ผู้ปฏิบัติงานถังขนส่งน้ำมัน ประเภทรถขนส่งน้ำมัน - เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี สำหรับสมาชิก          คลิกที่นี่

บทความ

ผู้ปฏิบัติงานถังขนส่งน้ำมัน ประเภทรถขนส่งน้ำมัน



ผู้ปฏิบัติงานถังขนส่งน้ำมัน ประเภทรถขนส่งน้ำมัน

กฎหมายผู้ปฏิบัติงานน้ำมันเชื้อเพลิง

ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ แบบคำขอ แบบใบรับรอง แบบบัตรประจำตัว และหลักสูตรการฝึกอบรมของผู้ฝึกอบรม วิทยากร และผู้ปฏิบัติงาน พ.ศ.2559 

หมวด ๑ บททั่วไป
ข้อ ๒ การประกอบกิจการถังขนส่งน้ำมัน ประเภทรถขนส่งน้ำมันคลังน้ำมัน สถานีบริการน้ำมันประเภท ก สถานีบริการน้ำมันประเภท ข สถานีบริการน้ำมันประเภท ค ลักษณะที่สอง สถานีบริการน้ำมันประเภท จ ลักษณะที่สอง สถานีบริการน้ำมันประเภท ฉ ระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อ สถานที่เก็บรักษาน้ำมันลักษณะที่สาม ถังขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่นำมาตรึงไว้กับตัวโครงรถ คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว สถานที่บรรจุก๊าซปิโตรเสียมเหลวประเภทโรงบรรจุ สถานที่บรรจุ กฎหมายด้านความปลอดภัยกิจการก๊าซธรรมชาติ (สถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ)ก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทห้องบรรจุ สถานีบริการก๊าซปิโตรเลียมเหลว สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทสถานที่ใช้ ลักษณะที่สาม สถานที่เก็บรักษา ก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทร้านจำหน่าย ลักษณะที่สอง สถานที่เก็บรักษาก๊าซปิโตรเลียมเหลวประเภทโรงเก็บ ลักษณะที่สอง ระบบการขนส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลวทางท่อ ถังขนส่งก๊าซธรรมชาติ คลังก๊าซธรรมชาติ สถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ สถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ต้องมีผู้ปฏิบัติงานจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งคนตลอดระยะเวลาที่เปิดดำเนินการหรือทำการขนส่ง แล้วแต่กรณีการประกอบกิจการระบบการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อ ผู้รับใบอนุญาตแต่ละราย ไม่ว่าจะได้รับใบอนุญาตกี่ฉบับก็ตาม ต้องมีผู้ปฏิบัติงานจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งคน



กิจการควบคุมประเภทที่ 3 คือ

กิจการควบคุมประเภทที่ 3 มี 7 ประเภท ดังนี้ คือ

1) สถานที่ก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง ลักษณะที่ 3 หมายถึงโรงงานขนาดใหญ่
•  เก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ชบิดไวไฟมาก ปริมาณเกิน 454 ลิตร
•  เก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ชนิดไวไฟป่านกลาง ปริมาณเกิน 1,000 ลิตร
•  เก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ชนิดไวไฟน้อย ปริมาณเกิน 15,000 ลิตร
โดยมีปริมาณรวมกันไม่เกิน 500.000 ลิตร
2) คลังน้ำมันเชื้อเพลิง
•  เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงได้ทุกชนิด ตั้งแต่ 500,000 มิครขึ้นไป
3) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก. หมายถึง สถานีบริการติดถนนใหญ่
•  บริการให้แก่ยานพาหนะทางบก
•  ถังเก็บน้ำมันเชื้อ อเพลิงต้องฝังใด้พื้นดิน
•  สถานที่ตั้งต้องติดเขตถนนทางหลวง หรือถนนสาธารณะ ที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 12 เมตร หรือถนนส่วนบุคคลที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร
4) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ข. หมายถึง สถานีบริการติดถนนซอย
•  บริการให้แก่ยานพาหนะทางบก
•  ถังเก็บน้ำมันเนื้อเพลิงต้องฝังได้พื้นดิน
•  สถานที่ตั้งต้องติดเขตถนนสาธารณะ ที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 12 เมตร หรือ
ถนนส่วนบุคคลที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร
5) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท . ลักษณะที่ 2 หมายถึง ปั๊มถังลอยริมถนน
•  บริการ ให้แก่ยานพาหนะทางบก
•  เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง หรือไวไฟน้อยตั้งแต่ 10,000 ลิตรขึ้นไป
•  ห้ามเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก
•  ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงตั้งบนดิน
6) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเกท จ. ลักษณะที่ 2 หมายถึง สถานีบริการทางน้ำ
•  บริการให้แก่เรือ
•  เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลาง หรือไวไฟน้อย ตั้งแต่ 10,000 ลิตรขึ้นไป ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงตั้งบนดิน หรือ ฝังใต้พื้นดิน หรือภายใน โป๊ะเหล็ก
•  กรณีมีการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมาก ให้ฝังถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ใต้พื้นดิน
7) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท จ. หมาขถึงสถานีบริการให้แก่อากาศยานบริการให้แก่เครื่องบิน



ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถชนิดที่ 4 คือ

ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่สี่ ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสำหรับรถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายตามประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกตามที่อธิบดีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ผู้ขอรับใบอนุญาต ประเภทส่วนบุคคล และประเภททุกประเภท ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี
ผู้ขับรถบรรทุกวัตถุอันตรายทุกรายต้องมี ใบขับขี่รถ ท4 หรือเรียกแบบเป็นทางการว่าใบอนุญาตขับ รถชนิดที่ 4  เท่านั้น คือ ใบอนุญาตขับรถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตราย  ผู้ขับขี่รถบรรทุกวัตถุอันตรายที่ไม่มีใบขับขี่รถ ท4 จะมีความผิดต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ผู้ประกอบการจะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นหากเกิดอุบัติเหตุด้วย

สำหรับผู้ที่ต้องการขอ สอบใบขับขี่รถ ท4 จะต้องทำอะไรบ้าง มีเงื่อนไข ดังนี้

1.   ผู้ขอรับใบขับขี่รถท4 จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี
2.  ต้องมีการ ทำใบขับขี่รถท3 หรือ สอบใบขับขี่ท3 (รถที่ใช้สําหรับลากจูงรถอื่น หรือล้อเลื่อนที่บรรทุกสิ่งของชนิดที่ 3) มาก่อนแล้ว
3.  ต้องมีการตรวจสอบประวัติอาชญากร และจะต้องไม่มีโทษจําคุก หรือหากมีจะต้องพ้นโทษมาแล้วเกิน 3 ปี
4.  ต้องผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
5.  ผ่านการอบรมจํานวน 6 ชั่วโมง โดยมีเนื้อหาการอบรมได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับวัตถุอันตรายที่ UN กําหนดไว้
นอกจากนี้ ผู้ขอรับใบขับขี่ ท4 จะต้องสอบข้อเขียน ข้อสอบใบขับขี่ วิชาความรู้ เกี่ยวกับวัตถุอันตราย จำนวน 30 ข้อ ผู้รับการทดสอบ จะต้องทำคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่าผ่านการสอบ โดยเนื้อหาที่ออกข้อสอบ หลักๆจะเป็นเรื่องของป้ายและสัญลักษณ์ ต้องเข้าใจในเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ เกี่ยวกับวัตถุอันตราย ชนิดต่างๆ และต้องเข้าใจหลักการบรรทุกวัตถุอันตราย เมื่อสอบผ่านแล้วจะได้รับใบอนุญาต ท 4 โดยใบอนุญาตขับรถหรือ ใบขับขี่จะมีอายุ 3 ปี


การป้องกันอุบัติเหตุที่อาจ เกิดขึ้นได้

•  ขับขี่รถด้วยความระมัดระวัง
•  ไม่ขับรถด้วยความเร็วเกินกฎหมายกำหนด
•  ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัช
•  มีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมทางตลอดระหว่างการขับขี่
•  ตรวจเช็คสภาพรถก่อนออกเดินทางทุกครั้ง
•  มองไกลตลอดการขับขี่ทิ้งระยะห่างคันหน้า7-10เมตรป้องกันการเบรก
•  สอดส่ายสายตาตลอดการขับขี่ และก่อนออกรถ
•  ไม่ขับรถจับกลุ่มสร้างระยะห่างรอบ ๆตัวรถให้สัญญาณทุกครั้งที่ขับ และหยุดรถ


มาตรการกำกับดูแลการขนส่งน้ำมันดิบทางบก

มาตรการกำกับดูแลการขนส่งน้ำมันดิบทางบก
ในการผลิตน้ำมันดิบนั้น กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติมีการกำกับ ดูแล และควบคุม ตั้งแต่กระบวนการผลิต การเก็บ การขนถ่าย จนถึงการซื้อขาย โดยมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวดในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ต้นทางที่หลุมผลิตปิโตรเลียม จนกระทั่งถึงปลายทางยังโรงกลั่นน้ำมัน
น้ำมันดิบที่ผลิตได้นั้น จะถูกส่งไปตามท่อขนส่งไปยังถังเก็บน้ำมันดิบ มีการตรวจสอบปริมาณที่ผลิตได้ด้วยมาตรวัด หลังจากนั้น เมื่อถึงเวลาขนถ่ายไปยังรถบรรทุกเพื่อออกไปยังโรงกลั่นน้ำมัน จะมีการตรวจสอบและบันทึกปริมาณการขนถ่าย แล้วผนึกฝาถังหรือที่เรียกว่า Seal และบันทึกหมายเลขของ Seal ทุกครั้งก่อนขนส่งออกไป นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งกล้อง CCTV และระบบติดตามตำแหน่งรถด้วยดาวเทียม หรือ ระบบ GPS ในรถขนส่ง เพื่อติดตามตำแหน่งของรถขนส่งตั้งแต่ออกเดินทางจากสถานีผลิตปิโตรเลียม จนถึงปลายทางที่โรงกลั่นน้ำมัน โดยสามารถตรวจสอบพิกัดได้ตลอดเวลา

เมื่อรถขนส่ง ได้เดินทางมาถึงโรงกลั่นน้ำมันดิบแล้ว จะมีเจ้าหน้าที่จากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ มาตรวจสอบการผนึกฝาถังอีกครั้ง ว่ามีร่องรอยการเปิดหรือทำลายหรือไม่ รวมถึงหมายเลขของ Seal ที่ฝาถังว่าตรงกับเอกสารขนส่งหรือไม่ จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการซื้อ - ขาย น้ำมันดิบ โดยมีการตรวจสอบปริมาณน้ำมันดิบผ่านมาตรวัด (Meter) ที่ได้รับมาตรฐานสากลของอุตสาหกรรมปิโตรเลียม American Petroleum Institute หรือ API ซึ่งมาตรวัดจะมีการปรับเทียบตาม พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ในระยะเวลาที่กำหนด ต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติในทุกครั้ง เพื่อป้องกันปัญหาการลักลอบขนถ่ายน้ำมันดิบไม่ให้เกิดขึ้นได้

องค์ประกอบของน้ำมันดิบ

น้ำมันดิบ คือ ปิโตรเลียมที่มีสถานะเป็นของเหลวในธรรมชาติ ส่วนมากมีสีดำหรือน้ำตาล มีลักษณะเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดต่าง ๆ ปะปนกันอยู่ และในบางครั้งอาจมีสารอื่น ๆ ประกอบอยู่ด้วย เช่น กำมะถัน ไนโตรเจน ออกซิเจน เป็นต้น โดยน้ำมันดิบที่ขุดขึ้นมาได้ จะต้องนำไปผ่านกระบวนการแยกสารประกอบไฮโดรคาร์บอนต่าง ๆ ออกก่อน เรียกว่า การกลั่นน้ำมันดิบ จึงจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้



การดับเพลิงเบื้องต้น

ทฤษฎีของไฟ องค์ประกอบทั้ง 3 ในการติดไฟ
เชื้อเพลิง - ไม้ กระดาษ ผ้า ไอระเหยของน้ำมัน เป็นต้น
อากาศ - มีก๊าซออกซิเจน (ประมาณ 21% ช่วยในการเผาไหม้
ความร้อน - ปริมาณความร้อนมีมากพอสำหรับเชื้อเพลิงแต่ละชนิด




Comments


businessman

ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai