การประเมินอันตรายจากเสียงและโครงการอนุรักษ์การได้ยิน
การประเมินอันตรายจากเสียงและโครงการอนุรักษ์การได้ยิน ความบกพร่องหรือการสูญเสียการได้ยิน (Hearing Loss) หรือโรคประสาทหูเสื่อมนั้น นอกจากจะเป็นไปตามธรรมชาติของคนเราที่มีอายุมากขึ้นแล้ว ก็ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจจะถูกมองข้ามไป นั่นก็คือ รูปแบบการดำเนินชีวิตที่อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะ การติดเชื้อภายในช่องหู คอ จมูก หรือแม้แต่การรับประทานยาบางชนิด (เช่น ยาปฏิชีวนะจำพวกยาควินินหรือแอสไพริน หรือยารักษาโรคมะเร็งบางชนิด) รวมถึงการสัมผัสกับเสียงดังที่ยากต่อการหลีกเลี่ยงเช่น เสียงรถยนต์ รถมอเตอร์ไซด์ในย่านที่มีการจราจรหนาแน่น แต่สาเหตุหลักของการสูญเสียการได้ยินที่มักพบอยู่บ่อย ๆ ก็คือ “การสูญเสียการได้ยินจากการสัมผัสเสียงดังที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน (Occupational Noise–Induced Hearing Loss)” เช่น เสียงเครื่องจักร หรือเครื่องยนต์กลไกต่าง ๆ ในที่ทำงาน
ซึ่งการสัมผัสกับเสียงดังเกินมาตรฐานจากที่ทำงานเป็นระยะเวลานาน ๆ ย่อมส่งผลให้เกิดอาการสูญเสียการได้ยินทั้งแบบชั่วคราวและถาวรได้ ก่อนที่จะเข้าสู่เนื้อหาของโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (HCP) เรามาทบทวนกันสักนิด เกี่ยวกับการกำเนิดเสียง ประเภทของเสียง กลไกการได้ยินเสียง อันตรายจากเสียงดัง การสูญเสียการได้ยินจากการสัมผัสเสียงดัง และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะการสูญเสียการได้ยินจากการสัมผัสเสียงดังในที่ทำงาน
วิทยากรได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
เน้นทำ Workshop ให้ได้ลงมือทำจริงในห้องเรียน บรรยากาศการเรียนที่เป็นกันเอง
เมื่อมาอบรมกับเราท่านจะได้รับ
ใบประกาศวุฒิบัตรผ่านการอบรม
การประเมินอันตรายจากเสียงและโครงการอนุรักษ์การได้ยิน
ท่านสามารถค้นหาหลักสูตรการประเมินอันตรายจากเสียงและโครงการอนุรักษ์การได้ยิน
หลักการและเหตุผล
โดยที่กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่างและเสียง พ.ศ. 2559
กําหนดให้นายจ้างจัดทํามาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการในกรณีทีสภาวะการทํางานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับ
เฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางานแปดชั่วโมง ตั้งแต่แปดสิบห้าเดซิเบลเอขึ้นไป
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนดให้นายจ้างจัดทํามาตรการอนุรักษ์การได้ยินใน
สถานประกอบกิจการเป็นลายลักษณ์อักษร
วัตถุประสงค์
-
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบถึงหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทําโครงการอนุรักษ์การได้ยินตามที่กฎหมายกําหนด
- เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถจัดทําโครงการอนุรักษ์การได้ยินได้อย่างถูกวิธี
-
ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำมาตรการป้องกันอันตรายเกี่ยวกับเสียงที่เหมาะสมไปใช้ในโรงงานเพื่อลดผลกระทบของเสียงได้
หัวข้ออบรม
- ประกาศกรมสวัสดิการฯ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทํามาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ
๒๕๖๑
- มาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ
- การทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometric sting)
- การแจ้งผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน
- การทดสอบสมรรถภาพ กรณีต้องทดสอบสมรรถภาพการได้ยินของลูกจ้างซํ้า
- เกณฑ์การพิจารณาผลการทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน
- มาตรการป้องกันอันตราย พบว่าลูกจ้างสูญเสียการได้ยินที่หูข้างใดข้างหนึ่ง
ตั้งแต่สิบห้าเดซิเบลขึ้นไปความถี่ ใดความถี่หนึ่ง
- การทําและติดแผนผังแสดงระดับเสียง (Noise Contour Map)
- การจัดทําโครงการอนุรักษ์การได้ยิน ( Hearing Conservation Program )
- การประเมินการสัมผัสเสียงดังของลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ
- มาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ
- การเฝ้าระวังการได้ยิน
- การประเมินผลและทบทวนการจัดการมาตรการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ
- บันทึกข้อมูลและจัดทําเอกสารการดําเนินการตามข้อ 3 ถึงข้อ 10 เก็บไว้ในสถานประกอบกิจการ
ข้อมูลที่เป็นประโยชน์
สิ่งที่ต้องเตรียมมาในวันที่อบรม
1. เอกสารหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%
( ฉบับจริง )
2. บัตรประชาชน/ใบขับขี่
( เพื่อตรวจสอบรายชื่อ )
3. โทรศัพท์มือถือ
( เพื่อทำข้อสอบแบบออนไลน์ )
สิ่งที่ได้รับหลังผ่านการอบรม
เมื่อมาอบรมกับเราท่านจะได้รับ
ใบประกาศวุฒิบัตรผ่านการอบรม
หรือใบเซอร์
อย่างเป็นทางการ 1 ฉบับ/ท่าน
บรรยากาศการอบรม
บรรยากาศการอบรม
เน้นทำ Workshop ให้ได้ลงมือทำจริง
ในห้องเรียน ในบรรยากาศการเรียนที่เป็นกันเอง
เนื้อหาเข้มข้น
และสามารถนำไปใช้ได้จริงในการทำงาน
การประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย (Safety Risk assessment)
การชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงจากการทำงาน ( Risk Assessment ) เป็นวิธีการและขั้นตอนที่ระบุลำดับความเสี่ยงของอันตรายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของงาน ที่ครอบคลุมขั้นตอนการทำงาน สถานที่ เครื่องจักร อุปกรณ์ บุคลากร ที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บ ความเจ็บป่วย ความเสียหายต่อทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อม หรือสิ่งต่าง ๆ รวมกัน ในหัวข้อนี้จะอธิบายถึงหลักการ และวิธีการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย การอธิบายถึงความจำเป็นที่ต้องประเมินความเสี่ยงการประมาณระดับความเสี่ยงโดยคำนึงถึง ความรุนแรงและโอกาสที่จะเกิดอันตราย เพื่อนำมาพิจารณาว่าเป็นความเสี่ยงที่ยอมรับได้ หรือยอมรับไม่ได้ และการวางแผนควบคุมความเสี่ยงที่ยอมรับไม่ได้
- เพื่อทราบปัจจัยเสี่ยงอันตรายและการชี้บ่งอันตรายพร้อมการค้นหาอันตราย
- เพื่อฝึกปฏิบัติในการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (JSA) และการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน
- เพื่อกำหนดให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถจัดทำการวิเคราะห์งานและมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานของส่วนงาน แผนกที่ตนเองรับผิดชอบ
เรามีบริการอาหารกลางวันและขนมเบรคให้ผู้เข้าอบรม
เฉพาะผู้ที่เข้ารับการอบรมในรูปแบบ Public Training
บริการดี อาหารอร่อย เมนูอาหารหลากหลาย กับบรรยากาศที่ดูสบายตาเหมือนได้มาพักผ่อน
พร้อมเจ้าหน้าที่
ยินดีให้บริการตลอดรับบริการให้เช่าสถานที่ อบรม-สัมมนา ประชุม, งานมงคล อื่นๆ