หน้าที่จป.ต่างๆมีอะไรบ้าง
บทบาทเเละหน้าที่ของจป.เเต่ละจป.มีอะไรบ้างนะ
อัปเดตใหม่ล่าสุด!!!
หน้าที่ของ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) ระดับต่างๆ ตามกฎกระทรวง เรื่อง กฎกระทรวงการจัดให้มีจป.ในสถานประกอบกิจการ หน่วยงาน หรือคณะบุคคล 2565
จป.วิชาชีพ
(The safety officer in professional level)
- ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย
- เสนอแนะนายจ้างให้มีการจัดการด้านความปลอดภัยที่เหมาะสม
- วิเคราะห์และจัดทำรายงานการประสบอันตราย
- วิเคราะห์งานเพื่อบ่งชี้อันตราย
- ประเมินความเสี่ยง
- ตรวจประเมินตามแผน
- ให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับความปลอดภัยฯ
- แนะนำฝึกสอน อบรม ลูกจ้าง
- ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอื่นๆ ที่นายจ้างมอบหมาย
- ให้ความรู้และอบรมด้านโรคจากการประกอบอาชีพ NEW UPDATE
จป.หัวหน้างาน
(The safety officer in supervising level)
- รายงานการประสบอันตรายต่อนายจ้างและแจ้งจป. หรือหน่วยงานความปลอดภัย
- ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัย
- ให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับความปลอดภัยฯ
- วิเคราะห์งานเพื่อค้นหาความเสี่ยงร่วมกับ จป.
- ตรวจสอบสาเหตุการประสบอันตราย และรายงานผลต่อนายจ้าง
- ปฏิบัติงานถ้านความปลอดภัยอื่นตามที่ จป.บริหารมอบหมาย
- ตรวจสอบสภาพการทำงานเครื่องจักร เครื่องมือและอปกรณ์
- กำกับ ดูแลการใช้อุปกรณ์ PPE
- ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมความปลอดภัย
- จัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัยฯ NEW UPDATE
จป.เทคนิคขั้นสูง
(The safety officer in advanced technical level)
- รวบรวมสถิติวิเคราะห์ข้อมูลทำรายงานและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประสบอันตราย
- ตรวจสอบหาสาเหตุและวิเคราะห์การประสบอันตราย
- ให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับความปลอดภัยฯ
- วิเคราะห์แผนงานโครงการ
- ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติดามกฎหมายความปลอดภัย
- ปฏิบัติงานถ้านความปลอดภัยอื่นตามที่นายจ้างบอบหมาย
- วิเคราะห์เพื่อบ่งชี้อันตราย
- ตรวจประเมินตามแผน
- แนะนำ ฝึกสอน อบรมลูกจ้าง
จป.บริหาร
(Safety Officer in Management Level)
- กำกับดูแลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยฯ ทุกระดับ
- ติดตามให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเพื่อความปลอดภัยของลูกจ้าง
- สนับสนุนและติดตามการดำเนินงานถ้านความปลอดภัยให้เป็นตามแผนงาน
- เสนอแผนงานโครงการถ้านความปลอดภัยในหน่วยงาน
จป.เทคนิค
(The safety officer in technical level)
- ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตาม
- กฎหมายความปลอดภัย
- วิเคราะห์งานเพื่อบ่งชี้อันตราย
- ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยตามที่นายจ้างมอบหมาย
- ให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับความปลอดภัย
- รวบรวมสถิติ จัดทำรายงานและข้อเสนอแนะการประสบอันตราย
- จัดทำรายงานการประสบอันตราย