ทำความรู้จักการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต
ทำความรู้จักการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต
PSM (Process Safety Management) หรือ การจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต คือ การจัดการให้เกิดความปลอดภัย การป้องกันการเกิดอุบัติการณ์และการบาดเจ็บ ที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิตที่มีการใช้สารเคมีอันตรายร้ายแรง ซึ่งใช้มาตรการทางการจัดการ และพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมในการชี้บ่ง ประเมิน และควบคุมอันตรายจากกระบวนการผลิต รวมถึงการจัดเก็บ การออกแบบ การใช้ การผลิต การบํารุงรักษา การตรวจสอบ การทดสอบ และการขนส่งหรือเคลื่อนย้ายสารเคมีอันตรายร้ายแรงในเขตนิคมอุตสาหกรรม
1. เพื่อป้องกันควบคุม และ/หรือ ลดความสูญเสียจากอุบัติภัยร้ายแรง
มีทั้งการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน
2. เพื่อใช้มาตรการความปลอดภัยที่เหมาะสมกับลักษณะของอันตรายที่
มีอยู่ในกระบวนการผลิต ใช้สารเคมีอันตรายสูง จำปนต้องใช้เทกนิคเฉพาะ
และทีมที่มีความชำนาญ การทำ PSM จึงใช้เทคนิค อาทิ Checkist, What-If,
HAZOP, FMEA และ FTA
1. การมีส่วนร่วมของพนักงาน (Employee Participation)
2. ข้อมูลความปลอดภัยกระบวนการผลิต (Process Safety Information)
3. การวิเคราะห์อันตรายกระบวนการผลิต (Process Hazard Analysis) (PHA)
4. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Operating Procedures)
5. การฝึกอบรม (Training)
6. การจัดการความปลอดภัยผู้รับเหมา (Contractor
Management)
7. การทบทวนความปลอดภัยก่อนการเริมเดินเครื่อง (Pre-startup
Safety Review)
8. ความพร้อมใช้ของอุปกรณ์ (Mechanical Integrity)
9. การอนุญาตทำงาน ที่อาจทำให้เกิดความร้อนและประกายไฟ (Hot
Work Permit) และการอนุญาตทำงานพิเศษ Non-routine Work Permit)
10. การจัดการความเปลี่ยนแปลง (Management of Change)
11. การสอบสวนอุบัติการณ์ (Incident Investigation)
12. การเตรียมความพร้อมและการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (Emergency
Planning and Response)
13. การตรวจประเมินการปฏิบัติตามข้อกำหนด (Compliance Audits)
14. ความลับทางการค้า (Trade Seerets)
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้ออกข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 4 )และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6 ) สำหรับผู้ประกอบการที่ลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย