ไม่ใช่แค่โรงงานนะที่จะต้องมีจป.อัปเดตตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง 2565
สถานประกอบกิจการใดบ้าง ที่ต้องจัดให้มีจป.
หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
อัปเดตตามบัญชีท้ายกฎกระทรวง
2565 เช็คได้ที่บทความนี้
จป คืออะไร จป หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานนั้นถือได้ว่าเป็นตำแหน่งที่ต้องแต่งตั้งตามกฎหมาย ซึ่งเป็นกฎกระทรวงเรื่องกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานปี พ.ศ. 2549 สถานประกอบกิจการต่างๆ ที่เข้าข่ายตามกฎหมายกำหนดจะต้องมีการแต่งตั้ง จป ในระดับต่างๆ หากนายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนมีสิทธิ์ติดคุกได้ นายจ้างที่ไม่จัดให้มีการแต่งตั้ง จป ถือได้ว่ามีความผิดตาม พรบ ความปลอดภัยฯ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินสองแสนหรือทั้งจำทั้งปรับ
ว่าด้วยเรื่อง กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานบุคลากรหน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการพ.ศ. 2565 การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ในช่วงบัญชีท้ายกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน
บุคลากร หน่วยงาน หรือบุคลากรหรือหน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ
พ.ศ.2565 ซึ่งในกฎกระทรวงใหม่ล่าสุดได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยภัยดูแล
สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีการดำเนินการเพิ่มเป็น
64 แห่ง จากเดิมมีอยู่เพียง 14 แห่งแบ่งเป็น 3 บัญชี ได้แก่
บัญชีที่ ๑
ลำดับ | สถานประกอบกิจการ |
๑ | อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่ |
๒ | อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม |
๓ | อุตสาหกรรมเกี่ยวกับปิโตรเคมี |
๔ | อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม |
๕ | อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ |
บัญชีที่ ๒
ลำดับ | สถานประกอบกิจการ |
๑ | อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ |
๒ | อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร |
๓ | อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม |
๔ | อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยาสูบ |
๕ | อุตสาหกรรมสิ่งทอ |
๖ | อุตสาหกรรมเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย |
๗ | อุตสาหกรรมเครื่องหนัง |
๘ | อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้ |
๙ | อุตสาหกรรมกระดาษหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษ |
๑๐ | อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์ |
ลำดับ | สถานประกอบกิจการ |
๑๑ | อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์หรือเวชภัณฑ์ทางการแพทย์
|
๑๒ | อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
|
๑๓ | อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
|
๑๔ | อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ
|
๑๕ | อุตสาหกรรมโลหะหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ
|
๑๖ | อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
|
๑๗ | อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
|
๑๘ | อุตสาหกรรมเครื่องจักรหรือเครื่องมือกล
|
๑๙ | อุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนยานพาหนะหรืออุปกรณ์เสริมสำหรับยานพาหนะ
|
๒๐ | อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ |
ลำดับ | สถานประกอบกิจการ |
๒๑ | อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
|
๒๒ | อุตสาหกรรมเครื่องดนตรี
|
๒๓ | อุตสาหกรรมอุปกรณ์กีฬาออกกำลังกาย
|
๒๔ | อุตสาหกรรมของเล่น
|
๒๕ | อุตสาหกรรมเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์
|
๒๖ | อุตสาหกรรมการผลิต การจัดส่ง หรือการจ่ายไฟฟ้า
|
๒๗ | อุตสาหกรรมการผลิตหรือการบรรจุก๊าซ
|
๒๘ | อุตสาหกรรมการผลิตถ่านโค้ก
|
๒๙ | อุตสาหกรรมการผลิต การเก็บ หรือการจำหน่ายไอน้ำ |
๓๐ | อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์หรือการเพาะปลูก |
ลำดับ | สถานประกอบกิจการ |
๓๑ | สถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
|
๓๒ | คลังน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
|
๓๓ | การให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
|
๓๔ | อุตสาหกรรมการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
|
๓๕ | อุตสาหกรรมการแต่งแร่ การขุดแร่รายย่อยหรือการร่อนแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
|
๓๖ | การก่อสร้าง การดัดแปลง การซ่อมแซม หรือการรื้อถอนอาคารตามกฎหมายว่าด้วย การควบคุมอาคาร
|
๓๗ | อุตสาหกรรมการขนส่ง
|
๓๘ | การบริการการเดินอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
|
ลำดับ | สถานประกอบกิจการ |
๓๙ | กิจการคลังสินค้า กิจการไชโล หรือกิจการห้องเย็นตามกฎหมายว่าด้วยคลังสินค้า ไซโลและห้องเย็น
|
๔๐ | กิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม
|
๔๑ | การติดตั้ง การซ่อม หรือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
|
๔๒ | โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
|
๔๓ | กิจการนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
|
๔๔ | ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจค้าส่ง
|
๔๕ | ศูนย์การจัดประชุมและการแสดงสินค้า
|
๔๖ | โรงพยาบาล
|
ลำดับ | สถานประกอบกิจการ |
๔๗ | การทดสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติการทางกายภาพ เคมี ชีวภาพหรือวิศวกรรม
|
๔๘ | การขายและการบำรุงรักษายานยนต์หรือการซ่อมยานยนต์
|
๔๙ | สวนสัตว์หรือสวนสนุก
|
บัญชีที่ ๓
ลำดับ | สถานประกอบกิจการ |
๑ | ธุรกิจสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
|
๒ | ธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
|
๓ | สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
|
๔ | การประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตหรือการประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
|
๕ | โรงรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
|
๖ | โรงถ่ายทำภาพยนตร์หรือละคร
|
๗ | สวนพฤกษศาสตร์
|
๘ | สนามกีฬาหรือการนันทนาการ
|
๙ | สถานที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง
|
๑๐ | สำนักงานบริหารของสถานประกอบกิจการตามบัญชี ๑ และบัญชี ๒ |
สรุป สถานประกอบกิจการที่ต้องจัดให้มีการดำเนินการ การบังคับใช้ สถานประกอบกิจการ บัญชีที่ 1, 2, 3
บัญชีที่ 1 มี 5 สถานประกอบกิจการ
บัญชีที่ 2 มี 49 สถานประกอบกิจการ
บัญชีที่ 3 มี 10 สถานประกอบกิจการ
อบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยตามกฎหมายได้แล้ววันนี้ที่ www.เซฟตี้อินไทย.com