สรุปสาระสำคัญหลักเกณฑ์วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมในการทำงานในที่อับอากาศ
สรุปสาระสำคัญ
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 11 มีนาคม 2564
- นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมเองได้กรณีที่นายจ้างไม่สามารถจัดได้ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมกับ นิติบุคคลที่ได้รับ
อนุญาตตามมาตรา 11
- ต้องแจ้งกำหนดการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 7 วันทำการก่อนการฝึกอบรม และจัดทำรายงานผลการฝึก อบรม ตามแบบ
รายงานที่แนบท้ายประกาศภายใน 30 วันที่เสร็จสิ้นการฝึกอบรม
- การออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรมให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม โดยมีรายละเอียด ชื่อหน่วยงานที่ ออกหลักฐาน
แสดงการผ่านการฝึกอบรม พร้อมระบุข้อความว่า “จัดฝึกอบรมโดยนายจ้าง” หรือ “จัดฝึก อบรมโดยนิติบุคคล
ได้รับอนุญาตตามมาตรา 11 ใบอนุญาตเลขที่ อ.XX-XXX
- มีใบรับรองแพทย์ว่าเป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์ ร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคเกี่ยวกับทาง เดินหายใจ โรหัวใจ หรือโรคอื่น
ที่แพทย์เห็นว่าการเข้าไปในที่อับอากาศอาจเป็นอันตรายต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- ผู้เข้ารับการฝึกอบรมอับอากาศทุกหลักสูตร ต้องเป็นผู้ผ่านการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นตามกฎหมาย
- ผู้ผ่านการฝึกอบรมก่อนประกาศฉบับนี้มาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป จะต้องเข้ารับการอบรมทบทวนให้แล้เสร็จ ภายใน 90
วันนับแต่วันประกาศนี้มีผลบังคับใช้
- วิทยากรได้รับการฝึกอบรมหรือเพิ่มเติมความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานไม่น้อยกว่า 6 ชม./ปี
- การอบรมทบทวนการทำงานในที่อับอากาศอย่างน้อย 3 ชม. (ภาคทฤษฎี) ทุก 5 ปีนับแต่วันสุดท้ายของ การอบรม ให้ แล้วเสร็จภายใน 30 วันก่อนครบกำหนด 5 ปี หากมิได้ดำเนินการนายจ้างต้องจัดให้มีการ อบรมแต่ละหลักสูตรใหม่ แล้วแต่กรณี
- วิทยากรได้รับการฝึกอบรมหรือเพิ่มเติมความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานไม่น้อยกว่า 6 ชม./ปี
- ผู้ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรการเป็นวิทยากรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่กรม สวัสดิการ และคุ้มครองแรงงานยอมรับ ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าผู้นั้นมีคุณสมบัติเป็น วิทยากรตามข้อ 16 ของ ประกาศนี้