ประเมินความสอดคล้อง กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ประเมินความสอดคล้อง กฎหมายความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
ประเมินความสอดคล้องกับกฎหมาย หมายถืง การตรวจสอบการปฏิบัติหรือบริบทขององค์กร(โรงงาน) ว่ามีการดำเนินการถูกต้องสอดคล้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ ?
งานใดที่ต้องประเมินความสอดคล้องกับกฎหมาย
- งานการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน
- งานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม
- งานการจัดการด้านผลิตภัณฑ์(ผลิตสินค้า)
- งานบริหารงานบุคคล
- งานการจัดการขนส่ง
- งานด้านบัญชีและการเงิน
- ฯลฯ
เกือบจะทุกส่วนขององค์กรที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้สำหรับ จป. ก็ต้อง
“ประเมินความสอดคล้องกับกฎหมายด้านความปลอดภัยฯ”ซึ่งมีขั้นตอน พอสังเขป ดังนี้
๑. รวบรวมข้อมูลขององค์กร(โรงงาน) เช่น จำนวนพนักงาน, เวลาทำงาน, รายการเครื่องจักร อุปกรณ์, รายการวัตถุดิบ, ขึ้นตอนการปฏิบัติงาน ,ข้อมูลสภาพพื้นที่ปฏิบัติงาน ฯลฯ
ซึ่งการรวบรวมอาจจะ
- ขอหลักฐาน/ข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- การสำรวจพื้นที่
- การสอบถาม/พูดคุย
- ฯลฯ
๓. อ่านกฎหมาย แล้วสรุปเฉพาะหัวข้อ หรือ มาตราที่เกี่ยวข้องกับองค์กร(โรงงาน) ลงในแบบฟอร์มที่เตรียมไว้
๔. พิจารณาข้อความที่สรุปจากกฎหมาย กับการปฏิบัติหรือบริบทขององค์ ซึ่งอาจจะมีหลักฐานประกอบตาม “ขั้นตอนที่ ๑” ด้วย โดยแยกเป็น ๒ ประเด็น คือ “สอดคล้อง” และ “ไม่สอดคล้อง”
๕. ในหัวข้อใด ที่ “ไม่สอคล้อง” ต้องรวบรวม จัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ “สอดคล้อง” ตามความเร่งด่วนควรประเมินความสอดคล้องกับกฎหมาย เมื่อไหร่?
สำหรับช่วงเวลาที่ควรดำเนินการคือ
๑. “ทบทวนประเมินความสอดคล้องกับกฎหมาย” ตามเวลาที่กำหนด เช่นอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
๒. เมื่อมีกฎหมายใหม่ ประกาศบังคับใช้ หรือมีการแก้ไขกฎหมาย
๓. เมื่อการปฏิบัติหรือบริบทขององค์กร(โรงงาน) มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
![]()