หลักเกณฑ์เเละวิธีการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบการ - เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี สำหรับสมาชิก          คลิกที่นี่

บทความ

หลักเกณฑ์เเละวิธีการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบการ




หลักเกณฑ์เเละวิธีการจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบการ

อาศัยอำนาจตามความในข้อ11

แห่งกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 อธิบดีกรมสวัสดิการ
และคุ้มครองแรงงาน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ให้นายจ้างจัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการเป็นลายลักษณ์อักษร

(1) นโยบายการอนุรักษ์การได้ยิน
(2) การเฝ้าระวังเสียงดัง (Noise Monitoring)
(3) การเฝ้าระวังการได้ยิน (Hearing Monitoring)
(4) หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้อง

ให้นายจ้างจัดให้มีการเฝ้าระวังเสียงดัง

โดยการสํารวจและตรวจวัดระดับเสียง 
การศึกษาระยะเวลาสัมผัสเสียงดัง และการประเมิน
การสัมผัสเสียงดังของลูกจ้าง
ในสถานประกอบกิจการ แล้วแจ้งผลให้ลูกจ้างทราบ

ให้นายจ้างจัดให้มีการเฝ้าระวังการได้ยินโดยให้ดำเนินการ

(1) ทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometric sting) 
(2) แจ้งผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินให้ลูกจ้างทราบภายในเจ็ดวัน
(3) ทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของลูกจ้างซ้ำอีกครั้งภายในสามสิบวัน 
กรณีพบว่าลูกจ้างมีสมรรถภาพการได้ยินเป็นไปตามข้อ 6

เกณฑ์การพิจารณาผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน

1) ใช้ผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินครั้งแรก
ของลูกจ้างที่ความถี่ 500 1000 2000 3000 4000 และ 6000
เฮิรตช์ ของหูทั้งสองข้างเป็นข้อมูลพื้นฐาน
 
(2) นำผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยินครั้งต่อไปเปรียบเทียบ
กับผลการทดสอบสมรรถภาพ
การได้ยินที่เป็นข้อมูลพื้นฐานทุกครั้ง

ข้อ6หากผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน

พบว่าลูกจ้างสูญเสียการได้ยินที่หูข้างใดข้างหนึ่ง
ตั้งแต่สิบห้าเดชิเบลขึ้นไปที่ความถี่ใดความถี่หนึ่ง
ให้นายจ้างจัดให้มีมาตรการป้องกันอันตรายอย่างหนึ่งอย่างใด

1) จัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
       การใช้ที่ครอบหู (Ear Muffs)
       ที่อุดหู (Ear Plug)
(2) เปลี่ยนงานให้ลูกจ้าง หรือหมุนเวียนสลับหน้าที่ระหว่างลูกจ้างด้วยกัน

ให้นายจ้างจัดทำเเละติดแผนเเสดงระดับเสียง

ในแต่ละพื้นที่เกี่ยวกับผลการตรวจวัดระดับเสียง
ติดป้ายบอกระดับเสียงและเตือนให้ระวังอันตรายจากเสียงดัง

ข้อ 8 ให้นายจ้างอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการอนุรักษ์
การได้ยินความสำคัญของการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน
ข้อ 9 ให้นายจ้างประเมินผลและทบทวนการจัดการมาตรการ
อนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการไม่น้อยกว่าปีละหนึ่งครั้ง
ข้อ 10 ให้นายจ้างบันทึกข้อมูลและจัดทำเอกสารการ
ดำเนินการตามข้อ 3 ถึงข้อ 10 เก็บไว้ในสถานประกอบกิจการ
ไม่น้อยกว่าห้าปี

Comments


businessman

ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai