การสำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงาน เบื้องต้น
(Walk Though Survey)
เป็นการสำรวจสภาพพื้นที่การทำงาน และลักษณะการทำงาน เพื่อชี้บ่งสภาพแวดล้อมในการทำงานประเภทใดที่อาจเป็นสิ่งคุกคาม ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่
- สภาพแวดล้อมทางเคมี
- สภาพแวดล้อมทางกายภาพ
- สภาพแวดล้อมทางชีวภาพ
- สภาพแวดล้อมทางการยศาสตร์ (Ergonomics)
- สภาพแวดล้อมทางกายภาพ
- สภาพแวดล้อมทางชีวภาพ
เพื่อกำหนดพื้นที่การทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงานและพารามิเตอร์แต่ละประเภท
จำนวนตัวอย่าแบบงพื้นที่ (Area
Simple) และตัวอย่างที่ตัวบุคคล (Personal Simple)
ที่จะดำเนินการตรวจวัดและประเมินผลเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดตามกฎหมาย,
มาตรฐานของสถาบันหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง เช่น OSHA, NIOSH, ACGIH
การตรวจวัดและประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงาน
(Working Environmental)
ดำเนินงานตามหลักวิชาการด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม
โดยการสำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงานเบื้องต้นเพื่อค้นหาสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ กำหนดให้มีการตรวจวัด,
วิเคราะห์และประเมินผลเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานตามกฎหมายหรือมาตรฐานตามข้อแนะนำของสถาบันหรือองค์กรที่เป็นที่ยอมรับ
จัดทำรายงานให้ข้อคิดเห็นและเสนอแนะเพื่อการควบคุมป้องกันต่อไป สภาพแวดล้อมในการทำงาน ได้แก่
ความร้อน (Heat Stress)
ตรวจวัดด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีคุณลักษณะตามมาตรฐาน ISO 7243 ISO 8996
แสงสว่าง (Light)
ตรวจวัดค่าเฉลี่ยความเข้มของแสงสว่างบริเวณพื้นที่ทั่วไปและบริเวณการผลิตภายในสถานประกอบกิจการ
เสียง (Noise)
ตรวจวัดเพื่อประเมินระดับเสียงที่อาจมีผลกระทบต่อระบบการได้ยินของผู้ปฏิบัติงาน
สารเคมี (Chemical Agents)
การตรวจวัดเพื่อประเมินปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีในสภาพแวดล้อม
การตรวจวัดด้านชีวภาพ
การตรวจวิเคราะห์ปริมาณจุลินทรีย์ในอากาศ
การตรวจวัดและประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคาร
(Indoor Air Quality)
คุณภาพอากาศภายในอาคารที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลกระทบกับสุขภาพอนามัย
หรือเกิดอาการเจ็บป่วยของผู้ใช้อาคารจำเป็นจะต้องมีการบริหารจัดการเพื่อควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคารอย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ
พารามิเตอร์ที่ใช้เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศในอาคาร ได้แก่
อุณหภูมิ
ความชื้นสัมพัทธ์
ความเร็วลม
ปริมาณความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
ปริมาณความเข้มข้นของคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
ปริมาณความเข้มข้นของฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde)
ปริมาณความเข้มข้นของไอระเหยอินทรีย์ทั้งหมด (TVOC)
ปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นละอองอนุภาคขนาดเล็ก 2.5 ไมครอน (PM2.5), 10 ไมครอน (PM10)
ปริมาณแบคทีเรียรวมในอากาศ
ปริมาณเชื้อรารวมในอากาศ
ปริมาณความเข้มข้นของไนโตรเจนไดออกไซด์(NO2)
ปริมาณความเข้มข้นของโอโซน (O3)
ปริมาณไรฝุ่น (สารก่อภูมิแพ้)
อื่น ๆ
พารามิเตอร์พิเศษเฉพาะพื้นที่
การประเมินสภาพการทำงานด้านการยศาสตร์ (Ergonomics)
เพื่อประเมินสภาพการทำงานในลักษณะงานต่าง ๆ ทั้งงานในสำนักงาน,ในกระบวนการผลิตหรือกระบวนการทำงานที่มีท่าทางการทำงาน, การใช้ส่วนของร่างกายทำงานไม่เหมาะสมและต่อเนื่องที่อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้ทำงาน เช่น เกิดการเมื่อยตัว, บาดเจ็บกล้ามเนื้อ, เกิดภาระบาดเจ็บสะสมจากการทำงาน เป็นต้น รูปแบบการประเมินพิจารณาให้เหมาะสมกับลักษณะการทำงาน ได้แก่
แบบประเมินท่าทางร่างกายส่วนบน RULA
(Rapid Upper Limb Assessment)
แบบประเมินท่าทางร่างกายทั้งลำตัว REBA
(Rapid Entire Body
Assessment)
แบบประเมินความเสี่ยงในการทำงานกับคอมพิวเตอร์
(A proposed RULA for
computer users)
แบบประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ด้วยวิธีการ ROSA
(Rapid Offices
Strain Assessment)
การตรวจวัดและประเมินสภาพการทำงานในสถานที่อับอากาศ
(Inspection&Evaluation in Confine
Spaces)
เพื่อตรวจวัดและประเมินสภาพอากาศในที่อับอากาศและลักษณะการทำงานที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายและชีวิตของผู้ปฏิบัติงาน โดยการตรวจประเมิน
- การเตรียมความพร้อมของการทำงานในที่อับอากาศ
- ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
- การตรวจวัดปริมาณออกซิเจน
- การตรวจวัด % การระเบิด (% LEL)
- การตรวจวัด % ก๊าซที่ทำให้เกิดการระเบิด
- สภาพแวดล้อมทางชีวภาพ
การประเมินผลเปรียบเทียบกับมาตรฐานตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547, มาตรฐานตามข้อกำหนด ของ OSHA หรือตามข้อเสนอแนะของ NIOSH
การตรวจวัดและประเมินระบบระบายอากาศและห้องสะอาด
เพื่อประเมินระบบระบายอากาศในพื้นที่การทำงานจัดไว้ให้เหมาะสมมีประสิทธิภาพเพียงพอแต่ละลักษณะงานอย่างไร โดยการตรวจวัดและประเมิน
ระบบระบายอากาศ (Ventilation)
การระบายอากาศโดยทั่วไปในพื้นที่การทำงาน, ตรวจวัดความเร็วลมเฉลี่ย,
ทิศทางการไหลของอากาศ
ตรวจวัดและประเมินประสิทธิภาพของระบบระบายอากาศเฉพาะแห่ง (Local Exhaust Ventilation),
ความเร็วลมหน้า Hood, ใน
Duct, อัตราการไหลของอากาศ
ตรวจวัดและประเมินอัตราการไหลเวียนอากาศ (Air Change per Hour) ในพื้นที่การทำงาน
ตรวจวัดและประเมินประสิทธิภาพของตู้ดูดควัน (Fume Hood) ในห้องปฏิบัติการ
การประเมินผลเปรียบเทียบกับมาตรฐาน ภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522,
มาตรฐานตามข้อเสนอแนะของ ASHRAE,
มาตรฐานตามข้อกำหนดของ OSHA และสถาบันหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
ห้องสะอาด (Clean Room)
ตรวจวัดและประเมินระดับความสะอาดของห้องสะอาด (Clean Room)
ตรวจสอบการไหลเวียนของลมสะอาด (Airflow Tests)
ตรวจสอบอนุภาคฝุ่นและมวลสารภายในห้องสะอาด (Cleanliness Classification Tests)
ตรวจสอบแรงดันอากาศภายในห้องสะอาด (Room Pressurization Test)
ตรวจสอบอุณหภูมิและความชื้นภายในห้องสะอาด (Temperature and Humidity Test)
มาตรฐานที่ใช้ประเมินคุณลักษณะของห้องสะอาด
มาตรฐาน Federal Standard 209E เช่น Class 100, 1000, 10,000, 100,000
มาตรฐาน ISO Standard 14644-1 เช่น ISO Class 5, 6, 7, 8
การตรวจวัดและประเมินคุณภาพบรรยากาศทั่วไป
การตรวจวัดและประเมินคุณภาพบรรยากาศทั่วไปเพื่อการเฝ้าระวัง
เสียงรบกวน
ระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง(Leq 24 Hour) และระดับเสียงสูงสุด (Lmax) ระดับเสียงของยานพาหนะ
ระดับเสียงของยานพาหนะ
ปริมาณความเข้มข้นฝุ่นละออง
ขนาดไม่เกิน 100 ไมครอน (TSP), ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10),ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)
ปริมาณสารมลพิษทางอากาศ
ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟด์,ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์,ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ , ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์, ก๊าซโอโซน
ปริมาณสารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compounds)
ตามประกาศกรมควงคุมมลพิษ เช่น อะซิทัลดีไฮด์ อะครอลีน,อะคริโลไนไตรล์,เบนซีนคลอโรฟอร์มและอื่น ๆ
การตรวจวัดและประเมินปริมาณสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน
สารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน โดยออกจากปล่อง หรือช่อง
หรือท่อระบายอากาศของโรงงานไม่ว่าจะผ่านระบบบำบัดหรือไม่ก็ตาม
การตรวจวัดใช้วิธีการที่องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา(United States
Environmental
Protection Agency: US-EPA)กำหนดไว้
หรือใช้วิธีตามมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าที่กรมควบคุมมลพิษเห็นชอบ
ปริมาณสารเจือปนที่การตรวจวัดและประเมิน ได้แก่
ก๊าซ คลอรีน (Chlorine), ไฮโดรเจนคลอไรด์ (Hydrogen chloride), กรดกำมะถัน (Sulfuric acid), คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide), ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide), ออกไซด์ของไนโตรเจน (Oxides of - Nitrogen)
การตรวจสอบคุณภาพน้ำ
ตรวจสอบคุณภาพน้ำบริโภค ตามข้อกำหนดของกฎหมายหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น
ตามผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค
น้ำดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
น้ำบาดาลที่ใช้บริโภค
ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำประปาดื่มได้สของกรมอนามัย
การตรวจสอบประกอบด้วยคุณลักษณะและดัชนีคุณภาพน้ำที่กำหนดแตกต่างกันไป เช่น
ทางกายภาพ
สี (Color), รส (Taste), กลิ่น (Odour),ความขุ่น (Turbidity), ความเป็นกรด-ด่าง (pH)
ทางเคมี
ปริมาณสารทั้งหมด,คราบกระด้างทั้งหมด,โลหะและสารเป็นพิษ
ทางจุลชีววิทยา
Standard Plate Count, MPN, E.coli, Coliform Bacteria, Disease-causing Bacteria
ตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งตามข้อกำหนดของกฎหมายหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น
มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม
มาตรฐานน้ำทิ้งลงบ่อน้ำบาดาล
มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด
มาตรฐานน้ำทิ้งจากที่ดินจัดสรร
มาตรฐานควบคุมการระเหยน้ำทิ้งจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
มาตรฐานน้ำทิ้งจากแหล่งเฉพาะอื่น ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
การตรวจสอบประกอบด้วยคุณลักษณะและดัชนีคุณภาพน้ำที่กำหนดแตกต่างกันไปแต่ละมาตรฐาน
ทางกายภาพ
ความเป็นกรด-ด่าง (pH), อุณหภูมิ (Temperature),สี (Color)
ทางเคมี
ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด,ของแข็งแขวงลอยทั้งหมด,ปริมาณตะกอนหนัก,BOD,ซัลไฟด์,ไซยาไนด์,น้ำมันและไขมัน,TKN,โลหะหนัก
ทางจุลชีววิทยา
Total Coliform Bacteria, Fecal Coliform Bacteria
เราพร้อมให้คำปรึกษา และออกแบบหลักสูตรฝึกอบรมให้สอดคล้องกับงบประมาณให้กับคุณ
อบรมหลักสูตร Inhouse
อบรมอินเฮ้าส์ In house อบรมจปอินเฮ้าส์ พร้อมให้บริการแล้ว 77 จังหวัด ทั่วไทย
อบรมจปหัวหน้างานอินเฮ้าส์
อบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานอินเฮ้าส์
อบรมจปบริหารอินเฮ้าส์
อบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหารอินเฮ้าส์
อบรมจปเทคนิคอินเฮ้าส์
อบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคอินเฮ้าส์
อบรมคปออินเฮาส์
อบรมคณะกรรมการความปลอดภัยในการทำงานอินเฮ้าส์
อบรมหลักสูตรอื่นๆ
อบรมหลักสูตรด้านความปลอดภัยอื่นๆ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
เราพร้อมให้คำปรึกษา
และมอบคำแนะนำหลักสูตรดีๆให้กับคุณ
โทร
033-166121