พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้ด้วย BBS
BBS (Behavior-Based Safety) หรือ พฤติกรรมความปลอดภัย เป็นแนวทางที่ได้รับความนิยมในการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร โดยเน้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคลากรให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลดอุบัติเหตุและสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีขึ้น
พฤติกรรมความปลอดภัยสร้างได้ด้วย BBS (Behavior Based Safety)
พฤติกรรมความปลอดภัย(Behavior Base Safety-BBS) มีต้นกำเนิดจาก BST โดยในอดีตเน้นการสังเกตในการทำงาน (Observe)การเข้าไปพบ พูดคุยกับพนักงานเพื่อเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกันโดยมี3 บริษัทที่เป็นที่ปรึกษาด้าน BBS ได้แก่ BST, Dupont, JMJ สำหรับแนวทางในการดำเนินการจัดการพฤติกรรมความปลอดภัย สามารถนำ 3 Golden circle มาใช้โดยWhat (อะไรที่ควรทำ-เข้าใจความเสี่ยง เพื่อจะได้หาแนวทางในการดำเนินการ) How (ทำอย่างไร-เพื่อให้เห็นถึงคุณค่าของความปลอดภัย นำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย) Why (ทำไปทำไม-เพื่อให้เกิดความเชื่อที่ว่าอุบัติเหตุสามารถป้องกัได้)
BBS คืออะไร
BBS หรือ Behavior Based Safety คือแนวทางในการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร โดยเน้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคลากรให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลดอุบัติเหตุและสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีขึ้น
BBS ทำอะไร?
- เน้นพฤติกรรม BBS ไม่ได้รอให้เกิดอุบัติเหตุแล้วค่อยมาแก้ไข แต่จะเข้าไปสังเกตและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุตั้งแต่เนิ่นๆ
- ทุกคนมีส่วนร่วม ทุกคนในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นพนักงาน ผู้จัดการ หรือเจ้าของกิจการ ต่างมีส่วนร่วมในการสังเกตและปรับปรุงพฤติกรรมของตนเองและผู้อื่น
- วัดผลได้ BBS มีวิธีการวัดผลที่ชัดเจน ทำให้เราสามารถเห็นผลลัพธ์และปรับปรุงแนวทางได้อย่างต่อเนื่อง
ทำไมต้อง BBS?
- ลดอุบัติเหตุ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เสี่ยงจะช่วยลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ
- เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เมื่อพนักงานรู้สึกปลอดภัย ก็จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี BBS ช่วยสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ทุกคนใส่ใจความปลอดภัยร่วมกัน
BBS ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน
- ขั้นตอนที่ 1 Open Mind เปิดใจพูดคุยกัน โดยที่จะยอมรับความคิดเห็น และเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้ทุกฝ่ายยอมรับกันได้
- ขั้นตอนที่ 2 Observation การสังเกตพฤติกรรมความปลอดภัยในขณะที่ปฏิบัติงานของเพื่อนร่วมงาน ว่ามีความเสี่ยงหรือไม่
- ขั้นตอนที่ 3 Intervention การเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ด้วยการพูดคุย ทักทาย ชมเชย เมื่อทำงานอย่างปลอดภัย และตักเตือนเมื่อมีพฤติกรรมเสี่ยงในการทำงานเกิดขึ้น
- ขั้นตอนที่ 4 Record บันทึกผลการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ทั้งการชมเชย การเตือนผ่านโปรแกรมที่สามารถบันทึกได้ทั้งทางเว็บไซต์และสมาร์ทโฟน
- ขั้นตอนที่ 5 Safety Culture สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยโดยการทำขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง ทั่วทั้งองค์กร รวมถึงมีการวัดผล ประเมินผลตลอดเวลา
BBS เป็นกระบวนการที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกคนในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย โดยเริ่มจากการเปิดใจ สังเกตพฤติกรรม แทรกแซงเมื่อพบปัญหา บันทึกข้อมูล และนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร
ประโยชน์ของการใช้ BBS
- ลดอุบัติเหตุ เนื่องจากสามารถระบุและแก้ไขพฤติกรรมเสี่ยงได้ก่อนเกิดอุบัติเหตุ
- เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เมื่อพนักงานรู้สึกปลอดภัย ก็จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในองค์กร การพูดคุยและให้คำแนะนำกันอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน
- พัฒนาวัฒนธรรมองค์กร BBS ช่วยสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัย
ทฤษฎีโดมิโนของการเกิดอุบัติเหตุ Domino Theory
ทฤษฎีโดมิโน เป็นแนวคิดที่อธิบายถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ โดยเปรียบเทียบกับโดมิโนที่เรียงต่อกัน เมื่อโดมิโนตัวแรกล้ม ตัวอื่นๆ ก็จะล้มตามไปเรื่อยๆ เช่นเดียวกันกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากสาเหตุที่เชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่
โดมิโนทั้ง 5 ตัวในทฤษฎีนี้ หมายถึง
- สภาพแวดล้อมหรือภูมิหลังของบุคคล ปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม หรือปัจจัยส่วนบุคคล เช่น อายุ เพศ สุขภาพ ที่อาจส่งผลต่อพฤติกรรมและความปลอดภัย
- ความบกพร่องของบุคคล ขาดความรู้ ความเข้าใจ หรือทักษะที่จำเป็นในการทำงาน หรือมีปัญหาสุขภาพจิต
- การกระทำที่ไม่ปลอดภัย พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น ไม่สวมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ทำงานโดยไม่ระมัดระวัง
- อุบัติเหตุ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัย หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย
- การบาดเจ็บหรือความเสียหาย ผลลัพธ์สุดท้ายของอุบัติเหตุ เช่น บาดเจ็บ พิการ เสียชีวิต หรือความเสียหายต่อทรัพย์สิน
นั่นคือ สภาพแวดล้อมของสังคมหรือภูมิหลังของคนใดคนหนึ่ง เช่น สภาพครอบครัวฐานะความเป็นอยู่ การศึกษาอบรม ก่อให้เกิดความบกพร่องผิดปกติของคนนั้น ทัศนคติต่อความปลอดภัยที่ไม่ถูกต้อง ชอบเสี่ยง มักง่าย ก่อให้เกิดการกระทำที่ไม่ปลอดภัยหรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ซึ่งจะทำก่อให้เกิดอุบัติเหตุและทำให้เกิดการบาดเจ็บหรือความสูญเสียตามมา ทฤษฎีโดมิโนนี้ มีผู้เรียกชื่อใหม่เป็น “ลูกโซ่ของอุบัติเหตุ (Accident Chain)
การป้องกันอุบัติเหตุตามทฤษฎีโดนิโนตามทฤษฎีโดมิโน หรือลูกโซ่ของอุบัติเหตุ เมื่อโดมิโนตัวที่ 1 ล้มตัวถัดไปก็ล้มตาม ดังนั้นหากไม่ให้โดมิโนตัวที่ 4 ล้ม (ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ) ก็ต้องเอาโดมิโนตัวที่ 3 ออก(กำจัดการกระทำหรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย) การบาดเจ็บหรือความเสียหายก็จะไม่เกิดขึ้นการป้องกันอุบัติเหตุตามทฤษฎีโดมิโนหรือลูกโซ่อุบัติเหตุ ก็คือ การตัดลูกโซ่อุบัติเหตุ โดยกำจัดการกระทำหรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัยออกไปอุบัติเหตุก็ไม่เกิดขึ้น ส่วนการที่จะแก้ไขป้องกันที่โดมิโนโนตัวที่ 1 (สภาพแวดล้อมของสังคมหรือภูมิหลังของบุคคล) หรือตัวที่ 2 (ความบกพร่องผิดปกติของบุคคล)เป็นเรื่องที่แก้ไขได้ยากกว่า เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและปลูกฝังเป็นคุณสมบัติส่วนบุคคลแล้ว
ทฤษฎีโดมิโนเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน การนำทฤษฎีนี้ไปใช้ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ และสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
อุบัติเหตุจากการทำงาน
สามารถแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุ คือ
1. สาเหตุจากการปฏิบัติงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) เป็นการกระทำที่ไม่ปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงาน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่น
- การใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นเครื่องจักรกลต่าง ๆ โดยพลการหรือไม่ได้รับมอบหมาย
- การทำงานที่มีอัตราเร่งความเร็วของงานและเครื่องจักรเกินกำหนด
- การถอดอุปกรณ์ป้องกันออกจากเครื่องจักรโดยไม่มีเหตุอันสมควรสมควร
- การดูแลซ่อมบำรุงอุปกรณ์เครื่องจักรในขณะที่กำลังทำงาน
- การใช้เครื่องมืออุปกรณ์เครื่องจักรที่ชำรุดและไม่ถูกวิธี
- ไม่ใส่ใจในคำแนะนำหรือคำเตือนความปลอดภัย
- ทำการเคลื่อนย้ายหรือยกวัสดุที่มีขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก ด้วยท่าทางหรือวิธีการที่ไม่ปลอดภัย
- ไม่สวมใสอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
- การคึกคะนองหรือเล่นตลกขณะทำงาน
2. สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Condition) คือสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยโดยรอบตัวของผู้ปฏิบัติงานขณะทำงาน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้ เช่น
- เครื่องจักรไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
- อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรที่ออกแบบไม่เหมาะสมกับการใช้งาน
- บริเวณพื้นที่ของการปฏิบัติงานไม่เหมาะสม
- การจัดเก็บวัสดุสิ่งของอย่างไม่ถูกวิธี
- การจัดเก็บสารเคมีหรือสารไวไฟที่เป็นอันตรายไม่ถูกวิธี
- ไม่มีการจัดระเบียบและดูแลความสะดวกของสถานที่ทำงานให้ถูกต้องตามสุขลักษณะ
- แสงสว่างไม่เพียงพอ
- ไม่มีระบบระบายและถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม
- ไม่มีระบบเตือนภัยที่เหมาะสม