นายจ้างต้องรู้นายจ้างต้องทำในกฎกระทรวงการจัดให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน- เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี 2567          คลิกที่นี่

บทความ

นายจ้างต้องรู้นายจ้างต้องทำในกฎกระทรวงการจัดให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน



นายจ้างต้องรู้!
สิ่งที่นายจ้างต้องทำในกฎกระทรวง

อัปเดตกฎกระทรวง หมวดที่ 1





หมวด1

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน





          ข้อ 4 นายจ้างของสถานประกอบกิจการประเภทที่ระบุในบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้ ต้องจัด ให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน เว้นแต่เป็นสถานประกอบกิจการประเภทที่มีจํานวนลูกจ้างไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน
          เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานในสถานประกอบกิจการที่นายจ้างต้องจัดให้มีตามวรรคหนึ่งจะเป็นประเภทใดหรือระดับใด ให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในหมวดนี้

          ข้อ 5 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานมีสองประเภท ดังต่อไปนี้
         (1) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานโดยตําแหน่ง 
         (2) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานโดยหน้าที่เฉพาะ




ส่วนที่ 1 

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานโดยตําแหน่ง

         ข้อ 6 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานโดยตําแหน่งมีสองระดับ ดังต่อไปนี้ 
        (1) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน 
        (2) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร

          ข้อ 7 นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และบัญชี 2 ที่มีลูกจ้างจํานวน 
สองคนขึ้นไป และสถานประกอบกิจการตามบัญชี 3 ที่มีลูกจ้างจํานวนยี่สิบคนขึ้นไป ต้องจัดให้ลูกจ้าง ระดับหัวหน้างานซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 8 ทุกคน
เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับ หัวหน้างานของสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่มีลูกจ้างครบจํานวน ดังกล่าว

          ในกรณีที่ลูกจ้างระดับหัวหน้างานไม่มีคุณสมบัติตามข้อ 8 ให้นายจ้างดําเนินการให้ลูกจ้างนั้น เข้ารับการฝึกอบรมตามข้อ 8 (1) เพื่อแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับ หัวหน้างาน ทั้งนี้ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่นายจ้างแต่งตั้งให้เป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างาน
          ข้อ 8 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างานต้องเป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างาน และมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
          (1) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างาน
          (2) เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับหัวหน้างานตามกฎกระทรวงกําหนด มาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2549
          (3) มีคุณสมบัติตามข้อ 15 ข้อ 18 หรือข้อ 21 แล้วแต่กรณี
         

          ข้อ 10 นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และบัญชี 2 ที่มีลูกจ้างจํานวน สองคนขึ้นไป และสถานประกอบกิจการตามบัญชี 3 ที่มีลูกจ้างจํานวนยี่สิบคนขึ้นไป ต้องจัดให้ลูกจ้าง ระดับผู้บริหารซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 11 ทุกคน เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับ บริหารของสถานประกอบกิจการ ทั้งนี้ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่มีลูกจ้างครบจํานวนดังกล่าว

          ในกรณีที่ลูกจ้างระดับผู้บริหารไม่มีคุณสมบัติตามข้อ 11 ให้นายจ้างดําเนินการให้ลูกจ้างนั้น เข้ารับการฝึกอบรมตามข้อ 11 (1) เพื่อแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับ บริหาร ทั้งนี้ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่นายจ้างแต่งตั้งให้เป็นลูกจ้างระดับผู้บริหาร

          ข้อ 11 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหารต้องเป็นลูกจ้างระดับผู้บริหาร และมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
          (1) ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหาร
          (2) เคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหารตามกฎกระทรวงกําหนด มาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทํางาน พ.ศ. 2549
          (3) มีคุณสมบัติตามข้อ 21 ข้อ 12 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับบริหารมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ 
          (1) กํากับดูแลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานทุกระดับซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของตน
          (2) เสนอแผนงานหรือโครงการด้านความปลอดภัยในการทํางานในหน่วยงานที่รับผิดชอบ ต่อนายจ้าง
          (3) ส่งเสริม สนับสนุน และติดตามการดําเนินงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทํางาน ให้เป็นไปตามแผนงานหรือโครงการ เพื่อให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยในการทํางานที่เหมาะสมกับ สถานประกอบกิจการ
          (4) กํากับดูแลและติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยในการทํางานของ ลูกจ้างตามที่ได้รับรายงานหรือตามข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางาน คณะกรรมการความปลอดภัย หรือหน่วยงานความปลอดภัย

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน จป คอมพิวเตอร์ อบรมจปออนไลน์
อบรมจป.-คปอ.ออนไลน์ สมาชิกจ่ายเพียง 1000.- จองอบรมตอนนี้

Comments


businessman

โปรโมชัน
อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย

อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย ในราคาสุดคุ้ม! โปรโมชั่นลดสูงสุด 30% เฉพาะเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2567

บทความล่าสุด
อัปเดตวิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

อัปเดต! วิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

ประกาศจากกรมสวัสดิการล่าสุด

ประกาศจาก กสร. เรื่องการเทียบเท่าวุฒิไม่ต่ำกว่า ป.ตรี อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

บทความยอดนิยม
อุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงาน,อันตรายจากการทํางาน มีอะไรบ้าง,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก รถโฟล์คลิฟท์ forklift 2564

นายจ้างต้องรู้! กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก 2564

แบ่งปัน
ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai