คู่มือการปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน
คู่มือปฏิบัติเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน
การเจ็บป่วยฉุกเฉิน คืออะไร ?
การได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการเจ็บป่วยกะทันหัน ที่มีผลต่อชีวิตหรือการทำงานของอวัยวะสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการตรวจและรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรืออาการเจ็บป่วยบาดเจ็บรุนแรงขึ้น
![]()
โดยลักษณะอาการฉุกเฉินที่ควรแจ้งโทร 1669 คือ

1. หมดสติช๊อคสะลึมสะลือเรียกไม่รู้สึกตัว
2. เจ็บหน้าอกหายใจเหนื่อย
3. สิ่งแปลกปลอดอุดกั้นทางเดินหายใจ
4. ปากเบี้ยวแขนขาอ่อนแรง
5. ชักเกร็งกระตุก
6. ปวดท้องรุนแรง
7. ตกเลือดเลือดออกทางช่องคลอด
8. เจ็บท้องคลอด คลอดฉุกเฉิน
9. บาดเจ็บจากอุบัติเหตุเช่นรถชน จมน้ำ ไฟฟ้าช็อต ไฟไหม้ สัตว์มีพิษกัดต่อย
ขั้นตอนการแจ้งเหตุ 1669
![]()
ขั้นตอนการแจ้งเหตุ 1669
1. กดเบอร์ 1669 รายงานเหตุ
2. ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ
3. พาหนะฉุกเฉินออกปฏิบัติการ
4. ดูแลรักษาขณะนำส่ง
5. นำส่งโรงพยาบาล
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

![]()
กรณีบาดแผลฉีกขาด
1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดของผู้ป่วยโดยตรงเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
2. ทำการห้ามเลือดโดยใช้ผ้าสะอาดปิดบาดแผลไว้
3. สังเกตการเสียเลือดถ้าเลือดออกไม่หยุดให้ใช้ผ้ายือพัน
4. กรณีเป็นแผลที่แขน ขา และ ไม่มีกระดูกหักให้ยกส่วนนั้นให้สูง
![]()
กรณีบาดแผลอวัยวะถูกตัดขาด
1. เก็บอวัยวะที่ขาดใส่ถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่น
2. แช่ในภาชนะที่มีนํ้าผสม นํ้าแข็ง อีกชั้น
3. ห้ามเลือดบริเวณปลายอวัยวะที่ถูกตัดขาด
4. ห้ามแช่ลงไปในนํ้าแข็งโดยตรง


กรณีบาดแผลเกิดจากไฟไหม้นํ้าร้อนลวก
1. ถอดเสื้อผ้าและเครื่องประดับที่ถูกเผาไหม้ออก ถ้าไหม้ติดกับผิวหนัง เมื่อถอดอาจมีการดึงรั้งควรตัดเสื้อผ้าในส่วนนั้นออก
2. ใช้นํ้าสะอาดล้างแผลเพื่อทำความสะอาดลดอาการแสบร้อน
3. ห้ามใช้โลชั่น ยาสีฟันยาปฎิชีวนะทาบนแผลเพราะปิดกั้นการระบายและห้ามเจาะตุ่มพอง

กรณีแผลฉีกขาดกระดูกหัก
1. กรณีไม่มีบาดแผล ประคบด้วยนํ้าแข็ง บริเวณที่ปวดบวมผิดรูป เพื่อลดอาการตามกระดูกยืดตรึงส่วนที่หักให้อยู่นิ่งมากที่สุด
2. กรณีกระดูกหักแผลเปิดและกระดูกโผล่ ห้ามดันกระดูกกลับเข้าที่เด็ดขาดห้ามเลือดตามขั้นตอน
กรณีภาวะช็อก
1. ภาวะช็อกอาจเกิดจากการเสียเลือดมาก มีอาการ เช่น ซึม ซีด เหงื่อออก ตัวเย็น ชีพจรเบา หายใจเร็ว คลื่นไส้ อาเจียน กระหายนํ้า
2. จัดให้นอนในที่ราบ ยกขาสูง ห่มผ้าให้อุ่น คลายเสื้อผ้าให้หลวม ห้ามใช้อาหารหรือนํ้า จนกว่าทีมช่วยเหลือจะมาถึง
![]()

กรณีเกิดอุบัติเหตุรุนแรง หรือตกจากที่สูง
1. อุบัติเหตุรุนแรง
2. ตกจากที่สูง
อาจมีการหักของช่วงกระดูกสันหลังได้ ไม่ควรยกหรือเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ
![]()

กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ผู้ป่วยหอบหืด
1. นั่งให้สบายให้ผู้ป่วยนั่งในท่าที่สบายคลายเสื้อผ้าให้หลวม
2. อาการถ่ายเทพาไปยังที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก
3. ใช้ยาพ่นถ้าผู้ป่วยมียาพ่นให้ใช้ยาที่มีอยู่
4. โทรแจ้ง 1699 หากอาการไม่ดีขึ้นรีบโทรแจ้ง 1699
![]()

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
1. มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก เหมือนมีอะไรทับหรือบีบรัดนานกว่า 20 นาที
2. อาจร้าวไปที่ใบหน้า ปวดกรามร้าวมาถึงสะดือ ปวดจุกแน่นลิ้นปี่ ลามไปที่แขน ไหล่จนถึงปลายนิ้ว
3. มีอาการของระบบประสาท เช่น หายใจเหนื่อยนอนนาบไม่ได้เหงื่อออก ใจสั่น คลื้นไส้ อาเจียน หน้ามืด หมดสติ
4. เบื้องต้นให้นอนพักลดการเคลื่อนไหวโดยไม่จำเป็นและโทรแจ้ง 1669
5. สังเกตอาการอย่างใกล้ชิดถ้าพบว่าหมดสติหยุดหายใจให้กดนวดหัวใจตามวิธีการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและโทรแจ้ง 1669
![]()

ผู้ป่วยหลอดเลือดในสมองแตก/ตีบ/ตัน
1. มีอาการอ่อนแรง ชาบริเวณใบหน้า แขน ขา อ่อนแรง หรือชาครึ่งชีกของร่างกาย การพูดผิดปกติ เช่น ลิ้นคับปาก พูดไม่ชัด
อาการมักเกิดขึ้นทันทีทันใด รีบโทรแจ้ง 1669 โดยด่วน
2. ดูการตอบสนอง เรียกผู้ป่วย ดูว่าผู้ป่วยรู้สึกตัวหรือมีการตอบสนองหรือไม่
3. ความรู้สึกตัวลดลงหรือไม่รู้สึกตัวให้นอนตะแคงเพื่อป้องกันการสำลัก
4. นําตัวส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดภายใน 4 ชั่วโมง
![]()
