุ อันตราย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง |
4. ผู้ควบคุมระบบทำความเย็น | กฎกระทรวงกำหนดมาตรการความ ปลอดภัยเกี่ยวกับระบบทำความเย็น ที่ใช้แอมโมเนียเป็นสารทำความเย็น ในโรงงาน พ.ศ. 2554 | สำหรับผู้ควบคุมดูแลการทำงาน ประจำระบบทำความเย็น |
เราพร้อมให้คำปรึกษา และออกแบบหลักสูตรฝึกอบรมให้สอดคล้องกับงบประมาณให้กับคุณ
อบรมหลักสูตร Inhouse
อบรมอินเฮ้าส์ In house อบรมจปอินเฮ้าส์ พร้อมให้บริการแล้ว 77 จังหวัด ทั่วไทย
อบรมจปหัวหน้างานอินเฮ้าส์
อบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานอินเฮ้าส์
อบรมจปบริหารอินเฮ้าส์
อบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารอินเฮ้าส์
อบรมจปเทคนิคอินเฮ้าส์
อบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคอินเฮ้าส์
อบรมคปออินเฮาส์
อบรมคณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงานอินเฮ้าส์
อบรมหลักสูตรอื่นๆ
อบรมหลักสูตรด้านความปลอดภัยอื่นๆ
สิ่งที่ได้รับหลังผ่านการอบรม
เมื่อมาอบรมกับเราท่านจะได้รับ
ใบประกาศวุฒิบัตรผ่านการอบรม
หรือใบเซอร์
อย่างเป็นทางการ 1 ฉบับ/ท่าน