สัญญาณมือเครน-ปั้นจั่นสากล
สัญญาณมือเครนสากล
1.หยุดยกของฉุกเฉิน : เหยียดแขนทั้งสองข้างออกไประดับหัวไหล่
ฝ่ามือคว่ำลง แล้วเหวี่ยงไป - มา ในแนวระดับไหล่อย่างรวดเร็ว
2.หยุดยกของ : เหยียดแขนซ้ายออกไปในระดับไหล่แบบคว่ำฝ่ามือ
แล้วเหวี่ยงไป - มา ในแนวระดับไหล่อย่างรวดเร็ว
3.ให้หยุดและยึดเชือกลวดทั้งหมด : กำมือทั้งสองข้างเข้าหากันให้อยู่ในระดับเอว
4.ให้ยกของขึ้นช้า ๆ : ยกแขนคว่ำฝ่ามือให้ได้ระดับคางแล้วใช้นิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่งชี้ตรงกลางฝ่ามือแล้วหมุนช้า
ๆ
5.ยกบูม : เหยียดแขนขวาออกสุดแขน
แล้วกำมือให้หัวแม่มือชี้ขึ้นด้านบน
6.นอนบูม : เหยียดแขนขวาออกสุดแขน
แล้วกำมือให้หัวแม่มือชี้ลงพื้น
7.ใช้รอกใหญ่ : กำมือ ยกขึ้นเหนือศีรษะ แล้วเคาะเบา ๆ บนศีรษะตนเองหลาย ๆ ครั้งแล้วให้สัญญาณอื่น
ๆ ที่ต้องการ
8.ใช้รอกเล็ก : งอข้อศอกขึ้นกำมือระดับไหล่ โย้ไปข้างหน้าเล็กน้อยแล้วใช้มืออีกข้างแตะที่ศอกจากนั้นให้สัญญาณอื่น
ๆ ที่ต้องการ
9.สวิงบูมไปด้านที่มือชี้ : เหยียดแขนซ้ายหรือขวา
ชี้ไปตามทิศทางที่ต้องการจะให้หมุนบูมไป
10.เดินหน้า : เหยียดฝ่ามือขวาตรงออกไปข้างหน้าระดับไหล่
ฝ่ามือตั้งตรงทำท่าผลักในทิศทางที่ต้องการให้รถเครนเคลื่อนที่
11. เลื่อนรอกขึ้น : ให้งอศอกขึ้นตั้งฉาก ชูนิ้วชี้ขึ้นแล้วหมุนเป็นวงกลม
12.เลื่อนรอกลง : กางแขนออกเล็กน้อย ใช้นิ้วชี้ ชี้ลงพื้นแล้วหมุนเป็นวงกลม
13.ยกบูมพร้อมกับเลื่อนรอกขึ้น : เหยียดแขนออกสุด
แบมือตั้งหัวแม่มือชี้ขึ้นแล้วกวักนิ้วทั้งสี่ไป - มา (ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ)
14.ยกบูมพร้อมกับเลื่อนรอกลง : เหยียดแขนออกสุด
แบมือให้หัวแม่มือชี้ลงแล้วกวักนิ้วทั้งสี่ไป - มา (ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ)
15.ยึดบูม : กำมือทั้งสองแบบหงาย
ยกขึ้นเสมอเอว แล้วเหยียดหัวแม่มือออกทั้งสองข้าง
16.หดบูม : กำมือทั้งของคว่ำลงแล้วยกขึ้นเสมอเอว
ให้หัวแม่มือทั้งสองข้างชี้เข้าหากัน
เครน คือ เครื่องจักรกลที่ใช้ยกสิ่งของหนัก ขึ้นลงตามแนวดิ่ง และเคลื่อนย้ายสิ่งของในลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบแล้วเคลื่อนที่ไปมาโดยรอบหรือตามทิศทางที่กำหนดไว้ โดยการออกแบบเครนนั้น จะใช้คานตรงกลางของเครนเป็นที่รับน้ำหนักของการยก ซึ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับการออกแบบให้แข็งแรงและปลอดภัยต่อการใช้งาน โดยทั่วไปในอุตสาหกรรมจะใช้รูปแบบของเครน เป็นตัวแบ่งประเภทของเครนตามลักษณะของเครนที่รับน้ำหนัก
ซึ่งประเภทของเครน ถูกแบ่งได้ดังนี้
1. เครนเหนือศีรษะ และเครนขาสูง (Overhead Crane and Gentry Crane)
เครนที่ใช้ยกสิ่งของที่มีน้ำหนักไม่มากเป็นเครนไฟฟ้าที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดสำหรับทุกโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย เพราะมีโครงสร้างที่ไม่ใหญ่มากนักและใช้พื้นที่น้อย สามารถเคลื่อนที่ยกวัตถุได้ง่าย มีน้ำหนักที่ไม่มากไม่ทำให้โครงสร้างของสถานที่ใช้งานรับภาระน้ำหนักที่หนักมากเกินไป
2. เครนหอสูง (Tower Crane)
เครนที่นิยมใช้ในการก่อสร้าง เนื่องจากความสูงของตัวเครนและการใช้ยกสิ่งของที่มีน้ำหนักได้มากสามารถทุ่นแรงงานได้จำนวนมาก แต่เครนชนิดนี้ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยมากเนื่องจากหากเกิดอุบัติเหตุจะเป็นอันตรายอย่างมาก
3. รถเครน เรือเครน (Mobile Crane)
เครนที่ใช้ในการเคลื่อนที่ไปในที่ต่าง ๆ เน้นความสะดวกเป็นหลักยกน้ำหนักได้ไม่มาก แต่ถ้าเป็นเรือเครนจะยกน้ำหนักได้มาก ใช้ในเรือเป็นหลักรวมถึงท่าเรือด้วย
แยกเครนออกเป็นการใช้งาน 2 แบบ คือ
1. เครนชนิดเคลื่อนที่ (Mobile Cranes) คือ เครนที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม และเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดตั้งอยู่บนยานที่ขับเคลื่อนในตัวเอง
2. เครนชนิดอยู่กับที่ (Stationary Cranes) คือ เครนที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งติดตั้งอยู่บนหอสูง ขาตั้ง หรือบนล้อเลื่อน