“ใบกระท่อม” พืชที่ถูกปลดล็อคจากยาเสพติดให้โทษ- เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี 2566          คลิกที่นี่

บทความ

“ใบกระท่อม” พืชที่ถูกปลดล็อคจากยาเสพติดให้โทษ



“ใบกระท่อม”

พืชที่ถูกปลดล็อคจากยาเสพติดให้โทษ


           พืชกระท่อม เป็นพืชที่พบมากทางใต้ของประเทศไทย ไปจนถึงเขตชายแดง เป็นไม้ยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมเคี้ยวใบสด หรือ ต้มเป็นชา เพื่อกระตุ้นให้ทำงานได้โดยไม่เมื่อยล้า โดยเฉพาะกลุ่มทำสวน ทำนา ถึงจะเป็นพืชพื้นบ้าน แต่ถูกกำหนดว่าผิดกฎหมาย ห้ามนำมาใช้เป็นเวลานาน และมีการผลักดันให้ปลูกได้มาเกือบศตรรษ
        

 
ข้อเสียของใบกระท่อม
          ทำให้ไม่อยากอาหาร (ไม่เหมาะใช้ในการควบคุมน้ำหนัก) ผอม หรือขาดสารอาหาร ท้องผูก ปัสสาวะบ่อย นอนไม่หลับ ยกเลิกเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5
          กฎหมายพืชกระท่อมผ่านสภา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 แต่ยังไม่สามารถปลูกเสรีได้ จนกว่าจะมี ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 พ.ค. 2564 และจะมีผลใน 90 วันนับจากประกาศ หรือ มีผลตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป
          ในวันที่ 26 พ.ค. ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติ ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 8 พ.ศ.2564
ใจความสำคัญ คือ โดยที่ปัจจุบันพืชกระท่อมเป็นยาเสพติด ให้โทษในประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 แต่ในหลายประเทศมิได้กำหนดให้ พืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากลและบริบทของสังคมไทยในบางพื้นที่ ที่มีการบริโภคพืชกระท่อม ตามวิถีชาวบ้าน สมควรยกเลิกพืชกระท่อมจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ราชกิจจาฯ ประกาศปลดล็อกฉบับเต็มอ่านได้ที่ ราชกิจจานุเบกษา

 
          หลังประกาศยังไม่มีผลทันที มีผล 90 วันหลังจากประกาศ หรือ ในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 กระท่อมจะเป็นพืชไม่ผิดกฎหมาย
          - สามารถรับประทานใบสด ต้ม ขายได้
          - ห้ามนำไปผสมกับยาเสพติดชนิดอื่น เช่น พวก สารเสพติดชนิด4x100
          - ห้ามจำหน่ายให้เยาวชน
          ทั้งนี้ เพราะ ใบกระท่อม เป็นสารตั้งต้นสำคัญของยาเสพติด สี่คูณร้อย โดยผสมน้ำกระท่อมต้มร่วมกับสารอื่นๆ เช่น ยาแก้ไอ เป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่น บ่อยครั้งกระตุ้นให้ลองยาเสพติดชนิดอื่นที่แรงขึ้น
ทำให้การนำกระท่อมไปผสมร่วมกับยาเสพติดอื่นเป็นข้อห้าม และผิดกฎหมาย ถือเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 3 


 
ประโยชน์ของใบกระท่อม
ด้านการแพทย์
          มีสารไมตราเจนีน ออกฤทธิ๋ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยให้กระปรี้กระเปร่า ลดอาการปวดเมื่อย
นำไปใช้บรรเทาอาการปวดแทนมอร์ฟีน ใช้บำบัดผู้ติดยาเสพติด สมัยโบราณใช้บรรเทาอาการไอ แก้ปวดเมื่อย ท้องเสีย
 
ด้านสังคมและเศรษฐกิจ
          สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน กระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ลดคดีเกี่ยวกับกระท่อม และช่วยประหยัดงบประมาณรัฐไปได้อีกทาง
 
          ในเบื้องต้น การปลูกกระท่อมจะไม่ซับซ้อน ไม่ต้องขอใบอนุญาติ เหมือนกรณีของ กัญชง เพียงแต่ห้ามจำหน่ายให้เยาวชนและนำไปผสมกับสารชนิดอื่น ทั้งนี้ ประชาชนที่สนใจปลูกในครัวเรือน ควรติดตามความคืบหน้ากันจนกว่าจะถึงวันที่ปลดล็อคเต็มที่ สำหรับ กฎหมาย และข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวกับการปลูกกระท่อมในครัวเรือน ติดตามข่าวสารและความคืบหน้าจากหน่วยงานต่างๆ กันต่อไป
สมัครสมาชิก
สมัครสมาชิกวันนี้ ! เพื่อรับข่าวสารอัปเดตกฎหมายก่อนใครและรับสิทธิพิเศษอื่นๆ อีกมากมาย จองอบรมตอนนี้

Comments


businessman

ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai