ข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO45001 2018 ที่องค์กรต้องดำเนินการ
ข้อกำหนดตามมาตรฐาน
ISO45001:2018 ที่องค์กรต้องทำ
ข้อที่ 1. SCOPE (ขอบเขต)
ข้อที่ 2. NORMATIVE REFERENCE (เอกสารอ้างอิง)
ข้อที่ 3. TERMS AND DEFINITIONS
ข้อที่ 4. CONTEXT OF THE ORGANIZATION (บริบทองค์องค์กร)
ข้อที่ 5. LEADERSHIP AND WORKER PARTICIPATION (ความเป็นผู้นำและการมีส่วนร่วม)
ข้อที่ 6. PLANNING (การวางแผน)
ในข้อกำหนดนี้ ให้องค์กรวางแผนการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 2 เรื่องหลักๆดังนี้ วางแผนดำเนินการจัดการความเสี่ยงและโอกาสด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ทั้งความเสี่ยงในองค์กร และความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมายและแผนการดำเนินการปฏิบัติโดยองค์กรต้องกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้ชัดเจน สอดคล้องกับ ความเสี่ยงและโอกาสขององค์กร รวมทั้งกำหนดแผนการดำเนินการ ทรัพยากรและผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน
ข้อที่ 7. SUPPORT (การสนับสนุน)
1) กำหนดทรัพยากรที่จำเป็นในการจัดทำระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ให้เพียงพอ เหมาะสม พร้อมใช้งานใน เช่น งบประมาณ บุคลากร อุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น
2) กำหนดความรู้ความสามารถบุคลากรทุกระดับทุกตำแหน่ง เพื่อที่จะดำเนินการตามระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่กำหนดไว้
3) การสร้างจิตสำนึกด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้กับบุคลากรในองค์กร โดยวิธีการที่เหมาะสมกับกลุ่มต่างๆ
4) จัดทำระบบการสื่อสาร ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยภายในองค์กรและภายนอกองค์กรให้สะดวก ทั่วถึง และมีการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
5) จัดทำเอกสาร สารสนเทศ ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องใช้ปฏิบัติตามระบบที่มีการออกแบบหรือวางระบบไว้ รวมทั้งต้องมีการควบคุมจัดการเอกสารสารสนเทศให้มีความทันสมัย
ข้อที่ 8. การปฏิบัติงาน (OPERATION)
1) การวางแผนและการควบคุมการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่เหมาะสมของหน่วยงานต่างๆในองค์กร โดยให้ใช้ข้อมูลของความเสี่ยงและโอกาสด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยขององค์กรเป็นฐานข้อมูลในการพิจารณา โดยเน้นการกำจัดอันตราย, และการลดความเสี่ยง,การบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลง,การจัดซื้อจัดจ้าง,การควบคุมผู้รับเหมาและการควบคุมผู้รับจ้างเหมาช่วง(OUTSOURCE)
2) การเตรียมความพร้อมการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉิน โดยในข้อนี้องค์กรต้องจัดทำมาตรการ การรับมือกับเหตุฉุกเฉินในรูปแบบต่างๆที่มีโอกาสเกิดขึ้นในองค์กร โดยเน้นทั้งมาตรการก่อนเกิดเหตุการณ์,ขณะเกิดเหตุการณ์และหลังเหตุการณ์สงบหรือยุติลง นอกจากนี้จะต้องมีการฝึกซ้อมแผนหรือมาตรการต่างๆ ให้เกิดทักษะและเกิดความชำนาญ
ข้อที่ 9. PERFORMANCE EVALUATION (การประเมินสมรรถนะ)
1) การติดตาม วัดผล การวิเคราะห์และการประเมินด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เพื่อทราบว่าสถานะต่างๆ อยู่ที่ระดับใดมีข้อจำกัด หรือปัญหาอุปสรรคอยู่ที่จุดใด การแก้ไขปัญหาจึงจะดำเนินการได้ทันท่วงทีและถูกต้องตรงประเด็น
2) การตรวจติดตามภายใน เพื่อให้รู้สถานะความครบถ้วนสมบูรณ์ของระบบการจัดการ
ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามข้อกำหนดทุกข้อ เพื่อที่จะได้นำข้อบกพร่องของระบบไปสู่การแก้ไข ต่อไป
3) การประชุมทบทวนการจัดการ โดยในข้อนี้ผู้บริหารสูงสุด และผู้บริหารทุกระดับจะต้อง ประชุมทบทวนผลการดำเนินงาน ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในทุกๆข้อที่ได้ดำเนินการ เพื่อให้ฝ่ายบริหารทราบถึงผลการดำเนินการ และความคืบหน้าต่างๆ โดยความถี่ของการประชุมขึ้นอยู่กับองค์กรเป็นผู้กำหนด รวมทั้งรูปแบบวิธีการ ประชุมด้วย เช่นกัน
ข้อที่ 10. INPROVEMENT (การปรับปรุง)
1) การดูผลลัพธ์ของระบบการบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหากไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดก็จะต้องตัดสินใจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อนำไปสู่การพัฒนา/ปรับปรุง ให้ดีขึ้น
2) การจัดการกับสิ่งที่เป็นข้อบกพร่อง,ปัญหา และความไม่สอดคล้องต่างๆ เช่นอุบัติเหตุ/อุบัติการณ์
เป็นต้น เพื่อเป้าหมายหลักคือการไม่ให้เกิดปัญหานี้เกิดขึ้นซ้ำ
3) การพัฒนาระบบอย่างสม่ำเสมอ โดยเน้นให้เหมาะสมกับองค์กรโดยทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นภาพรวมที่สำคัญๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในลำดับขั้นของการจัดทำระบบ รวมทั้งสรุปสาระสำคัญหลักๆ ที่มาตรฐานได้มีการกำหนดเอาไว้ หากต้องการที่จะจัดทำ ระบบตามมาตรฐาน ISO45001:2018 ผู้เขียนขอเสนอให้องค์กร ค้นหารายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกในการนำมาจัดวางระบบที่สมบูรณ์ต่อไป