การจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย - เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี สำหรับสมาชิก          คลิกที่นี่

บทความ

การจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย



"การจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ที่ชาวเซฟตี้ต้องรู้"

มาตรฐานการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
Occupational Safety and Health Risk Management System Standard

การจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ช่วยให้ลดการเกิดความเสี่ยงในการทำงาน ลดอัตราการเกิดความสูญเสียต่อทรัพย์สินและชีวิต

การชี้บ่งอันตราย

การชี้บ่งอันตราย หมายถึง กระบวนการค้นหาและแจกแจงองค์ประกอบของอันตราย ดังนั้น นายจ้างต้องเลือกใช้วิซีซื้บ่งอันตรายที่เหมาะสมให้ครอบคลุมทุกงาน ทุกกิจกรรม ทุกกระบวนการ ทุกวัสดุอุปกรณ์ และทุกสภาพพื้นที่ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและอาชีวอนามัยต่อลูกจ้าง ผู้รับเหมา ผู้เยี่ยมชม และบุคคลภายนอก

"การชี้บ่งอันตรายต้องทำอย่างไร"

  นายจ้างต้องกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ต้องทำการชี้บ่งอันตรายแต่ละวิธีให้ครอบคลุมทั้งสถานประกอบกิจการนายจ้างต้องจัดทำขั้นตอนการดำเนินงานในการชี้บ่ง และติตตามกฎหมายความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่เกี่ยวข้องกับสถานประกอบกิจการให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ คณะทำงานจัดการความเสี่ยง อาจเลือกใช้วิธีการชี้บ่งอันตรายวิธีใตวิธีหนึ่ง หรือหลายวิธีก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมตามลักษณะการประกอบกิจการ หรือลักษณะความเสี่ยงจากอันตรายที่ อาจเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการ ได้แก่ วิธี Job Safety Analysis (JSA) วิธี Checklist วิธี What If วิธี Hazard andOperability Studies (HAZOP) วิธี Failure Mode and Effect Analysis (FMEA) วิธี Fault Tree Analysis (FTA) หรือวิธี Event Tree Analysis (ETA)

  

"การชี้บ่งอันตรายต้องทำอย่างไร"

นายจ้างควรพิจารณาการจัดการความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ด้วย ได้แก่
การประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ (Ergonomics Risk Assessment) อาจใช้วิธี Rapid  Upper Limb Assessment (RULA) เพื่อประเมินท่าทางการทำงานของร่งกายส่วนบน วิธี Rapid Entire Body
Assessment (REBA) เพื่อประเมินทำทางการทำงานของร่างกาย ทั้งลำตัววิธี RULA for ComputerUsers
เพื่อประเมินท่าทางของร่างกายสำหรับ การปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์
การประเมินอันตรายต่อสุขภาพ (Health Hazard Assessment)

"การประเมินความเสี่ยง"

  ความเสี่ยง หมายถึง ระดับของอันตรายที่บ่งบอกว่ายอมรับได้หรือยอมรับไม่ได้
  การประเมินความเสี่ยง หมายถึง กระบวนการจัดระดับของอันตรายโดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ของ โอกาสที่จะเกิดความสูญเสียและผลของความรุนแรงจากความสูญเสีย ดังนั้น
ค่าความเสี่ยง = ค่าโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียของอันตราย x ค่าความรุนแรงจากความสูญเสียของอันตราย
  นายจ้างต้องนำองค์ประกอบของแต่ละอันตรายมาพิจารณาหาค่าโอกาสที่จะเกิด และค่าความรุนแรง เพื่อให้ทราบว่าอันตรายใดมีความเสี่ยงยอมรับได้ (ระดับความเสี่ยงล็กน้อยหรือปานกลาง) และความเสี่ยงยอมรับไม่ได้ (ระดับความเสี่ยงสูงหรือสูงมาก)

"การประเมินความเสี่ยง"

ในการประเมินความเสี่ยง ให้ใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาต่อไปนี้
- พิจารณาถึงโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียของอันตราย
- พิจารณาถึงความรุนแรงจากความสูญเสียของอันตราย

"การดำเนินการประเมินความเสี่ยง"

  การดำเนินการประเมินความเสี่ยงพิจารณาค่าโอกาสที่จะเกิดความสูญเสียของอันตรายและค่าความรุนแรงจากความสูญเสียของอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ให้ระบุลงในตารางการประเมินค่าความเสี่ยงซึ่งแบ่งค่าโอกาส
จะเกิดความสูญเสียของอันตรายและค่าความรุนแรงจากความสูญเสียของอันตราย จะได้ระดับความเสี่ยง ดังนี้
1) ความเสี่ยงยอมรับไม่ได้ แบ่งระดับความสี่ยงได้เป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับความเสี่ยงสูงมาก และระดับความเสี่ยงสูง
2) ความเสี่ยงยอมรับได้ แบ่งระดับความเสี่ยงด้เป็น 2 ระตับ ได้แก่ ระดับความเสี่ยงปานกลาง และระดับความเสี่ยงเล็กน้อย


"การจัดทำแผนจัดการความเสี่ยง"

นายจ้างต้องจัดทำแผนจัดการความเสี่ยง ซึ่งประกอบด้วยแผนลดความเสี่ยง และแผนควบคุมความเสี่ยง
- กรณีความเสี่ยงยอมรับไม่ด้ จะต้องจัดทำแผนลดความเสี่ยง ด้วยการเพิ่มมาตรการที่สามารถควบคุมป้องกัน ระงับ ยับยั้งองค์ประกอบของอันตรายนั้นได้
- กรณีความเสี่ยงยอมรับได้ จะต้องจัดทำแผนควบคุมความเสี่ยง โดยควบคุมมาตรการที่มีให้คงอยู่อย่างต่อเนื่อง

"การจัดทำแผนจัดการความเสี่ยง"

 กรณีความเสี่ยงยอมรับไม่ต้ ต้องพิจารณาเพิ่มมาตรการเพื่อลดระดับความเสี่ยงลงดังนี้
- ระดับความเสี่ยงสูงมาก ต้องหยุดกิจกรรมอันตรายนั้นและพิจารณาเพิ่มมาตรการลดระดับความเสี่ยงลงจนกว่าความเสี่ยงยอมรับได้ ด้วยการนำมาตรการลระตับความเสี่ยงไปจัดทำแผนลดความเสี่ยง
- ระดับความเสี่ยงสูง ให้พิจารณาเพิ่มมาตรการลดระดับความเสี่ยงลงอย่างเร่งด่วนจนกว่าความเสี่ยงยอมรับได้ ด้วยการนำมาตรการลดระดับความเสี่ยงไปจัดทำแผนลดความเสี่ยง

"การจัดทำแผนจัดการความเสี่ยง"

กรณีความเสี่ยงยอมรับได้ ให้พิจารณาดำเนินการดังนี้
- ระดับความเสี่ยงปานกลาง ให้พิจารณาควบคุมมาตรการที่มีอยู่ให้คงอยู่และดำเนินการอย่างต่อเนื่องด้วยการนำมาตรการที่มีอยู่ไปจัดทำแผนควบคุมความเสี่ยง
- ระดับความเสี่ยงเล็กน้อย ไม่ต้องจัดทำแผนควบคุมความเสี่ยง แต่ยังต้องมีกำรทบทวนความเสี่ยงตามความเหมาะสม


การกำหนดมาตรการเพื่อลดความเสี่ยง มีข้อพิจารณา ดังนี้

1) การขจัดอันตราย
2) การทดแทน
3) การควบคุมทางวิศวกรรม
4) การควบคุมเชิงบริหารจัดการ
5) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
 
นายจ้างต้องกำหนดผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผนเพื่อลดความเสี่ยง และแผนควบคุมความเสี่ยงของแต่ละอันตราย พร้อมทั้งกำหนดวันแล้วเสร็จของแผน
การประเมินความเสี่ยงทุกรายการ จะต้องดำเนินกำรทบทวนแผนจัดการความเสี่ยงเป็นประจำอย่างต่อเนื่องตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้



Comments


businessman

ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai