ทำงานในโรงงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอะไรบ้าง?(อุปกรณ์ส่วนบุคคล PPE)
"ทำงานในโรงงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอะไรบ้าง?"
ต้องสวมอะไรบ้าง? เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
กฎหมายให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐาน
พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
หมวด 2
การบริหาร การจัดการ และการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน มาตรา 22 ให้นายจ้างจัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐานตามที่อธิบดีประกาศกำหนดลูกจ้างมีหน้าที่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและดูแลรักษาอุปกรณ์ตามวรรคหนึ่งให้สามารถใช้งานได้ตามสภาพและลักษณะของงานตลอดระยะเวลาทำงานในกรณีที่ลูกจ้างไม่สวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว ให้นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดการทำงานนั้นจนกว่าลูกจ้างจะสวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว
PPE (Personal Protective Equipment)
อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ตัวช่วยป้องกันอุบัติเหตุและลดการสูญเสียระหว่างทำงาน
หมวกนิรภัย อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ (Head Protection Devices)
หมวกนิรภัย หรือหมวกเซฟตี้ ใช้สำหรับป้องกันของแข็งตกกระทบศีรษะ ส่วนใหญ่ตัวหมวกจะทำมาจากพลาสติกแข็ง โลหะ หรือไฟเบอร์กลาส (ใยแก้ว) มีสายรัดศีรษะที่สามารถปรับให้เหมาะสมกับศีรษะของผู้สวมใส่ได้ และสายรัดคาง
หมวกเซฟตี้แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ตามการใช้งาน ได้แก่
- หมวกเซฟตี้ประเภท A ทำมาจากพลาสติก หรือไฟเบอร์กลาส นิยมใช้งานกันทั่วไป เช่น งานก่อสร้าง งานในคลังสินค้า
- หมวกเซฟตี้ประเภท B ทำมาจากพลาสติก หรือไฟเบอร์กลาส สำหรับใช้งานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าแรงสูงโดยเฉพาะ
- หมวกเซฟตี้ประเภท C ทำมาจากโลหะ เหมาะสำหรับใช้ในพื้นที่ที่มีอากาศร้อน แต่ไม่ควรใช้กับงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า
- หมวกเซฟตี้ประเภท D ทำมาจากพลาสติก หรือไฟเบอร์กลาส เหมาะกับใช้ในงานดับเพลิง
นอกจากนั้นถ้าลองสังเกต หมวกเซฟตี้ ตามท้องตลาดมีหลายสี ซึ่งบางครั้งในหลายๆ โรงงาน ก็ใช้สีของหมวกเพื่อแยกตำแหน่งหน้าที่ของบุคคลากร
อุปกรณ์ป้องกันหู (Ear Protection)
อุปกรณ์เซฟตี้สำหรับป้องกันหู จะช่วยลดแรงกระแทกจากคลื่นเสียงที่อาจเป็นอันตรายกับแก้วหูและกระดูกหู เหมาะกับการใช้งานในอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมก่อสร้างที่ใช้เครื่องเจาะปูน
หรือใช้ในพื้นที่ที่มีเสียงดังอยู่ตลอดเวลา
อุปกรณ์เซฟตี้ป้องกันหู มี 2 แบบ คือ
ที่ครอบหู (Ear muff) มีลักษณะเป็นจุกยางเล็ก ๆ ใช้อุดเข้าไปในรูหู ที่ครอบหู (Ear muffs) ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ปิดครอบหูส่วนนอกหรือใบหูทั้งหมดเพื่อลดเสียง โดยประสิทธิภาพในการลดเสียงจะขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ ขนาด รูปทรง โครงสร้างอุปกรณ์และชนิดของสายคาด นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพของที่ครอบหูอีก เช่น นวมที่บุภายในด้วยของเหลวจะกันเสียงได้ดีกว่านวมพลาสติก หรือโฟม แต่มักประสบปัญหาคือรั่วไหลได้ง่าย
ที่อุดหู (Ear plug) มีลักษณะคล้ายหูฟังแบบไร้สายใช้ครอบหูทั้งสองข้าง ปลั๊กอุดหู (Ear plugs) เป็นอุปกรณ์ป้องกันเสียงชนิดสอดเข้าไปในรูหู (Insert Earplugs) เพื่อปิดกั้นเสียง สามารถแบ่งย่อยได้อีก 3 แบบ ดังนี้
1.ชนิดปั้นขึ้นรูป (Formable Earplugs) ส่วนใหญ่นิยมใช้กัน โดยมากทำจากโฟมที่สามารถยืดขยายตัวได้ เวลาใช้งานต้องใช้มือบีบโฟมให้มีขนาดเล็ก ๆ แหลม ๆ แล้วสอดเข้าไปในรูหู ถ้าต้องการใส่ให้ใส่ให้กระชับมากขึ้น ให้เอื้อมมือข้างหนึ่งข้ามศีรษะมาดึงใบหูขึ้น แล้วใช้อีกมือหนึ่งสอดปลั๊กอุดหูเข้าไปในรูหู ข้อดีของปลั๊กอุดหูชนิดนี้คือ ใส่แล้วกระชับกับรูหูของแต่ละบุคคล มีประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงได้ดีกว่าปลั๊กอุดหูชนิดอื่น ๆ ข้อเสียคือ ก่อนที่จะใช้งานต้องบีบก้อนโฟมให้มีขนาดและรูปร่างตามที่ต้องการ ซึ่งอาจทำให้สิ่งสกปรกที่ติดอยู่ที่มือนั้นปนเปื้อนไปที่ก้อนโฟม ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อในรูหูได้ โดยมากจึงเป็นประเภทใช้แล้วทิ้ง
2.ชนิดขึ้นรูปสำเร็จ (Pre-Molded Earplugs) ปลั๊กอุดหูชนิดนี้ จะเป็นแบบมาตรฐานที่ทำจากยางซิลิโคน หรือพลาสติกและมีก้านเสียบไว้ให้มือจับ จึงทำให้สามารถเข้าไปในรูหูของผู้ใช้ถึงแค่จุดหนึ่งเท่านั้น ถ้าหากรูหูของผู้ใช้มีลักษณะแตกต่างจากผู้ใช้คนอื่น ๆ มาก ก็จะทำให้รู้สึกว่าใส่ไม่พอเหมาะหรืออาจเกิดความรำคาญได้
3.ชนิดสั่งทำโดยเฉพาะ (Custom–Made Earplugs) เป็นปลั๊กอุดหูชนิดที่ทำขึ้น เพื่อใช้ให้เหมาะกับขนาดรูหูของแต่ละบุคคลโดยเฉพาะ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องวัดขนาดรูหูของผู้ปฏิบัติงานเสียก่อน
อุปกรณ์ป้องกันหู (Ear Protection)
แว่นนิรภัย สำหรับป้องกันดวงตาจากสารเคมี สะเก็ดไฟ เศษวัสดุ หรือเศษฝุ่น ส่วนใหญ่มักสวมใส่ขณะปฏิบัติงานในพื้นที่เขตก่อสร้าง งานเชื่อม-ตัดโลหะ หรืองานทดลองเกี่ยวกับสารเคมีเป็นแว่นครอบตา สำหรับใช้ในงานที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น เช่น งานเจียระไน งานสกัด/กระแทกวัตถุ งานเชื่อมหรือตัดโลหะ
ถุงมือนิรภัย (Hand Protection)
ถุงมือนิรภัย เป็นหนึ่งอุปกรณ์เซฟตี้ที่จำเป็นอย่างยิ่ง และที่สำคัญคือต้องเลือกถุงมือให้เหมาะสมตามลักษณะของงาน การทำงานในโรงงาน คลังสินค้า หรืองานก่อสร้าง ซึ่งต้องหยิบจับอุปกรณ์ต่างๆ อยู่ตลอดเวลา
ชนิดของถุงมือนิรภัยแบ่งตามลักษณะได้ดังนี้
ถุงมือใยหิน สำหรับป้องกันความร้อนหรือไฟ
ถุงมือใยโลหะ สำหรับงานที่ต้องหั่น ตัด หรือจับของมีคม
ถุงมือยาง สำหรับงานไฟฟ้า แต่ถ้าเป็นงานเกี่ยวกับไฟฟ้าแรงสูง ต้องสวมถุงมือหนังทับอีก 1 ชั้น
ถุงมือยางไวนีล/ถุงมือยางนีโอพรีน สำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี
ถุงมือหนัง สำหรับงานไม้ งานโลหะ งานขัดผิว แกะสลัก หรืองานเชื่อมที่ไม่ได้ใช้ความร้อนสูง
ถุงมือหนังเสริมใยเหล็ก สำหรับงานหลอมหรือถลุงโลหะ
ถุงมือผ้าแบบเคลือบน้ำยา สำหรับงานที่ต้องสัมผัสสารเคมีเล็กน้อย เช่น งานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
ถุงมือผ้า สำหรับงานทั่วไปที่ต้องหยิบจับสิ่งของ ใช้เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกหรือของมีคม
เสื้อนิรภัย (Body Protection Equipment)
เสื้อนิรภัย อุปกรณ์ป้องกันลำตัวใช้ป้องกันอันตรายจากสารเคมี ความร้อน ตะกั่ว หรือสะเก็ดไฟ ซึ่ง
เสื้อนิรภัยที่ใช้ในงานต่างชนิดกันก็ทำมาจากวัสดุต่างกันดังนี้
เสื้อนิรภัยป้องกันสารเคมี จะทำจากโพลีเมอร์ที่ทนต่อฤทธิ์ของสารเคมีได้
เสื้อนิรภัยกันความร้อน ทำจากผ้าทอเส้นใยแข็งเคลือบผิวด้านนอกด้วยอะลูมิเนียม ถ้าต้องการใช้เพื่อป้องกันการติดไฟ ต้องใช้เสื้อนิรภัยที่ชุบด้วยสารป้องกันไฟ
เสื้อนิรภัยตะกั่ว ทำจากผ้าใยแก้วฉาบผิวด้วยตะกั่ว ใช้สำหรับป้องกันร่างกายจากรังสีต่างๆ
เสื้อสะท้อนแสง ใช้สำหรับสวมใส่ทับเสื้อผ้าปกติ ในงานที่ทำในพื้นที่แสงสว่างน้อย ที่อับ หรือที่แคบ มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย โดยปกติแล้วเสื้อสะท้อนแสงจะมองเห็นได้ง่ายทั้งเวลากลางวันและกลางคืนมีหลากหลายสี เช่น สีเหลือง สีส้ม และสีเขียว
เสื้อนิรภัย (Body Protection Equipment)
รองเท้านิรภัยอุปกรณ์ป้องกันเท้าที่ออกแบบมาเพื่อลดแรงกระแทก ป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับนิ้วเท้า เท้า และข้อเท้า
รองเท้านิรภัย มีให้เลือกหลากหลายชนิด ตามความเหมาะสมของงาน
รองเท้านิรภัยแบบหัวโลหะ รับน้ำหนักตัวได้มากถึง 1,100 กิโลกรัม และทนแรงกระแทกของวัตถุที่หนักราวๆ 20 กิโลกรัมได้เป็นอย่างดี เหมาะกับผู้ทำงานก่อสร้าง
รองเท้านิรภัยแบบหุ้มข้อ
ทำจากยางธรรมชาติหรือยางสังเคราะห์ ใช้เป็นฉนวนเพื่อป้องกันกระแสไฟในงานไฟฟ้า
รองเท้านิรภัยแบบหุ้มแข้ง ใช้ในงานถลุงโลหะ
หลอมโลหะ และงานเชื่อมต่างๆ เพื่อ ป้องกันความร้อน
รองเท้านิรภัยแบบพื้นไม้
ใช้ในโรงงานที่พื้นเปียกชื้นตลอดเวลา เช่น โรงงานผลิตเบียร์
รองเท้าบูธยาง ทำจากไวนิล นีโอพรีน ยางธรรมชาติ
หรือยางสังเคราะห์ที่สามารถทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี
หมายเหตุ รองเท้านิรภัยจะต้องสวมใส่สะดวกและถอดออกได้ง่ายในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน
เสื้อนิรภัย (Body Protection Equipment)
หน้ากากนิรภัย เป็นอุปกรณ์สำหรับป้องกันระบบหายใจ สามารถใช้กรองอนุภาคแขวนลอยที่ปะปนอยู่ในอากาศ เช่น ฝุ่นควัน ฟูมโลหะ (อนุภาคของโลหะที่กระจายตัวอยู่ในอากาศ) ไอระเหยจากก๊าซหรือสารเคมี
สำหรับโรงงานที่มีฝุ่นละอองน้อย อาจใช้เป็นหน้ากากอนามัยหรือหน้ากาก N95 แทนได้ สำหรับโรงงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี สารระเหย หรือโรงงานที่พนักงานต้องเจอกับฝุ่นละอองตลอดเวลาที่ปฏิบัติหน้าที่ จำเป็นต้องใช้หน้ากากกันฝุ่นชนิดกรองอากาศแบบมีไส้กรอง จะมีประสิทธิภาพ
อุปกรณ์ป้องกันใบหน้า
อุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายบริเวณดวงตาและใบหน้า ส่วนใหญ่จะใช้ในงานเชื่อมโลหะ ตัดโลหะ หรืองานซ่อมบำรุง ใช้สำหรับป้องกันใบหน้าและดวงตาจากสะเก็ดไฟ เศษของแข็ง ได้แก่
- หน้ากากเชื่อม ใช้ในงานเชื่อมเหล็ก หรือโลหะโดยเฉพาะ ช่วยป้องกันใบหน้า และดวงตาจากสะเก็ดไฟ และแสงจ้า
- ที่ครอบป้องกันใบหน้า เป็นอุปกรณ์สำหรับสวมทั้งศีรษะ ใบหน้า ลำคอ ไหล่ จนถึงบริเวณหน้าอก ใช้สำหรับป้องกันสารเคมี ฝุ่น และสารอื่นๆ
เข็มขัดนิรภัย
อุปกรณ์เซฟตี้ชิ้นนี้เป็นตัวช่วยเพิ่มความปลอดภัยหากต้องทำงานบนพื้นที่สูง เช่น งานก่อสร้าง งานเช็ดกระจก งานไฟฟ้า ฯลฯ
เข็มขัดนิรภัยที่ได้มาตรฐาน ควรเป็นลักษณะแบบสายรัดลำตัว คาดยาวตั้งแต่หัวไหล่ หน้าอก เอว และช่วงขา เพื่อเอาไว้ช่วยพยุงตัว โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันการตกจากที่สูง มีส่วนประกอบสำคัญ ดังต่อไปดังนี้
1. เข็มขัดนิรภัย ประกอบด้วยตัวเข็มจัด และเชือกนิรภัย ตัวเข็มขัด ทำด้วยหนังเส้นใยจากฝ้าย และใยสังเคราะห์
2. สายรัดตัวนิรภัย หรือสายพยุงตัว เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับงานที่ต้องเสี่ยงภัย ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเคลื่อนตัวหรือช่วยพยุงตัวในขณะทำงานได้
3. เชือก เป็นสิ่งที่ผูกหรือยึดติดกับโครงสร้างของอาคาร หรือส่วนที่มั่นคงของอาคารนั้น ๆ ซึ่งเชือกเส้นนี้จะถูกต่อเข้ากับเชือกนิรภัย และเข็มขัดนิรภัย หรือสายรัดตัวนิรภัย (สายพยุงตัว) โดยประเภทของเชือกที่ได้รับความนิยม คือ เชือกช่วยชีวิต ที่จะใช้ร่วมกับอุปกรณ์ยึดจับเชือก และยังมีเชือกช่วยชีวิตแบบที่หดกลับอัตโนมัติ
ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง
1. ก่อนใช้เข็มขัดนิรภัย ควรตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนว่ามีรอยฉีกขาดหรือไม่ ถ้าพบว่ามี ไม่ควรนำมาใช้งาน และเมื่อใช้ไป 1-3 เดือน ควรให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
2. ควรทำความสะอาดทำเดือนละครั้ง โดยล้างด้วยน้ำอุ่น และสบู่กรด ตามด้วยน้ำสะอาด และปล่อยให้แห้ง ซึ่งถ้าเป็นเข็มขัดนิรภัยหนัง ก่อนที่จะแห้งสนิท ควรชโลมหนังด้วยน้ำมันละหุ่ง หรือน้ำมันถั่วเหลือง เพื่อเป็นการรักษาหนัง
ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง
1. จุดยึด คือจุดที่เอาไว้สำหรับยึดตัวกับฐานหรือโครงสร้างต่าง ๆ ซึ่งโดยมาตรฐานสากลแล้ว อุปกรณ์ต้องสามารถรับแรงได้อย่างน้อย 22 KN และการใช้งานควรอยู่ในตำแหน่งเหนือหัวขึ้นไปและอยู่ในแนวเดียวกับผู้ใช้ เพื่อป้องกันการลดระยะการตกและลดการเหวี่ยงตัว
2. อุปกรณ์เชื่อมต่อ ควรมีอยู่อย่างน้อย 2 จุดคือจุดที่เชื่อมต่อกับจุดยึด และจุดที่ยึดกับตัว Harness จะต้องทนต่อการกัดกร่อนผิวจะต้องเรียบ ไม่มีรอยเชื่อม และทำจากเหล็กที่ผ่านการหล่อขึ้นรูปหรือ
3. เชือก ควรอยู่ในลักษณะรักษาตำแหน่ง และความยาวเชือกควรมีระยะสั้นที่สุดเพื่อไม่ให้ผู้ใช้พลัดตกไปเกิน 2 ฟุต
สิ่งที่นายจ้างต้องปฏิบัติสำหรับการทำงานอยู่บนที่สูง ซึ่งมีดังนี้
สิ่งที่นายจ้างต้องทำ
1. ในกรณีที่นายจ้างให้ทำงานในที่สูงจากพื้นดินหรือพื้นอาคารตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป สิ่งที่นายจ้างต้องทำก็คือ ต้องจัดให้มีนั่งร้าน บันได ขาหยั่ง หรือม้ายืน ที่ปลอดภัยตามสภาพของงานสำหรับผู้ปฏิบัติงานในงานนั้น ๆ
2. ในกรณีที่นายจ้างให้ทำงานบนที่ลาดชันที่ทำมุมเกินสามสิบองศาจากแนวราบและสูงตั้งแต่ 2 เมตร ขึ้นไป ต้องจัดให้มีนั่งร้านที่เหมาะสมกับสภาพของงาน และต้องพร้อมไปด้วยอุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงทั้งหมด
3. ในกรณีที่นายจ้างให้ทำงานในสถานที่ที่มีโอกาสได้รับอันตรายจากการพลัดตกหรือถูกวัสดุพังทับ จากระยะความสูงตั้งแต่ 4 เมตร ขึ้นไป หรือทำงานบนหรือในถัง บ่อ กรวยสำหรับเทวัสดุ นายจ้างจะต้องจัดทำราวกั้นหรือรั้วกันตก ตาข่าย สิ่งปิดกั้น เพื่อป้องกันการพลัดตกของผู้ปฏิบัติงานหรือสิ่งของ และต้องจัดอุปกรณ์ป้องกันการตกที่สูงเอาไว้ให้พร้อม
4. งานก่อสร้างที่มีปล่องหรือช่องเปิดซึ่งอาจทำให้เกิดการพลัดตกไปได้นั้น สิ่งที่นายจ้างต้องทำคือ ต้องจัดทำฝาปิดที่แข็งแรง ราวกั้นหรือรั้วกันตกที่มีความสูงไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร และมีแผงทึบหรือขอบกันของตกมีความสูงไม่น้อยกว่า 7 เซนติเมตร พร้อมทั้งติดป้ายเตือนอันตราย