การตรวจสอบถังดับเพลิงเบื้องต้น ตามกฎหมาย - เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี สำหรับสมาชิก          คลิกที่นี่

บทความ

การตรวจสอบถังดับเพลิงเบื้องต้น ตามกฎหมาย



การตรวจสอบถังดับเพลิงเบื้องต้น ตามกฎกระทรวง 2566

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. 2552


โดยตามประกาศกฎกระทรวงนี้ได้บอกเรื่องการตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์สำหรับการป้องกันและระงับอัคคีภัย





1. เครื่องดับเพลิงชนิดมือถือ

   1.1 การตรวจสอบประจำเดือน
   (1) ชนิดของเครื่องดับเพลิงแบบมือถือติดถูกต้องตามประเภทของเชื้อเพลิงหรือไม่
   (2) มีสิ่งกีดขวางหรือติดตั้งในตำแหน่งที่เข้าถึงได้ยากหรือไม่ สังเกตเห็นได้ง่ายหรือไม่
   (3) ตรวจสอบกรณีที่เครื่องดับเพลิงแบบมือถือที่มีเกวัดความดันว่า ความดันขังอยู่ในสภาพปกติหรือไม่
   (4) ดูสภาพอุปกรณ์ประกอบว่ามีการชำรุดเสียหายหรือไม่
   1.2 การทดสอบ
   ทุก ๆ 5 ปี เครื่องดับเพลิงแบบมือถือจะต้องทดสอบการรับความดัน (hydrostatic test) เพื่อพิจารณาว่ายังสามารถใช้งานได้หรือไม่

การตรวจสอบถังดับเพลิงเบื้องต้น



6 วิธีการตรวจสอบถังดับเพลิง

1) ดูที่เข็มในมาตรวัด (Pressure Gauge) 

 เกจ์วัดแรงดัน ตรวจสอบว่าเข็มบนหน้าปัดชี้ไปที่สีเขียวเท่านั้น หากใช่ แสดงว่าถังดับเพลิงนี้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน เพราะเกจ์เป็นเครื่องตรวจสอบมาตรวัดแรงดัน หากเข็มชี้ไปในบริเวณสีแดง แสดงว่าถังดับเพลิงนั้นไม่สามารถใช้งานได้ โดยมี 2 กรณี ดังนี้ 
  • เข็มเกจ์ชี้ไปทางซ้าย หรือ Recharge แสดงว่า ถังมีแรงดันต่ำ หากต้องการใช้งานควรไปเติมแก๊สและเช็กแรงดันอีกครั้ง
  • เข็มเกจ์ชี้ไปทางขวา หรือ Overcharge แสดงว่า ถังมีแรงดันสูงผิดปกติ หากเจอถังดับเพลิงที่มีสภาพเช่นนี้ ควรรีบนำไปตรวจสอบโดยเร็ว เพราะเสี่ยงต่อการระเบิดอย่างมาก

2) ตรวจ สายฉีด หัวฉีด

ตัวสายควรอยู่ในสภาพที่แข็งแรง ไม่มีรอยแตก ฉีก หรือขาด มิเช่นนั้นแล้วสารเคมีอาจเกิดการรั่วซึมออกมาเมื่อใช้งานถัง ส่วนหัวฉีดควรตรวจสอบให้อยู่ในสภาพสะอาดเสมอ ไม่มีการอุดตันของฝุ่นหรือแมลงบริเวณหัวฉีด


3) ตรวจ สภาพบรรจุของถังดับเพลิง

ตรวจสอบสภาพภายนอก: ตรวจสอบว่าถังดับเพลิงไม่มีรอยแตกหรือชำรุดที่อาจทำให้เกิดการรั่วไหลหรือสูญเสีอิ เ ความประสิทธิภาพในการดับเพลิง
ตรวจสอบว่าส่วนต่าง ๆ ของถังดับเพลิงอยู่ในสภาพที่แข็งแรงและไม่มีการขาดหรือชำรุด


4) ตรวจสอบ คันบีบ

ควรอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ไม่หัก ไม่งอ ไม่ชำรุด ไม่เช่นนั้นแล้วจะไม่สามารถใช้งานถังดับเพลิงได้เลย เพราะคันบีบเป็นอุปกรณ์สำหรับกด เพื่อนำสารเคมีภายในตัวถังออกมาใช้ดับไฟ


5) สลักถังดับเพลิงและซีลล็อก 

สังเกตว่าสลักล็อกและซีลยังถูกล็อกอยู่ที่ตัวคันบีบ หากยังอยู่ในสภาพดี ไม่ฉีกขาด แสดงว่าถังยังไม่เคยถูกเปิดใช้มาก่อน และมีสารเคมีบรรจุไว้ภายใน พร้อมใช้งานได้ทันที


6) อายุการใช้งานถังดับเพลิง

ตรวจสอบว่าถังดับเพลิงยังไม่หมดอายุการใช้งานตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งสามารถพบได้ในป้ายสัญญาณหรือป้ายประกาศบนถังดับเพลิง
ถังดับเพลิงสีแดง ผงเคมีแห้ง 3-5 ปี ถังดับเพลิงสีเขียว สีอื่นๆ สารสะอาด และเคมีน้ำ 8-10 ปี


ถ้าไฟไหม้ หรือกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ให้ส่งไปตรวจสอบและบรรจุใหม่




ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2)


ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) หรือถังดับเพลิง Co2 ซึ่งดับไฟได้ 2 ประเภท ได้แก่ เพลิง class B และ C เมื่อฉีดใช้งานก๊าซที่ฉีดออกมาจะเป็นไอเย็นจัดคล้ายน้ำแข็งแห้ง ลดความร้อนของไฟได้ ไม่ทิ้งคราบ สกปรกเหมาะสำหรับการใช้งาน ในห้องเครื่องจักร Line การผลิต อุตสาหกรรมอาหาร
ถังดับเพลิงชนิดคาร์บอนไม่มีเกจความดัน

ข้อควรระวังในการใช้งานถังดับเพลิง Co2

การใช้ถังดับเพลิงCo2 ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นสารเคมี ถึงอย่างไรก็ยังมีอันตรายหากคุณใช้งานอย่างไม่ระมัดระวัง ข้อควรระวังที่คุณควรรู้จะมีอะไรบ้าง ตามไปชมกันเลย
1.ควรวางไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิไม่สูงมาก แสงแดดส่องเข้าไม่ถึง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนที่ไปกระตุ้น   ก๊าซCo2 อาจเกิดอันตรายได้
2.ไม่ควรจับปลายหัวฉีดก๊าซ Co2 ขณะใช้งานและ หลังใช้งานใหม่ๆ
3.ฟองหิมะของสาร Co2 เป็นอันตรายต่อผิวหนัง ทำให้ผิวหนังพองได้จากอุณหภูมิของสารเคมีที่เย็นจัด
4.ห้ามให้ก๊าซ Co2 เข้าตา และจมูก เพราะเป็นอันตรายต่อเยื่อบุตา และเยื่อบุโพรงจมูก อาจทำให้เกิดตาอักเสบถึง และมีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจได้
5.อย่าใช้ถังดับเพลิง Co2 ดับไฟที่เกิดกับน้ำมัน หรือจาระบี เพราะอาจเกิดการระเบิดได้

ผู้เฝ้าระวังไฟ Fire Watch Man
อบรมผู้เฝ้าระวังไฟ Fire Watch Man กับราคาสุดคุ้มจาก 1900.- ลดเหลือเพียง 1700.- เท่านั้น!!! จองอบรมตอนนี้

Comments


businessman

ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai