มาตรา ๕๖ นายจ้างผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๖ หรือมาตรา ๓๒ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๑ ผู้ใดขัดขวางการดําเนินการของนายจ้างตามมาตรา ๑๙ หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานตรวจความปลอดภัย หรือบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายตามมาตรา ๓๗ วรรคหนึ่งโดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๒ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง หรือมาตรา ๒๓ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๓ ผู้ใดกระทําการเป็นผู้ชํานาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๓๓ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๔ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อํานวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานตรวจความปลอดภัยตามมาตรา ๓๕ หรือมาตรา ๓๖ วรรคสอง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๕ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัยตามมาตรา ๓๖วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๖๙ ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการ หรือการกระทําของบุคคลใด หรือเกิดจากการไม่สั่งการ หรือไม่กระทําการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทําของกรรมการผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลนั้นผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ ด้วย
มาตรา ๗๐ ผู้ใดเปิดเผยข้อเท็จจริงใดที่เกี่ยวกับกิจการของนายจ้างอันเป็นข้อเท็จจริงที่ปกติวิสัยของนายจ้างจะพึงสงวนไว้ไม่เปิดเผยซึ่งผู้นั้นได้หรือล่วงรู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวมาเนื่องจากการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยในการปฏิบัติราชการเพื่อประโยชน์แห่งพระราชบัญญัตินี้หรือเพื่อประโยชน์แก่การค้มครองแรงงาน ุ การแรงงานสัมพันธ์ หรือการสอบสวนหรือพิจารณาคดี
มาตรา ๗๑ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีอัตราโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท ถ้าเจ้าพนักงานดังต่อไปนี้ เห็นว่าผู้กระทําผิดไม่ควรได้รับโทษจําคุกหรือไม่ควรถูกฟ้องร้อง ให้มีอํานาจเปรียบเทียบดังนี้
มาตรา ๗๒ การกระทําความผิดตามมาตรา ๖๖ ถ้าคณะกรรมการเปรียบเทียบซึ่งประกอบด้วยอธิบดี ผู้บัญชาการสํานักงานตํารวจแห่งชาติหรือผู้แทน และอัยการสูงสุด หรือผู้แทนเห็นว่าผู้กระทําผิดไม่ควรได้รับโทษจําคุกหรือไม่ควรถูกฟ้องร้อง ให้มีอํานาจเปรียบเทียบได้ และให้นํา

อบรมจป.-คปอ.ออนไลน์ สมาชิกจ่ายเพียง 1000.-
จองอบรมตอนนี้
Comments

บทความล่าสุด
(2).jpg)
ทำงานในโรงงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันอะไรบ้าง?(อุปกรณ์ส่วนบุคคล PPE)
1 กุมภาพันธ์ 2566.jpg)
ผู้ปฏิบัติงานถังขนส่งน้ำมัน ประเภทรถขนส่งน้ำมัน
17 มกราคม 2566.jpg)
การจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย
12 มกราคม 2566
บทความยอดนิยม

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565
12 เมษายน 2565.jpeg)
นายจ้างต้องรู้! กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก 2564
10 สิงหาคม 2564.jpg)
ใหม่ล่าสุด! กฎกระทรวงการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น 2564
18 สิงหาคม 2564
แบ่งปัน