KYT มือชี้-ปากย้ำ
KYT มือชี้-ปากย้ำ
“ อุบัติภัยต้องเป็นศูนย์ ” หลายคนคงเคยได้ยินหรือเห็นป้ายเกี่ยวกับความปลอดภัยมาบ้างแล้ว เนื่องจากในการทำงานแต่ละอย่างล้วนมีอันตรายจากการทำงานทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นงานในโรงงานอุตสาหกรรม หรืองาน สำนักงานก็อาจมีอันตรายเช่นกัน
ดังนั้นการสร้างจิตสำนึกในการคำนึงถึง "ความปลอดภัย" ในการทำงานจึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ซึ่ง KYT ก็เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการกระตุ้นสร้างจิตสำนึกและลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น
KYT คืออะไร
KYT เป็นเครื่องมือหรือเทคนิคในการวิเคราะห์ความปลอดภัยที่คิดค้นมาจากประเทศญี่ปุ่น โดยคำว่า เควายที เป็นตัวย่อมาจากภาษาญี่ปุ่นซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้
K (Kiken) หมายถึง อันตราย
Y (Yoshi) หมายถึง การวิเคราะห์ คาดการณ์ หรือทำนายล่วงหน้า
T (Training) หมายถึง การฝึกอบรม
หัวใจสำคัญของ KYT ?!
หัวใจสำคัญของ KYT มี 4 ประการ คือ
1. ปลูกจิตสำนึก ด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ให้ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง
2. คิด พิจารณาก่อนที่จะทำงานก่อนทุกครั้ง ว่าสามารถป้องกันอันตายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างไร
3. อุบัติเหตุต้องเป็นศูนย์ ให้คำมั่นสัญญา หรือปฏิญาณตน ของผู้ปฏิบัติงานก่อนลงมือปฏบัติงานทุกครั้ง
4. เตือนตนเอง ก่อนลงมือทำงานทุกอย่างต้องพร้อม และปลอดภัยต่อการทำงาน จึงเริ่มทำงานได้
4 ขั้นตอนการทำ KYT
1. เพื่อหาอันตายที่มีอยู่ในการทำงาน
2. เรียงลำดับความสำคัญของอันตรายแต่ละอย่าง
3. มาตรการป้องกัน ควบคุม และแก้ใขให้ดีที่สุด
4. เลือกมาตรการป้องกัน ควบคุม และแก้ไขที่ดีที่สุด
ประโยชน์ของ KYT
- ปลุกจิตสำนึกในการป้องกันอันตรายจากการทำงาน ด้วยการค้นหาอันตรายต่างๆ
- ฝึกให้พนักงานรู้จักอันตรายที่อาจเกิดขึ้น และสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้
- เตือนสติพนักงานก่อนลงมือทำงาน กระตุ้นให้ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง
- ช่วยค้นหาอันตรายที่แอบแฝงอยู่ในการทำงาน ซึ่งอาจเกิดจากผู้ปฏิบัติงานหรือสิ่งแวดล้อม
- พนักงานได้มีส่วนร่วมในการค้นหา และกำหนดวิธีการป้องกันอันตรายจากการทำงาน
- ทำให้เกิดความสามัคคี ในการดำเนินกิจกรรม สร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัย