การปฐมพยาบาลและการกู้ชีพเบื้องต้น (First Aid & CPR Basic)
.jpg)
เหตุการณ์ฉุกเฉินทางสุขภาพจากภัยพิบัติอุบัติเหตุหรือการป่วยรุนแรง ส่งผลให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสิ่งสำคัญเร่งด่วนคือผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ขณะนั้นสามารถทำการกู้ชีพและปฐมพยาบาลอย่างถูกต้อง รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วย หรือผู้บาดเจ็บที่หมดสติหยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้น จากสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ เช่น ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จมน้ำ การทำงานในที่อับอากาศ ไฟฟ้าช็อต อุบัติเหตุทางท้องถนน หรือผู้ป่วยจากอาการของโรคที่มีอาการรุนแรง ซึ่งในช่วงเวลาสั้นๆ เมื่อเกิดการหยุดหายใจเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญมาก ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตหรือสมองตายหากสมองขาดออกซิเจนนานเกิน 4 - 6 นาที การช่วยชีวิต ณ จุดเกิดเหตุอย่างถูกต้องและรวดเร็วจะช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิต หรือยืดระยะเวลาให้ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อไปยังทีมแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างปลอดภัย
หลักการของการช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardio Pulmonary Resuscitation:CPR) คือการช่วย ให้เกิดการไหลเวียนของเลือดในร่างกายเพื่อป้องกันภาวะสมอง หัวใจ และเนื้อเยื่อของอวัยวะสำคัญ ขาดออกซิเจน ด้วยการกดหน้าอกและการช่วยหายใจในช่วงที่ผู้ป่วยหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น การช่วยฟื้นคืนชีพด้วยการกดหน้าอกจะช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้ร้อยละ 3 – 5 กรณีที่ใช้เครื่องฟื้น คืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติหรือเครื่อง เออีดี(Automated External Defibrillator: AED) ร่วมด้วยจะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้สูงขึ้นถึงร้อยละ 45-50 ปัจจุบันมักพบเครื่องเออีดี ติดตั้งอยู่ตามสถานที่สำคัญต่างๆ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการช่วยชีวิตผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที การช่วยฟื้นคืนชีพ การใช้เครื่องเออีดีและการปฐมพยาบาลฉุกเฉิน จึงเป็นความรู้ขั้นพื้นฐาน ที่ประชาชนคนไทยทุกคนต้องได้รับการอบรม หรือเรียนรู้เพื่อเพิ่มโอกาสรอดของผู้ป่วยผู้บาดเจ็บ
.jpg)



ใบประกาศวุฒิบัตรผ่านการอบรม
การปฐมพยาบาลและการกู้ชีพเบื้องต้น (First Aid & CPR Basic)
ท่านสามารถค้นหาหลักสูตรการปฐมพยาบาลและการกู้ชีพเบื้องต้น (First Aid & CPR Basic)
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เหตุการณ์ฉุกเฉินทางสุขภาพจากภัยพิบัติอุบัติเหตุ หรือ การป่วยรุนแรง ส่งผลให้เกิดภาวะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสิ่งสำคัญเร่งด่วนคือ การปฐมพยาบาลอย่างถูกต้อง เพื่อช่วยผู้ป่วย หรือผู้บาดเจ็บที่หมดสติหยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้น จากสถานการณ์ฉุกเฉิน


สิ่งที่ต้องเตรียมมาในวันที่อบรม

1. เอกสารหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
( ฉบับจริง )

2. บัตรประชาชน/ใบขับขี่
( เพื่อตรวจสอบรายชื่อ )

3. โทรศัพท์มือถือ
( เพื่อทำข้อสอบแบบออนไลน์ )

หลักการและเหตุผล
ความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ เป็นสิ่งที่องค์กรต่าง ๆ ควรให้ความรู้กับพนักงานเป็นอย่างมาก เพราะเรื่องความเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ แม้บางครั้งเราจะมีมาตรการดูแลเรื่องความปลอดภัยเป็นอย่างดี แล้วก็ตาม ดังนั้นการจัดการระบบส่งเสริมความรู้เรื่องระบบการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพจึงเป็นความสำคัญในการสร้างความรู้สึกปลอดภัย และความภาคภูมิใจในสถานที่ทำงาน ในการช่วยกันดูแลพนักงานที่เกิดความเจ็บป่วยและเกิดอุบัติแบบกระทันหัน ก่อนการช่วยชีวิตจากทางการแพทย์และพยาบาลต่อไป
วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะในการปฐมพยาบาล สามารถช่วยเหลือตนเองและบุคคลใกล้ตัวได้อย่างปลอดภัยก่อนถึงโรงพยาบาล
2) เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถพัฒนาศักยภาพในด้านการดูแลสุขภาพตนเองของบุคลากร
เนื้อหาหลักสูตร
1) การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First Aid) เป็นหลักสูตรสอนการปฐมพยาบาลระดับพื้นฐานที่พนักงานทุกคนสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้เบื้องต้นอย่างมืออาชีพ
2) การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) การช่วยเหลือด้วยการฟื้นคืนชีพ จากวิทยากรมืออาชีพที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้จริง พร้อมปฏิบัติจริง
3) work shop การฝึกปฏิบัติการปฐมพยาบาลและการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)
ตารางกำหนดการฝึกอบรม
วัน/เวลา |
กำหนดการฝึกอบรม |
---|---|
วันที่ 1 | เนื้อหาการบรรยาย |
08:30 - 09:00 | - ลงทะเบียน/ทดสอบก่อนการอบรม |
Session 1 | หลักการปฐมพยาบาลทั่วไป (First Aid Principle) |
- การประเมินอาการของผู้เจ็บปวยเบื้องต้น | |
- การประเมินสถานการณ์และกลไกการบาดเจ็บการประเมินจุดเกิดเหตุ | |
- การประเมินความปลอดภัยของสถานการณ์และสภาพแวดล้อม | |
- การควบคุมสถานการณ์หรือร้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานเฉพาะ | |
- การประเมินระบบประสาทเบื้องต้นและสัญญาณชีพ | |
- ปฏิบัติการตรวจรางกายผู้เจ็บป่วยเบื้องต้น | |
Session 2 | การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ |
- ปฐมพยาบาลผู้ป่วยเป็นลม | |
- ปฐมพยาบาลผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว | |
- ปฐมพยาบาลผู้ป่วยจมน้ำ | |
- ปฐมพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน | |
- ปฐมพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง | |
- ปฐมพยาบาลผู้ป่วยภาวะชัก | |
- ปฐมพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะฉุกเฉิน | |
- ปฐมพยาบาลผู้ป่วยถูกงูกัด | |
Session 3 | การปฐมพยาบาลบาดแผล และการตกเลือด |
- โครงสร้างของผิวหนังชนิดของหลอดเลือดและการตกเลือด | |
- การปฐมพยาบาลบาดแผลชนิดต่างๆ | |
- การใช้ผ้าสามเหลี่ยมห้ามเลือด | |
- เทคนิคการใช้ผ้ายดในการห้ามเลือด | |
Session 4 | การปฐมพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูก |
- โครงสร้างของกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูก | |
- ลักษณะการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและข้อต่อ | |
- การปฐมพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ หรือข้อต่อ การหักของกระดูกชนิดต่างๆ | |
- แนวคิดในการเลือกเผือกชัวคราวชนิดต่างๆ | |
- การเข้าเฝือกชั่วคราวชนิดต่างๆ | |
Session 5 | หลักการปฐมพยาบาลทั่วไป (First Aid Principle) |
- การประเมินอาการของผู้เจ็บป่วยเบื้องต้น | |
- การประเมินสถานการณ์และกลไกการบาดเจ็บการประเมินจุดเกิดเหตุ | |
- การประเงินความปลอดภัยของสถานการณ์และสภาพแวดล้อม | |
- การควบคุมสถานการณ์หรือร้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานเฉพาะ | |
- การประเมินระบบประสาทเบื้องต้นและสัญญาณชีพ | |
- ปฏิบัติการตรวจร่างกายผู้เจ็บป่วยเบื้องต้น | |
08:30 - 09:00 | - ลงทะเบียน/ทดสอบก่อนการอบรม |
12:00 - 13:00 | พักเที่ยง |
Session 6 | ปฏิบัติการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน (Cardiopulmonary Resuscitation: CPR) |
- แนวทางและความสำคัญของการกู้ชีพขั้นพื้นฐาน | |
- ข้อบ่งชี้ในการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ | |
- ลำดับขั้นในการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (สำคัญ คือ A B C ซึ่งต้องทำตามลำดับคือ) | |
A - Airway: การเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง | |
B - Breathing: การช่วยให้หายใจ | |
C - Circulation: การนวดหัวใจเพื่อช่วยให้เกิดเลือดไหลเวียน | |
- วิธีและหลักการนวดหัวใจผายปอดปฏิบัติการกู้ชีพ (CPR) | |
- ขั้นตอนการนวดหัวใจผายปอดกู้ชีพ (CPR) | |
- การช่วยเหลือการหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น Cardiopulmonary resuscitation (CPR) | |
- การปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานผู้ใหญ่ (Adult CPR) | |
หมายเหตุ |
- พักเบรค (Coffee Break) เวลา 10.30 - 10.45 น., 14.45 - 15.00 น. - ผู้ที่จะได้รับวุฒิบัตรจะต้องเข้ารับการอบรมอย่างน้อยร้อยละ 90 ของเวลาทั้งหมดและ ผ่านการทดสอบหลังอบรม |
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์
สิ่งที่ได้รับหลังผ่านการอบรม

เมื่อมาอบรมกับเราท่านจะได้รับ
ใบประกาศวุฒิบัตรผ่านการอบรม
หรือใบเซอร์
อย่างเป็นทางการ 1 ฉบับ/ท่าน
บัตรประจำตัวผู้ผ่านการอบรม
ทางศูนย์อบรมของเรามีบัตรประจำตัว
สำหรับผู้ที่ผ่านการทดสอบ
ชำระค่าบัตรเพียง 250 บาท/ท่าน

ภาพบรรยากาศอบรม
อบรมด้านความปลอดภัยในการทำงานฯ และอบรมจป.
เน้นทำ Workshop
ให้ได้ลงมือทำจริงในห้องเรียน
ท่ามกลางบรรยากาศการเรียนที่เป็นกันเอง
เรียนรู้แบบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและ
สามารถนำไปใช้ได้จริงในการทำงาน

-ชลบุรี-ระยอง-สมุทรปราการ-เซฟตี้อินไทย-safetyinthai.jpg)
การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย (Safety Risk assessment)
การชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน ( Risk Assessment ) เป็นวิธีการและขั้นตอนที่ระบุลำดับความเสี่ยงของอันตรายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของงาน ที่ครอบคลุมขั้นตอนการทำงาน สถานที่ เครื่องจักร อุปกรณ์ บุคลากร ที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วย ความเสียหายต่อทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อม หรือสิ่งต่าง ๆ รวมกัน ในหัวข้อนี้จะอธิบายถึงหลักการ และวิธีการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย การอธิบายถึงความจำเป็นที่ต้องประเมินความเสี่ยงการประมาณระดับความเสี่ยงโดยคำนึงถึง ความรุนแรงและโอกาสที่จะเกิดอันตราย เพื่อนำมาพิจารณาว่าเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ และการวางแผนควบคุมความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้
- เพื่อทราบปัจจัยเสี่ยงอันตรายและการชี้บ่งอันตรายพร้อมการค้นหาอันตราย
- เพื่อฝึกปฏิบัติในการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (JSA) และการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน
- เพื่อกำหนดให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถจัดทำการวิเคราะห์งานและมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานของส่วนงาน แผนกที่ตนเองรับผิดชอบ

IN-HOUSE TRAINING
เราพร้อมให้คำปรึกษา
และมอบคำแนะนำหลักสูตรดีๆให้กับคุณ
โทร 091-2345669, 063-2681079, 097-2370949
เรามีบริการอาหารกลางวันและขนมเบรคให้ผู้เข้าอบรม
เฉพาะผู้ที่เข้ารับการอบรมในรูปแบบ Public Training
บริการดี อาหารอร่อย เมนูอาหารหลากหลาย กับบรรยากาศที่ดูสบายตาเหมือนได้มาพักผ่อน
พร้อมเจ้าหน้าที่
ยินดีให้บริการตลอดรับบริการให้เช่าสถานที่ อบรม-สัมมนา ประชุม, งานมงคล อื่นๆ








ลูกค้าของเรา
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)
.jpg)