รู้เท่าทันระวังภัยเมื่อเกิดอุทกภัยในโรงงานต้องทำอย่างไรEP.2 - เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี สำหรับสมาชิก          คลิกที่นี่

บทความ

รู้เท่าทันระวังภัยเมื่อเกิดอุทกภัยในโรงงานต้องทำอย่างไรEP.2



รู้เท่าทันระวังภัยเมื่อเกิดอุทกภัยในโรงงานต้องทำอย่างไร

วิธีจัดการเครื่องจักรเเละสารเคมี

แนวทางปฏิบัติการป้องกันอุปกรณ์เครื่องจักร ก่อนน้ำท่วม อุปกรณ์เครื่องจักรทั้งหมด
หากพบว่าอุปกรณ์เครื่องจักรมีโอกาสน้ำท่วมปฏิบัติ ดังนี้

1. ย้ายเครื่องจักรและเครื่องอุปกรณ์ที่สามารถ เคลื่อนย้ายได้ ไปไว้ในบริเวณที่น้ำท่วม ไม่ถึง
2. ย้ายถังบรรจุก๊าซ และปิดวาล์วของระบบ ต่อเนื่องก๊าซ
3. หากเครื่องจักร หรือภาชนะรับแรงดัน ไม่ สามารถย้ายได้ให้พยายามกั้นน้ำไม่ให้เข้าสู่ เครื่องจักร เช่น การก่อกำแพงกันน้ำรอบเครื่องจักร
4. ท่อหรือผิวเปิดของโลหะให้ทาสีป้องกันน้ำ สัมผัสกับโลหะหรือทาสารเคลือบต่าง ๆ เช่น จารบี หรือน้ำมัน
5. ปิดจุดที่ระบบหล่อลื่นของเครื่องจักร ที่อาจจะ ทำให้น้ำปะปนในระบบหล่อลื่น เช่น จุดระบาย น้ำมันต่าง ๆ
6. เตรียมหาเครื่องสูบน้ำเพื่อใช้สูบน้ำออกระหว่าง น้ำท่วม

แนวทางปฏิบัติการป้องกันอุปกรณ์เครื่องจักร ระหว่างน้ำท่วม

ห้ามใช้งานเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ระหว่างน้ำท่วมโดยเด็ดขาด นอกจาก อุปกรณ์ที่ใช้ในการบรรเทาน้ำท่วมเช่นปั๊มสูบน้ำ เป็นต้น
แนวทางปฏิบัติการป้องกันอุปกรณ์เครื่องจักร หลังน้ำท่วม

1. อุปกรณ์เครื่องจักร ต้องทำความสะอาด ทำให้แห้ง และตรวจสอบความปลอดภัยในการ ทำงานก่อนใช้งาน 2. ทำความสะอาดและตรวจสอบถังบรรจุก๊าซ และระบบต่อเนื่องก๊าซ หากพบการชำรุด เสียหายของอุปกรณ์เครื่องจักรต้องทำการซ่อมแซม โดยช่างหรือวิศวกรผู้ชำนาญการ
3. หากเครื่องจักร หรือภาชนะรับแรงดัน อยู่ใต้น้ำ (บางส่วนหรือทั้งหมด) ต้องตรวจสอบ การกัดกร่อน และตรวจสอบความปลอดภัย
การจัดการสารเคมี


1. สำรวจชนิด ปริมาณและสภาพภาชนะ บรรจุสารเคมีที่มีอยู่ในโรงงาน รวมทั้ง สถานที่จัดเก็บสารเคมีแต่ละชนิดและ จัดการตามคุณสมบัติเฉพาะของสารเคมีนั้น
2. ตรวจสอบคุณภาพถังและชนิดสารเคมีที่ บรรจุให้ตรงกับป้ายบอกชนิดเสมอ
3. ดำเนินการป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบริเวณ สถานที่จัดเก็บสารเคมีเช่น สร้างแผงกั้น น้ำ
4. กรณีที่ไม่มีสถานที่จัดเก็บสารเคมีให้สูงพ้น น้ำให้ทำการขนย้ายไปจัดเก็บในที่ที่ ปลอดภัย
5. การขนย้ายสารเคมีควรดำเนินการด้วยความ ระมัดระวัง
6. ปฏิบัติตามวิธีการจัดการสารเคมีที่กำหนด ในข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (Safety Data Sheet : SDS) ของสารเคมีแต่ละ ชนิดอย่างเคร่งครัด
7. หยุดการผลิตและขนถ่ายสารเคมีออกจาก ระบบกระบวนการผลิตตามขั้นตอนการ ปฏิบัติงานหยุดระบบการทำงาน


แนวทางปฏิบัติการจัดการสารเคมี หลังน้ำท่วม
โรงงานอุตสาหกรรมที่ประสบปัญหาน้ำท่วม สามารถจัดแบ่งสารเคมีได้เป็น 2 ส่วนดังนี้
• การจัดการสารเคมีที่ขนย้ายพ้นน้ำ
• การจัดการสารเคมีที่ถูกน้ำท่วม
โดยทั้ง 2 กรณีให้ปฏิบัติตามคำแนะนำข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (SDS) อย่างเคร่งครัด ในกรณที่มีสารเคมีที่ถูกน้ำท่วมและเสื่อมสภาพจนไม่สามารถใช้งานได้ ให้รวบรวมและส่งไปบำบัด/ กำจัดด้วยวิธีการที่เหมาะสมยังโรงงานรับบำบัด/กำจัดเพื่อลดโอกาสปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ต้อง เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานที่เกี่ยวกับกากอุตสาหกรร

อบรม จป. หัวหน้างาน ชลบุรี
เปิดแล้ว!!อบรมจป.หัวหน้างาน,จป.บริหาร จองอบรมตอนนี้

Comments


businessman

ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai